ข่าว

ดราม่าข้าวไข่ดาว 65 บาท เพจดังตั้งคำถาม ถูกหรือแพง? ชาวเน็ตถกเสียงแตก

ดราม่าสนั่น! ข้าวไข่ดาวราคา 65 บาท แพงจริงหรือ? เพจดัง “ท่านเปา” จุดประเด็นร้อน ชาวเน็ตถกสนั่น แจงต้นทุนแฝง ค่า GP แอปเดลิเวอรี่ เหลือกี่บาทกันแน่?

วันนี้เลย 14 พ.ค. 68 เพจดังอย่าง ท่านเปาได้แชร์ปมดราม่ารูปข้าวไข่ดาวบ้านๆ สองฟองโปะข้าวสวย พร้อมคำถามจี้ใจว่า “ข้าวไข่ดาว 65 บาทเนี่ย ถูกหรือแพง?” คอมเมนต์เสียงแตกเป็นสองทางทันที ฝั่งนึงโวยลั่นว่า “แพงเกิ๊น! ร้านค้าจะฟันกำไรจากเมนูสิ้นคิดไปถึงไหนวะ?” แต่อีกฝั่งก็สวนทันควัน “ถ้าสั่งผ่านแอปฯ ราคานี้ก็ปกติป่ะ ต้องเข้าใจหน่อยสิ!”

เพจ ท่านเปา ได้ลองแจกแจงรายละเอียดต้นทุนคร่าว ๆ ชวนให้ขบคิดตาม ไข่ดาวสองใบ ตีราคาใบละ 5 บาท รวมเป็น 10 บาท ค่าน้ำมันที่ใช้ทอดไข่ประเมินไว้ 10 บาท ข้าวเปล่าพร้อมกล่องอีก 10 บาท ยังไม่นับรวมค่าซอส ค่าถุงพลาสติก ช้อนส้อม ค่าแก๊สหุงต้ม และค่าแรงอีก 10 บาท ที่สำคัญคือส่วนแบ่งที่ต้องจ่ายให้แอปพลิเคชันสูงถึงประมาณ 40%

ไข่ดาวเดือด 65 บาท แพงบรรลัย หรือใครกินกำไร? เพจดังจุดชนวนโซเชียลถล่ม โต้กันยับ
ภาพจากเพจ ท่านเปา

คำถามตัวโต ๆ จึงผุดขึ้นว่า หากร้านค้าไม่ตั้งราคานี้ จะให้ขายกี่บาทจึงจะอยู่รอดหรือถ้าเห็นว่าราคาสูงเกินไป เหตุใดจึงไม่ลุกขึ้นมาหุงข้าว ทอดไข่รับประทานเอง แอปพลิเคชันเหล่านี้ขายความสะดวกสบายไม่ใช่หรือ? แอดมินเพจ “ท่านเปา” เองยังเสริมทัพด้วยความคิดเห็นส่วนตัวว่า “ถ้าร้านตามสั่งทั่วไปใน กทม. ไม่ผ่านแอป ข้าว่าจานนี้ก็ 40-50 บาทแล้วนะ”

คอนเม้นต์จากแอดมินเพจท่านเปาและชาวเน็ต กรณีดราม่าข้าวไข่ดาว 65 บาท
ภาพจากเพจ ท่านเปา

เสียงจากชาวเน็ตรายหนึ่งที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นเสริมข้อมูลให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ระบุว่า “ผ่านแอปปกติครับ ถ้าหน้าร้านแพงครับ ถ้าสั่งในแอป 65 บาท ร้านโดนหักค่า GP 32% จะเท่ากับ 65 คูณ 32% เท่ากับ 20.8 บาท เมื่อหัก 20.8 บาทออกจาก 65 บาท ร้านจะเหลือเงินจริงๆ เพียง 44-45 บาท จริง ๆ เราขายถูกได้ถ้าเราไม่โดนแอปหักเงินเยอะค่ะ”

ถัดมาคือ บรรจุภัณฑ์ กล่องข้าวพลาสติกหรือกล่องชานอ้อยราคาประมาณ 3 บาท ช้อน ส้อม และกระดาษทิชชู่ชุดละ 1 บาท ถุงพลาสติกสำหรับใส่กล่องอีก 0.50 บาท รวมค่าบรรจุภัณฑ์เป็นเงิน 4.5 บาท

ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ยังมี ต้นทุนแฝง ที่ซ่อนอยู่ ค่าแก๊สหรือค่าไฟฟ้าสำหรับทำอาหารประมาณ 1 บาท ค่าน้ำสำหรับล้างและหุงข้าว 0.50 บาท หากมีการจ้างพนักงาน ค่าจ้างแรงงานต่อจานอาจอยู่ที่ 2 บาท และค่าความเสื่อมของอุปกรณ์ครัวอีก 0.50 บาท รวมต้นทุนแฝงอีก 4 บาท

เมื่อรวมตัวเลขทั้งหมด ต้นทุนรวมที่ยังไม่ได้หักค่า GP จากแอปพลิเคชันเดลิเวอรี่ จะอยู่ที่ 17.7 (วัตถุดิบ) + 4.5 (บรรจุภัณฑ์) + 4 (ต้นทุนแฝง) = 26.2 บาทต่อกล่อง

ประเด็นสำคัญอยู่ที่ ค่า GP (Gross Profit) ที่ร้านค้าต้องจ่ายให้กับแอปพลิเคชันเดลิเวอรี่ ซึ่งโดยทั่วไปคิดที่ประมาณ 30% ของราคาขาย หากร้านค้าตั้งราคาขายไว้ที่ 45 บาท จะต้องแบ่งให้แอปพลิเคชันถึง 13.5 บาท นั่นหมายความว่า หากต้องการให้ร้านค้ามีกำไรอยู่ได้ประมาณ 10-30% หลังหักค่า GP ราคาขายที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่ประมาณ 45-50 บาทเป็นอย่างน้อย

คอมเม้นต์เฉาะต้นทุนข้าวไข่ดาว 2 ฟอง 65 บาท
ภาพจาก ท่านเปา

บทสรุปของดราม่าข้าวไข่ดาว 65 บาท ไม่ใช่แค่เรื่องของความถูกหรือแพง แต่เป็นภาพสะท้อนของโครงสร้างราคาอาหารในยุคที่ความสะดวกสบายมีราคาที่ต้องจ่าย และผู้ประกอบการรายย่อยต้องดิ้นรนหาจุดสมดุลระหว่างต้นทุนที่แท้จริง กำไรที่พออยู่ได้ และราคาที่ผู้บริโภคยอมรับ กลางสมรภูมิแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง: ท่านเปา

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

New Nidhikant

จบการศึกษาคณะอักษรศาสตร์ เอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร นักเขียนสายมูเตลู และนักอ่านไพ่ทาโรต์ โหราศาสตร์ มีความสนใจด้านข่าวการเมือง ศิลปะวัฒนธรรม แฟชั่น และสายดูดวงมูเตลู งานเขียนเน้นเนื้อหาที่เข้าใจง่าย อ่านสนุก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx