ข่าว

เด็ก 8 ขวบป่วย บาดทะยัก เหตุวัคซีนไม่ครบ แนะ ผปค.พาเด็กไปฉีดให้ครบ

รพ.ปัตตานี พบผู้ป่วยเด็ก 8 ขวบมีอาการ โรคบาดทะยัก ซึ่งเป็นโรคที่พบได้น้อย สาเหตุสำคัญจากการฉีดวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์

ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้โพสต์เรื่องราวเพื่อเป็นอุทาหรณ์ หลังจากพบผู้ป่วยเด็กที่โรงพยาบาลปัตตานีมีอาการของ โรคบาดทะยัก ซึ่งเป็นโรคที่พบได้น้อยมากในปัจจุบัน โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการที่เด็กได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ จึงได้นำเรื่องราวมาเผยแพร่เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีนในเด็ก

“วันนี้ผมขอนำเสนอ #แรร์เคสในพื้นที่อื่นแต่เจอได้ที่วอร์ดเด็ก โรงพยาบาลปัตตานี ซึ่งตอนนั้นผมกับเพื่อนอีกคนหนึ่งได้เข้าเวรวอร์ดเด็ก ก็ได้ดูว่าตอนนั้นมีรับใหม่หรือไม่ในเวร ณ เวลานั้น ซึ่งก็พบว่าไม่มีเคสรับใหม่ แต่ก็มีเคสหนึ่งที่น่าสนใจมากจนพี่พยาบาลทักว่า น้องหมอมีเคส tetanus (บาดทะยัก)

ผมกับเพื่อนเลยไปซักประวัติ ก็พบว่าเป็นเคสเด็กชายอายุ 8 ปี มาด้วยอาการปวดกราม ร่วมกับมีกลืนน้ำลายไม่ได้ อ้าปากไม่ได้ ปวดหลัง มีหลังแข็งเป็นบางช่วง เดินแข็งเกร็ง ประมาณ 4 วันก่อนมาโรงพยาบาล และตรวจร่างกายพบว่า vital signs stable, alert, no dyspnea, limit open mouse, stiffneck ; positive, clonus ; positive และได้ตรวจ spatula test พบว่า positive ซึ่งเป็นการตรวจที่มี sentivity (94%) และ specificity (100%) สูง

ภาพประกอบแสดงอาการของบาดทะยัก
ภาพจาก: FB/ Sulkiflee Saei

อาจารย์แพทย์ที่มาราวน์จึงนึกถึงโรคบาดทะยัก (tetanus) ซึ่งในคนที่เป็นบาดทะยัก (Tetanus) เกิดจากการติดเชื้อ Clostridium tetani ที่ปนเปื้อนผ่านเข้ามาทางบาดแผลที่สกปรก หรือถ้าไม่มีแผลตามตัวก็ให้ลองเปิดปากคนไข้อาจจะมีฟันผุ โดยจะมีอาการแข็งเกร็งเริ่มจากกล้ามเนื้อที่มี axon สั้นก่อน คือ เริ่มต้นจากบริเวณใบหน้า จากนั้นกระจายตัวไปที่กล้ามเนื้อคอ ลำตัว และแขนขา ซึ่งถ้ามีการแข็งเกร็งที่ขากรรไกรทำให้ขากรรไกรแข็ง (lock jaw) จากนั้นมีการแข็งเกร็ง (rigidity) ตามมาด้วยการอ้าปากได้น้อย (trismus) จากนั้นจะเกิดการเกร็งตังของกล้ามเนื้อหลัง ทำให้หลังแอ่น (opisthotonus) ทั้งนี้ผู้ป่วยยังรู้สึกตัวดี

การรักษาที่สำคัญนั้น คือ การให้ Human tetanus immunoglobulin (HTIG) ร่วมกับให้ antibiotic อาจจะพิจารณาให้ penicillin หรือ metronidazole เป็นเวลา 7-10 วัน รวมไปถึงการให้ sedative กลุ่ม benzodiazepine (e.g. diazepam) เพื่อควบคุม spasm และ hypersymphathic activity และให้ baclofen เพื่อควบคุมการแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อ

ซึ่งในเคสนี้ประวัติที่สำคัญเลยคือ ฉีดวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์เด็กไทย (Incomplete vaccine) ฉีดล่าสุดตอนแรกเกิด ซึ่งวัคซีนป้องกันบาดทะยักเด็กไทยควรได้รับตอนอายุ 2,4,6 เดือน 18 เดือน (กระตุ้นเข็มที่ 1) 4-6 ปี (กระตุ้นเข็มที่ 2 ) และกระตุ้นทุก ๆ 10 ปี

สุดท้ายนี้ผมจึงอยากชวนเชิญผู้ปกครองให้ลูกหลานไปฉีดวัคซีนตามเกณฑ์เด็กไทยให้ครบตามช่วงอายุ เพื่อป้องกันโรคภัยที่เป็นอันตรายถึงขั้นพิการและเสียชีวิต หากมีข้อมูลที่ผิดพลาดประการใด สามารถแจ้งได้ผมได้เลยครับ”

ล่าสุด ทางเจ้าของโพสต์ได้ ชี้แจงหลังจากนั้นว่า ได้แนะนำผู้ปกครองผู้ป่วยให้พาบุตรที่เหลือไปฉีดวัคซีนแล้ว เหตุผลที่ผู้ปกครองไม่ได้พาบุตรไปฉีดนั้นมีหลายปัจจัย หลังจากที่พูดคุยกันผู้ปกครอง โดยผู้ปกครองรับปากว่าจะพาบุตรที่เหลือไปฉีดวัคซีน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

Suriyen J.

นักเขียนบทความข่าว จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาปรัชญาและศาสนา มีประสบการณ์กับสำนักข่าวระดับประเทศ ชื่นชอบด้านสังคม การเมือง ต่างประเทศ ทำให้สามารถสร้างคุณค่าผ่านงานเขียน เพื่อให้ผู้อ่านได้ประโยชน์ครบทุกมิติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx