ข่าวภูมิภาค

ตอบทุกปัญหาที่สงสัยเกี่ยวกับการขอรับเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้า

ตอบทุกปัญหาที่สงสัยเกี่ยวกับการขอรับเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้า

ขอคืนค่าไฟฟ้า – จากกรณี รัฐบาลได้ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ของประชาชน โดยหนึ่งในมาตรการด้านไฟฟ้า (การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) คือ การคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า โดยสามารถลงทะเบียนขอรับเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้า ได้ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมา

สามารถลงได้ที่เว็บไซต์ การไฟฟ้านครหลวง mea.or.th/intro

Advertisements

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคผ่านเว็บไซต์ dmsxupload.pea.co.th/cdp/hello.html

ทั้งนี้ได้มีประชาชนเข้ามาถามข้อสงสัยมากมาย ทางการไฟฟ้าแห่งประเทศไทยได้ออกมารวบรวม FAQ ตอบข้อสงสัยดังนี้

1. ถ้าบ้านที่มีการใช้ไฟ ชื่อเจ้าของบ้านไม่ตรงกับชื่อเจ้าของมิเตอร์สามารถขอรับเงินประกันคืนได้หรือไม่ ?

สามารถรับคืนได้ โดยมีเอกสารประกอบ ดังนี้

  • หนังสือการโอนสิทธิให้รับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าจากเจ้าของเงินประกัน การใช้ไฟฟ้าให้แก่ผู้ร้องขอ (ตามแบบฟอร์ม กฟภ.-2) หรือหนังสือแสดง กรรมสิทธิ์ในสถานที่ใช้ไฟฟ้า เช่น สัญญาซื้อขาย โฉนดที่ดิน นส.3ก
  • หลักฐานผู้ขอรับเงิน
  • กรณีเป็นบุคคลธรรมดา บัตรประจำตัวประชาชน
  • กรณีเป็นนิติบุคคล สำเนาหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า อายุไม่เกิน 6 เดือน ประทับตรานิติบุคคลฯ ทุกฉบับ พร้อมลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามรับรองและบัตรประชาชนของผู้ลงนามมอบอำนาจตามข้อ 1
  • ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)
  • หน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อของเจ้าของบัญชี กรณีเลือกขอรับเงินโดยการโอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับชื่อผู้ขอรับเงินเท่านั้น)

2.ได้เงินค่าประกันมิเตอร์คืนแล้ว ต้องวางเงินประกันใหม่หรือไม่ ?

Advertisements
  • กรณีผู้ใช้ไฟฟ้ารายเดิมได้รับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าคืน ไม่ต้องวางเงินประกันการใช้ไฟฟ้าใหม่
  • สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหม่ ประกาศการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อ 4 ให้ยกเลิกการเรียกหลักประกันการใช้ไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหม่ ยกเว้นกรณีเปลี่ยนประเภทผู้ใช้ไฟฟ้าจากประเภทที่ 1 หรือ ประเภทที่ 2 ไปเป็นประเภทอื่นที่มีข้อกำหนดให้วางหลักประกัน ประกาศ ณ วันที่ 20 มีนาคม 2563

3.ทางการไฟฟ้าจะประกาศให้ทราบเรื่องรายละเอียดอย่างชัดเจนวันที่เท่าไหร่ ?

  • หนังสือแจ้งทุกเขต ทุกการไฟฟ้า เลขที่ กศฟ.(บฟ) 404/2563 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2563 เรื่อง แจ้งเวียนหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติการคืนหลักประกันการใช้ไฟฟ้าและยกเลิกการเรียกหลักประกันการใช้ไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย และประเภทที่ 2กิจการขนาดเล็ก

4. มีการซื้อบ้านมานานแล้ว แต่ยังไม่ได้เปลี่ยนชื่อ เงินประกันตรงนี้จะได้รับหรือไม่และต้องทำอย่างไรบ้าง ?

สามารถรับคืนได้ โดยมีเอกสารประกอบ ดังนี้

  • หนังสือการโอนสิทธิให้รับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าจากเจ้าของเงินประกัน การใช้ไฟฟ้าให้แก่ผู้ร้องขอ (ตามแบบฟอร์ม กฟภ.-2) หรือหนังสือแสดง กรรมสิทธิ์ในสถานที่ใช้ไฟฟ้า เช่น สัญญาซื้อขาย โฉนดที่ดิน นส.3ก
  • หลักฐานผู้ขอรับเงิน
  • กรณีเป็นบุคคลธรรมดา บัตรประจำตัวประชาชน
  • กรณีเป็นนิติบุคคล สำเนาหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลจากกรมพัฒนา ธุรกิจการค้า อายุไม่เกิน 6 เดือน ประทับตรานิติบุคคลฯ ทุกฉบับ พร้อมลง ลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามรับรองและบัตรประชาชนของผู้ลงนามมอบ อำนาจตามข้อ 1
  • ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)
  • หน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อของเจ้าของบัญชี กรณีเลือก ขอรับเงินโดยการโอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับชื่อผู้ขอรับเงินเท่านั้น)

5. เจ้าของมิเตอร์เสียชีวิตไม่ได้ทำพินัยกรรม ไม่สะดวกไปยื่นเรื่องเป็นผู้จัดการมรดก มีแนวทางอื่นอีกหรือไม่

ทายาทหรือบุคคลในครอบครัวสามารถขอรับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าได้ โดยมีเอกสารประกอบ ดังนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอรับคืนเงิน
  • ใบมรณะบัตรหรือทะเบียนบ้านที่ประทับตราเสียชีวิต ของเจ้าของเงินประกันการใช้ไฟฟ้า
  • หลักฐานแสดงความสัมพันธ์กับเจ้าของเงินประกันการใช้ไฟฟ้า เช่น ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส เป็นต้น
  • หนังสือแสดงความยินยอมของทายาทพร้อมบัตรประจำตัวประชาชน (ตามแบบฟอร์ม กฟภ.-1)
  • ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)
  • หน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อเจ้าของบัญชี กรณีต้องการ ให้โอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับทายาทผู้ขอรับคืนเงินเท่านั้น)

6.ชาวต่างชาติเป็นคนวางเงินประกันแต่ใบแจ้งค่าไฟฟ้าเป็นชื่อของคนไทย ใครจะได้รับเงินประกัน ?

  • กฟภ. จะคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าให้กับผู้ที่มีชื่อปรากฏเป็น ชื่อผู้วางเงินประกันและชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า ตามที่บันทึกในระบบงานของ กฟภ.

7.เอกสารในการยื่นเรื่องต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

  • รายละเอียดตามหนังสือ เลขที่ กศฟ.(บฟ) 404/2563 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2563 แนวทางในการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ตามมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือประชาชน ดูแลปัญหาภัยแล้ง และกระตุ้นเศรษฐกิจตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 (เอกสารแนบ 3)

8.บ้านมีมิเตอร์หลายลูกสามารถขอรับเงินประกันคืนทั้งหมดหรือไม่ ?

  • สามารถรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าได้ทั้งหมด ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามแนวทางการคืนเงิน ประกันการใช้ไฟฟ้า ที่ กฟภ. กำหนด

9.ผู้ขอใช้ไฟฟ้าเสียชีวิตไปหลายสิบปีแล้ว จะได้รับเงินประกันไหม ?

สามารถรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าได้ ตามกรณี ดังนี้
1. มีคำสั่งศาลแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก

  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการมรดก
  • ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
  • ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)
  • สำเนาหน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อเจ้าของบัญชี กรณีต้องการให้โอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับผู้จัดการมรดกเท่านั้น)

2. ทายาทหรือบุคคลในครอบครัวเป็นผู้ยื่นคำร้อง

  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอรับคืนเงิน
  • ใบมรณะบัตรหรือทะเบียนบ้านที่ประทับตราเสียชีวิตของเจ้าของเงินประกันการใช้ไฟฟ้า
  • หลักฐานแสดงความสัมพันธ์กับเจ้าของเงินประกันการใช้ไฟฟ้า เช่น ทะเบียนบ้านทะเบียนสมรส เป็นต้น
  • หนังสือแสดงความยินยอมของทายาทพร้อมบัตรประจำตัวประชาชน (ตามแบบฟอร์ม กฟภ.-1)
  • ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)
  • หน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อเจ้าของบัญชี กรณีต้องการให้โอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับทายาทผู้ขอรับคืนเงินเท่านั้น)

10.ซื้อบ้านจากคนอื่น ชื่อมิเตอร์ยังเป็นเจ้าของคนเดิมได้รับเงินประกันไหม หรือต้องทำการโอนเปลี่ยนชื่อก่อน ?3

สามารถขอรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าได้ (โดยขอให้ทำการโอนเปลี่ยนชื่อให้ถูกต้องต่อไป) มีเอกสารประกอบ ดังนี้

  • คำร้องขอรับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าประเภท 1-2 (เฉพาะผู้ขอรับเงินที่ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ไม่ใช่ผู้ขอใช้ไฟฟ้า)
  • หนังสือการโอนสิทธิให้รับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าจากเจ้าของเงินประกัน การใช้ไฟฟ้าให้แก่ผู้ร้องขอ (ตามแบบฟอร์ม กฟภ.-2) หรือหนังสือแสดง กรรมสิทธิ์ในสถานที่ใช้ไฟฟ้า เช่น สัญญาซื้อขาย โฉนดที่ดิน นส.3ก
  • หลักฐานผู้ขอรับเงิน
  • กรณีเป็นบุคคลธรรมดา บัตรประจำตัวประชาชน
  • กรณีเป็นนิติบุคคล สำเนาหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลจากกรมพัฒนา ธุรกิจการค้า อายุไม่เกิน 6 เดือน ประทับตรานิติบุคคลฯ ทุกฉบับ พร้อมลง ลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามรับรองและบัตรประชาชนของผู้ลงนามมอบ อำนาจตามข้อ 1
  • ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)
  • หน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อของเจ้าของบัญชี กรณีเลือก ขอรับเงินโดยการโอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับชื่อผู้ขอรับเงินเท่านั้น)

11. บ้านที่ขอใช้ไฟฟ้าได้มีการขายแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำการเปลี่ยนโอนชื่อ ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง ?

  • ตามข้อ 10.

12.ขอใช้ไฟฟ้าในนามชื่อของโครงการหมู่บ้านยังไม่ได้ทำการโอนเปลี่ยนชื่อ สามารถลงทะเบียนขอรับเงินคืนได้หรือไม่ ?

  • ตามข้อ 10.

13.อนาคตบ้านที่ทางการไฟฟ้ามีการคืนเงินประกันไปถูกตัดไฟแต่ไม่มีการไปจ่ายค่าไฟที่ค้างชำระ ทางการไฟฟ้าจะดำเนินการอย่างไร ?

  • ติดตามทวงถามค่าไฟฟ้าที่ค้างชำระ ดำเนินการทางด้านกฎหมาย

14.บ้านพักข้าราชการสามารถรับคืนเงินประกันได้หรือไม่ ต้องดำเนินการอย่างไร ?

บ้านพักของหน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานต้องมีหนังสือร้องขอต่อ กฟฟ. โดยมีเอกสารประกอบ ดังนี้

  • หนังสือขอรับคืนเงินประกันจากหน่วยงาน ลงนามโดยหัวหน้าหน่วยงาน
  • ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)
  • หน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อเจ้าของบัญชี กรณีต้องการให้โอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับชื่อหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ เท่านั้น)

15.จดทะเบียนสมรส ชื่อผู้จดทะเบียนใช้ไฟฟ้าเป็นชื่อสามีแต่แยกกันอยู่ภรรยาสามารถรับเงินประกันคืนได้หรือไม่ ?

  • คืนเงินให้แก่ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของเงินประกันการใช้ไฟฟ้า หากคู่สมรสต้องการขอคืนเงิน ต้องมีหนังสือโอนสิทธิ์ ให้ความยินยอมรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้ามาแสดงด้วย

16.บ้านที่ถูกหักค่าไฟฟ้าจากเงินประกันไป และเงินประกันไม่เหลือแล้ว จะดำเนินการอย่างไรบ้าง ?

  • หากยังมีการใช้ไฟเป็นปกติ ไม่ต้องดำเนินการอย่างใด
  • หากมีหนี้ค่าไฟฟ้าค้างชำระ ให้ดำเนินการตามกระบวนงานติดตามเร่งรัดหนี้ งดจ่ายไฟต่อไป

17.ขายบ้านไปแล้ว แต่ยังไม่ได้โอนเปลี่ยนชื่อ เจ้าของคนเดิมจะสามารถไปขอรับเงินประกันคืนได้หรือไม่ ?

  • ได้ เนื่องจากเจ้าของเดิมยังไม่ได้ทำการโอนสิทธิ โดย กฟภ. จะคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าให้แก่ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของเงินประกันการใช้ไฟฟ้าในใบเสร็จรับเงิน

18. เจ้าของคนเดิมเสียชีวิตเจ้าหน้าที่มีการบันทึก ชื่อ-นามสกุล ในบิลใบแจ้งผิดตั้งแต่มีการขอใช้ไฟฟ้า ปัจจุบันจะให้ผู้จัดการมรดกไปรับแทนจะมีขั้นตอนดำเนินการอย่างไรบ้าง เนื่องจากชื่อในใบมรณะบัตรกับบิลใบแจ้งไม่เหมือนกัน ?

หากผิดด้วยตัวสะกด ซึ่งมีเอกสารอ้างอิงได้ว่าเป็นบุคคลเดียวกัน (ใบมรณะบัตร) ผู้จัดการมรดกสามารถยื่นคำร้องขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าได้ โดยใช้เอกสาร

  • คำสั่งศาลแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการมรดก
  • ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
  • ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)
  • สำเนาหน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อเจ้าของบัญชี กรณีต้องการให้โอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับผู้จัดการมรดกเท่านั้น)

19.การซื้อขายบ้าน โอนเปลี่ยนชื่อเรียบร้อยแล้ว แต่เจ้าของมิเตอร์คนเก่ายังไม่ได้รับเงินประกันคืนสามารถรับเงินประกันคืนได้หรือไม่ เอกสารหลักฐานต้องใช้อะไรบ้าง ?

  • กรณีการซื้อขายบ้านและมีการโอนเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้าในระบบเรียบร้อยแล้ว กฟภ. จะ ถือว่าได้มีการวางเงินประกันในชื่อผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหม่
  • หากผู้ใช้ไฟฟ้าคนเก่ายื่นคำร้องขอรับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าไม่ผ่าน ให้ติดต่อ กฟฟ. ในพื้นที่ โดยให้นำหลักฐานคือ ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า มาแสดง

20.การยื่นเอกสารต้องไปที่สำนักงานหรือสามารถยื่นออนไลน์ได้ ?

  • สามารถยื่นเอกสารออนไลน์ ผ่าน Application PEA Smart Plus , Website

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button