ไฮโซฮอต ปัดแฟนเก่าท้อง อ้างป่วยลูคีเมีย-ธาลัสซีเมีย มีลูกไม่ได้

ชาวเน็ตจับผิด ไฮโซฮอตอ้าง เป็นลูคีเมีย-ธาลัสซีเมีย ปัดทำแฟนเก่าท้อง ไม่รับผิดชอบลูก โอนเงินให้ครั้งละ 500 – 1000 บาท ไขข้อสงสัยสรุปมีลูกได้ไหม?
ตามต่อกับกรณีของ ‘ไฮโซฮอต’ หรือ ‘นายธัญเทพ ศิริทรัพย์เดชากุล’ อายุ 32 ปี อ้างรู้จักคนมีชื่อเสียง เป็นที่ปรึกษาของนายกฯ เพื่อให้คนหลงเชื่อ รวมทั้งหลอกลวง ‘คะน้า ริญญารัตน์ วัชรโรจน์สิริ’ จนมีการขยายเรื่องราวและพบผู้เสียหายเป็นจำนวนมาก
ล่าสุด มีการเปิดเผยเรื่องราวของ ‘น.ส.เอ’ ย้อนกลับไปในปี เมษายน 2565 เล่นแอปฯ หาคู่ แต่พบกับนายฮอต มีการพูดคุยและเทคแคร์ดีมาก รวมทั้งชวนไปคอนโด หลังจากพูดคุยไปสักพักก็ตัดสินใจคบหากัน แต่ในช่วงหลังกลับเกิดปัญหา เพราะไฮโซเก๋เริ่มมีท่าทีห่างเกินและติดต่อกันน้อยลง
หลังผ่านไป 3 เดือน น.ส.เอ เพิ่งรู้ตัวว่าท้องกับนายฮอตจึงพยายามติดต่อกลับไปหาไฮโซหนุ่ม พร้อมยืนยันความบริสุทธิใจว่าสามารถตรวจ DNA ได้ แต่นายฮอตก็อ้างว่า “จะท้องได้ไง ในเมื่อผมเป็นโรคลูคีเมียและธาลัสซีเมีย มีลูกไม่ได้” แถมบ่ายเบี่ยงเมื่อเธอติดต่อไปหา โดยอ้างว่าติดประชุมด่วน
หลังจากนั้นหมูกรอบพยายามหลบหนีหน้า พอท้องได้ 7 เดือน น.ส.เอ หมดหวังเลยกลับบ้านเกิด จนกระทั่งคลอดลูก และเริ่มคลานได้แล้ว นายฮอตก็โอนเงินให้ลูกครั้งละ 500 – 1,000 บาท แต่ไม่เคยมาเจอหน้าลูกสักครั้งเดียว

ไขข้อสงสัย คนเป็นลูคีเมีย-ธาลัสซีเมีย มีลูกได้ไหม?
จากกรณีของนายฮอตที่อ้างว่าเป็นโรคลูคีเมียและธาลัสซีเมียไม่สามารถมีลูกได้นั้น หลายคนเกิดข้อสงสัยว่าแท้จริงแล้วเป็นไปตามที่เข้าตัวอ้างหรือไม่ หรือโรคดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับการมีบุตรอย่างไร
แม้ว่าทั้งสองโรค รวมถึงกระบวนการรักษาที่จำเป็น อาจส่งผลกระทบไม่มากก็น้อยต่อระบบสืบพันธุ์และภาวะเจริญพันธุ์ แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์และการดูแลรักษาในปัจจุบัน การมีบุตรของผู้ป่วยลูคีเมียและธาลัสซีเมียนั้นสามารถเป็นไปได้ หากมีการวางแผนอย่างรอบคอบและอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สำหรับผู้ป่วย ‘ลูคีเมีย’ ปัจจัยหลักที่อาจส่งผลต่อการมีบุตรในอนาคตคือ การรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาเคมีบำบัด (คีโม) และการฉายรังสี (ฉายแสง) ซึ่งอาจทำลายเซลล์สืบพันธุ์หรือส่งผลกระทบต่อการทำงานของรังไข่ในเพศหญิง และอัณฑะในเพศชาย ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากหรืออาจถึงขั้นเป็นหมันถาวรได้
ความเสี่ยงดังกล่าวขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งชนิดและปริมาณยาที่ได้รับ, บริเวณที่ฉายรังสี, อายุของผู้ป่วยขณะรับการรักษา และชนิดของโรคลูคีเมียที่เป็น อย่างไรก้ตาม การตั้งครรภ์หลังการรักษาลูคีเมียสามารถทำได้ แต่ต้องมีการวางแผนร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยาและสูตินรีแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินความพร้อมของร่างกายและเฝ้าระวังผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
ส่วนในกรณีของผู้ป่วย ‘ธาลัสซีเมีย’ หรือโรคโลหิตจางที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ภาวะมีบุตรยากอาจเป็นผลมาจากตัวโรคเอง หรือจากภาวะแทรกซ้อนของการรักษา โดยเฉพาะในผู้ป่วยชนิดรุนแรงที่จำเป็นต้องได้รับเลือดเป็นประจำ อาจเกิดภาวะธาตุเหล็กเกินจากการรับเลือดสะสม
ธาตุเหล็กส่วนเกินสามารถเข้าไปสะสมในอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงต่อมไร้ท่อที่ควบคุมการสร้างฮอร์โมนเพศ ส่งผลให้พัฒนาการทางเพศล่าช้าหรือมีปัญหาด้านการเจริญพันธุ์ได้ ดังนั้น การได้รับยาขับธาตุเหล็กอย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันภาวะนี้และส่งเสริมภาวะเจริญพันธุ์
ทั้งนี้ ควรเตรียมความพร้อมร่างกายอย่างดีเยี่ยมก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อประเมินความเสี่ยงและวางแผนสำหรับลูกที่จะเกิดมา
สรุปแล้ว การเป็นลูคีเมียหรือธาลัสซีเมีย ไม่ได้ปิดกั้นโอกาสการมีลูกไปเสียทั้งหมด แต่ควรการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ตั้งแต่เนิ่น ๆ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการรักษา เพื่อรับข้อมูลที่ถูกต้อง ประเมินความเสี่ยงก่อนการตั้งครรภ์
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ไฮโซฮอต ประวัติดี เคยเป็นเด็กเก่งจิตอาสา ได้ลงหนังสือพิมพ์
- ตำรวจแจ้งข้อหา “ไฮโซฮอต” คาเตียง รพ. สร้างไลน์แอบอ้างนายกฯ
- โป๊ะแตก ‘ไฮโซฮอต’ นั่งวินมอไซค์กลับบ้าน อ้าง เป็นคนสมถะ หลบกระสุนดีกว่า