เช็กที่นี่ 15 รอยเลื่อนมีพลังในไทย พาดผ่าน จังหวัดไหนบ้าง

ศูนย์ปฎิบัติการธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี พาดู 15 รอยเลื่อนที่มีพลังในประเทศไทย เก็บไว้เป็นความรู้ พร้อมรับมือภัยธรรมชาติในอนาคต
หลังจากที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 จุดศูนย์กลางที่ประเทศเมียนมา ส่งผลให้ประชาชนในประเทศไทยได้รับแรงสั่นสะเทือน ทำให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมากกับทั้ง 2 ประเทศ
อย่างไรก็ตาม แผ่นดินไหว คือภัยพิบัติหนึ่งเดียวที่จนถึงตอนนี้ไม่มีใครสามารถทำนายการเกิดได้ ทำให้เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจ และเรียนรู้ที่จะอยู่กับสิ่งนี้
อย่างที่ทราบกันว่าสาเหตุหลักของการเกิดแผ่นดินไหวในครั้งนี้เกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก เมื่อแผ่นเปลือกโลกเหล่านี้เข้าหากันหรือเคลื่อนที่ออกจากกัน จะเกิดพลังงานจากแรงเสียดสี และเมื่อพลังงานที่สะสมไว้มากเกินไป แผ่นเปลือกโลกก็จะแตกออก พร้อมกับปล่อยพลังงานออกมาในรูปแบบของแผ่นดินไหว
ล่าสุด ศูนย์ปฎิบัติการธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ได้มีการให้ความรู้กับประชาชนถึง “รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย” ที่มีทั้งหมด 15 กลุ่มรอยเลื่อน แบ่งได้ดังนี้
- กลุ่มรอยเลื่อนแม่จัน พาดผ่านจังหวัดเชียงรายและจังหวัดเชียงใหม่
- กลุ่มรอยเลื่อนแม่อิง พาดผ่านจังหวัดเชียงราย
- กลุ่มรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน พาดผ่านจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดตาก
- กลุ่มรอยเลื่อนเมย พาดผ่านจังหวัดตากและจังหวัดกำแพงเพชร
- กลุ่มรอยเลื่อนแม่ทา พาดผ่านจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดเชียงราย
- กลุ่มรอยเลื่อนเถิน พาดผ่านจังหวัดลำปางและจังหวัดแพร่
- กลุ่มรอยเลื่อนพะเยา พาดผ่านจังหวัดพะเยา จังหวัดเชียงราย และจังหวัดลำปาง
- กลุ่มรอยเลื่อนแม่ลาว พาดผ่านจังหวัดเชียงราย
- กลุ่มรอยเลื่อนปัว พาดผ่านจังหวัดน่าน
- กลุ่มรอยเลื่อนอุตรดิตถ์ พาดผ่านจังหวัดอุตรดิตถ์
- กลุ่มกลุ่มรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ พาดผ่านจังหวัดกาญจนบุรี
- กลุ่มรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ พาดผ่านจังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดตาก
- กลุ่มรอยเลื่อนระนอง พาดผ่านจังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดพังงา
- กลุ่มรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย พาดผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา และจังหวัดภูเก็ต
- กลุ่มรอยเลื่อนเพชรบูรณ์ พาดผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดเลย

แม้ว่าจะมีรอยเลื่อนมีพลังอยู่ในประเทศไทยมากถึง 15 รอยเลื่อน แต่รอยเลื่อนเหล่านี้มีการเคลื่อนไหวในอัตรที่ช้า แต่ก็ยังคงสะสมพลังงานและสามารถปลดปล่อยออกมาเป็นแผ่นดินไหวได้ในอนาคต ดังนั้น การเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือกับแผ่นดินไหวจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
หากเกิดแผ่นดินไหว ควรปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้
- หาที่หลบภัยที่ปลอดภัย เช่น ใต้โต๊ะหรือใต้เตียง
- อย่าวิ่งหรือกระโดด เพราะอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บ
- หากอยู่ใกล้กับหน้าต่างหรือประตู ให้หลีกเลี่ยง เพราะเศษแก้วหรือเศษซากอาจหล่นลงมา
- เมื่อแผ่นดินไหวหยุดลง ให้ตรวจสอบตัวเองและครอบครัวว่ามีใครได้รับบาดเจ็บหรือไม่
- หากพบเห็นผู้ได้รับบาดเจ็บ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่
- ปิดไฟฟ้าและแก๊ส
- อย่าใช้โทรศัพท์มือถือเว้นแต่ในกรณีฉุกเฉิน
- ติดตามข่าวสารจากสื่อมวลชนเพื่อรับทราบข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับแผ่นดินไหว
การเตรียมพร้อมรับมือสำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน การเรียนรู้วิธีปฏิบัติตัวในกรณีเกิดแผ่นดินไหวสามารถลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บและความเสียหายได้
อ้างอิง : Facebook ศูนย์ปฎิบัติการธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- รู้จัก รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ยังมีพลัง เขย่ากระบี่ ล้วนพาดผ่านจังหวัดท่องเที่ยวดัง
- สำนักงานศาลยุติธรรม ยัน ไม่พบความผิดปกติที่ศาลอาญา รัชดา
- นายก แถลง ไม่มีแผ่นดินไหวกระทบไทย ตึกราชการเป็นรอยร้าวเดิม
- เช็กที่นี่ ตึกกรุงเทพสั่นไหว-อพยพคน เช้านี้ ที่ไหนบ้าง