ผู้โดยสารโวยแอร์ฯ ไม่ช่วยยกกระเป๋าหนัก ชาวเน็ตถล่มยับ ไม่ใช่คนรับใช้ หน้าที่ดูแลความปลอดภัย

สงสัยไม่เคยขึ้นเครื่องบิน ผู้โดยสารโวยแอร์โฮสเตส ไม่ช่วยยกกระเป๋าหนัก ชาวเน็ตถล่มยับ ไม่ใช่คนรับใช้ หน้าที่ดูแลความปลอดภัย สาเหตุทำไมต้องจำกัดน้ำหนักกระเป๋า 7 กิโลกรัม
ดราม่าเดินทางด้วยเครื่องบินอีกแล้ว ในกลุ่มเฟซบุ๊ก “AirAsia Thailand Club” เมื่อผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์ข้อความร้องเรียนการบริการของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ของสายการบินแอร์เอเชีย เที่ยวบิน FD4350 ซึ่งเดินทางในวันที่ 6 พฤษภาคม 2568 อ้างว่าพนักงานปฏิเสธที่จะช่วยยกกระเป๋าสัมภาระขึ้นเก็บในช่องเก็บเหนือศีรษะ
ผู้โพสต์เล่าว่า ตนเองขอให้แอร์ช่วยยกกระเป๋า เพราะกระเป๋าหนัก “เดี๋ยวนี้พนักงานบนเครื่องบินพูดจาไม่เพราะขนาดนี้เลยหรอ แค่บอกให้ช่วยยกกระเป๋าขึ้นชั้นวางเพราะมันหนัก ช่วยพยุงก็ไม่ได้” ตนเองเป็นแค่ผู้หญิงตัวเล็กๆ กลับบอกให้เรายกด้วยตนเองถ้ายกไม่ได้ให้เอาลงไปไว้ข้างล่าง…พอกันที
หลังจากโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ได้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กจำนวนมากเข้ามาแสดงความคิดเห็น โดยส่วนใหญ่มีความเห็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกับผู้โพสต์ เข้ามาให้ข้อมูลเพื่อปกป้องการทำงานของพนักงานต้อนรับว่าทำถูกต้องตามหลักปฏิบัติแล้ว
“ปกตินั่งแต่รถทัวร์หรอคะ”
“พนักงานบนเครื่อง มีไว้ดูเรื่องความปลอดภัย ไม่ใช่มีหน้าที่ยกของให้ กระเป๋า Carry on หมายถึง กระเป๋าที่คุณสามารถ ยกเองได้ หากยก ไม่ไหว ก็โหลดใต้เครื่อง
อย่าเอาความประสาทแดกของตัวเอง ไปลงกับพนักงาน ขอบคุณครับ”
“ถ้ารู้ว่าหนักทำไมไม่โหลดค้า”
“อันนี้คือก่อนจะโทษตัวเอง คือลองไปโทษคนอื่นก่อนหรอคะ ?”
“สายการบินเขาถึงได้เข้มงวดกระเป๋าหิ้วขึ้นเครื่องไม่ให้เกิน 7กิโล เพราะเป็นน้ำหนักที่ผู้ใหญ่สุขภาพปกติไม่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงทุกคนสามารถยกได้ กรณีนี้ถ้าไม่ป่วยก็แบกไปเกิน 7 กิโลเป็นแน่”
“สภาพ หน้าที่ของแอร์คือรักษาความปลอดภัยผดสและเครื่องบินไม่ใช่มารองมือรองตีน”
ขึ้นเครื่องบินบ่อยๆ จะรู้ ผู้โดยสารต้องยกกระเป๋าเก็บด้วยตนเอง
การยกของหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกซ้ำๆ หรือยกในท่าทางที่ไม่สะดวกบนเครื่องบิน อาจทำให้พนักงานได้รับบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหรือหลังได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่สำคัญอื่นๆ โดยเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังนั้นผู้โดยสารต้องมีหน้าที่รับผิดชอบสัมภาระของตนเอง
สายการบินส่วนใหญ่มีนโยบายว่า สัมภาระที่นำขึ้นเครื่อง (Carry-on) ต้องสามารถจัดการและยกเก็บเข้าที่ด้วยตนเองได้ มักกำหนดไม่เกิน 7 กิโลกรัม เพื่อให้ไม่หนักเกินไป หากสัมภาระหนักเกินกว่าที่ผู้โดยสารจะจัดการได้สะดวก ต้องโหลดใต้ท้องเครื่องเพื่อความปลอดภัยและความสะดวกของทุกคน
ที่สำคัญ หากพนักงานต้องคอยช่วยยกกระเป๋าให้ผู้โดยสารจำนวนมาก จะทำให้กระบวนการขึ้นเครื่องล่าช้าลงอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อตารางเวลาการบินได้
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- นทท. แอบถ่ายแอร์โฮสเตส โพสต์ ‘ขาสวย’ ส่ออนาจาร สายการบินโต้เดือด
- ความลับ แอร์โฮสเตส ทักทาย “สวัสดีค่ะ” รู้ไว้คุณกำลังถูกสแกน หัวจรดเท้า
- แอร์โฮสเตสห่าม เต้นทเวิร์กบนเครื่องบิน จนโดนไล่ออก ชาวเน็ตรุมด่าซ้ำ
ติดตาม The Thaiger บน Google News: