ยานยนต์

เจาะลึก พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร? ต่างยังไงกับประกันภาคสมัครใจ

รถยนต์นับว่าเป็นทรัพย์สินอีกหนึ่งอย่างที่เราใช้อยู่บ่อยครั้งในชีวิตประจำวัน แต่สิ่งที่หลายคนยังไม่เข้าใจคือเรื่องประกันรถยนต์ โดยเฉพาะความแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ. รถยนต์กับประกันภาคสมัครใจ ซึ่งการรู้เรื่องนี้จะช่วยให้เราตัดสินใจเลือกความคุ้มครองที่เหมาะสมกับความต้องการ และงบประมาณได้อย่างชาญฉลาด

พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร ?

พ.ร.บ. รถยนต์ คือ ประกันภัยรถยนต์ตามพระราชบัญญัติ ซึ่งเป็นการประกันภัยบังคับตามกฎหมายที่รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะต้องทำไว้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนได้รับความคุ้มครองพื้นฐานเมื่อเกิดอุบัติเหตุ การไม่ทำ พ.ร.บ. รถยนต์ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย และจะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ ความสำคัญของการทำ พ.ร.บ. จึงไม่ใช่แค่เรื่องของความคุ้มครอง แต่ยังเป็นหน้าที่ของผู้ใช้รถทุกคนที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

ตัวอย่างความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์

พ.ร.บ. รถยนต์ให้ความคุ้มครองในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก

1. ความคุ้มครองเบื้องต้น (ไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด)

  • กรณีบาดเจ็บ : ค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30,000 บาท/คน
  • กรณีทุพพลภาพถาวร : ค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาท/คน
  • กรณีเสียชีวิต : ค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายจำเป็น 35,000 บาท/คน

2.ความคุ้มครองค่าสินไหมทดแทน (หลังพิสูจน์ความผิดแล้ว และเราเป็นฝ่ายถูก)

  • กรณีบาดเจ็บ : ค่ารักษาพยาบาลตามจริง ไม่เกิน 80,000 บาท/คน
  • กรณีเสียชีวิต : ค่าทดแทนสูงสุด 500,000 บาท/คน
  • กรณีทุพพลภาพถาวร : ค่าทดแทน 200,000 – 500,000 บาท/คน
  • ค่าชดเชยผู้ป่วยใน : วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน

พ.ร.บ. รถยนต์ แตกต่างจากประกันภาคสมัครใจอย่างไร ?

พ.ร.บ.รถยนต์ VS จากประกันภาคสมัครใจ

ความแตกต่างหลักระหว่าง พ.ร.บ. รถยนต์กับประกันภาคสมัครใจอยู่ที่ลักษณะการบังคับใช้ และขอบเขตความคุ้มครอง พ.ร.บ. เป็นประกันบังคับตามกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองพื้นฐานในวงเงินที่จำกัด ส่วนประกันภาคสมัครใจเป็นการซื้อประกันเพิ่มเติมตามความต้องการของแต่ละบุคคล

ประกันภาคสมัครใจนั้น จะเข้ามาเสริมความคุ้มครองในส่วนที่ พ.ร.บ. ไม่ครอบคลุม เช่น

  • ความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกัน
  • การสูญหาย
  • ไฟไหม้
  • ความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้อื่นในวงเงินที่สูงกว่า

การมีประกันภาคสมัครใจจึงช่วยลดความเสี่ยงในการต้องจ่ายค่าเสียหายจากกระเป๋าตัวเองเมื่อเกิดอุบัติเหตุรุนแรงนั่นเอง

เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว หลายคนคงสนใจอยากรู้เพิ่มเติมว่า ประกันภาคสมัครใจ คืออะไร ? และหากมีประกันภาคสมัครใจอยู่แล้ว ยังจำเป็นต้องมี พ.ร.บ. รถยนต์อยู่ไหม สามารถหาคำตอบง่ายได้ผ่านบทความ มารู้จัก พ.ร.บ. คืออะไร เรื่องสำคัญที่ผู้ใช้ถนนต้องรู้ ได้เลย

ทำประกันภาคสมัครใจชั้นไหนดี ?

ทำประกันภาคสมัครใจชั้นไหนดี

การเลือกประกันภาคสมัครใจควรพิจารณาจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ มูลค่าของรถยนต์ งบประมาณที่มี และความเสี่ยงในการใช้งาน สำหรับรถยนต์ใหม่หรือราคาสูง แนะนำให้เลือกประกันชั้น 1 เพราะให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุด ทั้งความเสียหายต่อบุคคล และทรัพย์สิน รวมถึงรถคันเอาประกัน กรณีไฟไหม้ และสูญหาย หากมีงบประมาณจำกัด อาจพิจารณาประกันชั้น 2+ หรือ 3+ ที่ให้ความคุ้มครองรถคันเอาประกันเฉพาะกรณีชนกับยานพาหนะอื่น ส่วนรถยนต์เก่าที่มูลค่าไม่สูงมาก อาจเลือกประกันชั้น 3 เพื่อคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกเป็นหลัก สิ่งสำคัญคือต้องศึกษาเงื่อนไข และเปรียบเทียบความคุ้มครองจากหลายบริษัทก่อนตัดสินใจ

สรุปบทความ

พ.ร.บ. รถยนต์เป็นประกันบังคับที่ทุกคันต้องมี ให้ความคุ้มครองพื้นฐานแก่ผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุรถยนต์ ขณะที่ประกันภาคสมัครใจเป็นการเพิ่มความคุ้มครองตามความต้องการ การมีทั้งสองประเภทจึงเป็นการสร้างความมั่นใจที่สมบูรณ์แบบสำหรับการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย ผู้ที่สนใจควรศึกษาข้อมูล และเปรียบเทียบจากหลายบริษัทประกัน เพื่อเลือกแผนความคุ้มครองที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด

ที่มา : Plearn เพลิน By Krungsri GURU

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx