วันกาชาดสากล 8 พฤษภาคม
วันกาชาดสากล 8 พฤษภาคม ประวัติวันกาชาดสากล ที่มาวันกาชาดสากล
วันกาชาดสากล – หน่วยงานกาชาด อุบัติขึ้นท่ามกลางสภาวะสงคราม เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บจากความรุนแรงในสงคราม จุดเริ่มต้นสำคัญมาจากผู้มีคุณปการอย่างใหญ่หลวง คือ นายอังรี ดูนังต์ (Henry Dunant) ผู้ก่อตั้งกาชาด
นายอังรี ดูนังต์ (Henry Dunant) เป็นชาวสวิส เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2371 ณ กรุง เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กาชาดถือกำเนิดขึ้นหลังจากที่เขาเดินทางไปประเทศอิตาลี่ เป็นช่วงเวลาเดียวกับเกิดสงครามที่ซอลเฟริโน ซึ่งคู่ขัดแย้งระหว่าง ฝรั่งเศส+มืออิตาลี รบกับออสเตรีย
ภาพของผู้คนล้มตายและบาดเจ็บจำนวนมาก ไร้หน่วยงานใดช่วยเหลือพยาบาล อังรี ดูนังต์จึงต้องยื่นมือเข้าไปช่วยผู้บาดเจ็บด้วยตนเอง พร้อมอาสาสมัครซึ่งเป็นชาวบ้านในพื้นที่
ด้วยแนวคิดและปณิธานของอังรี ดูนังต์ เวลาต่อมาจึงเกิดกาก่อตั้งคณะกรรมกาชาดระหว่างประเทศ และการก่อตั้งสภากาชาดประจำชาติขึ้นใน พ.ศ. 2406 ในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ เมื่อเกิดภัยสงครามและภัยพิบัติต่างๆ
ต่อมา พ.ศ. 2407 ได้เกิดอนุสัญญาเจนีวา (Geneva Conventions) กฎหมายมนุษยธรรมฉบับแรกของโลก ระหว่างประชุมกาชาดระหว่างประเทศใน ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
อนุสัญญาเจนีวา มีผลให้กองทัพมีหน้าที่ดูแลรักษาพยาบาลทหารที่ได้รับบาดเจ็บ โดยไม่เลือกฝ่าย และได้มีการคิดสัญลักษณ์สากลของหน่วยกาชาดขึ้นมา นั่นคือ กากบาทสีแดงบนพื้นสีขาว (Red cross) นอกจากนี้ยังมีตราสัญลักษณ์อื่น ๆ ที่บางประเทศใช้กันคือ “ตราเสี้ยววงเดือนแดง” (Red Crescent) และ “ตราเพชรแดง” (Red Crystal)
ด้วยผลงานของอังรี ดูนังต์ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี พ.ศ.2444 นับเป็นคนแรกของสาขานี้
อังรี ดูนังต์ ้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2453 อายุ 82 ปี เพื่อเป็นการยกย่องบิดาผู้ให้กำเนิดหน่วยงานกาชาด จึงถือเอาวันเกิดของเขา 8 พฤษภาคม เป็นวันกาชาดสากล