ข่าว

พีพี สุดทน! งานไทยพิธีการล้น เบียดเบียนเวลา จวก ผู้บริหารไม่แคร์วิชาการ

นักวิจัย MIT Media Lab “พีพี – พัทน์ ภัทรนุธาพร” โพสต์ระบาย หลังถูกเชิญ Guest Lecture งาน Safer Internet Day ที่ ม.ดังไทย เจอพิธีเปิดยืดยาว ถ่ายรูป มอบของที่ระลึก กินเวลา จนแทบไม่ได้พูด จวก ผู้บริหาร ให้ความสำคัญพิธีการมากกว่าวิชาการ ลั่น ที่ MIT ไม่มีแบบนี้

“ไม่อยากเขียนถึงสังคมไทย เพราะรู้สึกว่าจะกลายเป็นเด็กไม่น่ารัก และทำตัวหน้าหมั่นไส้ แต่ประสบการณ์ที่เจอวันนี้ พีพีรู้สึกว่ามันเลวร้าย และอยากบันทึกไว้ เพื่อหวังว่ามันจะถูกแก้ในอนาคต (หลังจากนี้จะพยายามไม่เขียนแล้วครับ)”

Advertisements

ข้อความสุดอัดอั้น ของ “พีพี – พัทน์ ภัทรนุธาพร” นักวิทยาศาสตร์คนไทย ประจำ MIT Media Lab ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Pat Pataranutaporn หลังได้รับเชิญ ให้ไปบรรยายพิเศษ (Guest Lecture) ในงาน International Symposium เนื่องในวัน Safer Internet Day ที่มหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งหนึ่งในประเทศไทย แต่กลับเจอพิธีการ ที่ยืดยาว จนแทบไม่ได้พูด

พีพี เล่าว่า ตนเองเตรียมสไลด์และตั้งใจจะมาพูดถึงงานวิจัย เกี่ยวกับเด็กและ AI แต่กลับต้องรอ ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ที่มาช้ากว่ากำหนด จากนั้นก็มีพิธีเปิดที่ยาวตามด้วยการถ่ายรูป และมอบของที่ระลึก ซึ่งกินเวลาไปกว่า 1 ชั่วโมง จนบีบเวลาบรรยาย 30 นาที (และช่วงถาม-ตอบ) ของพีพี ให้เหลือเพียง 5 นาที ในเวลาเกือบ 5 ทุ่ม

พีพี พิธีกล่าวเปิดงาน mit
Pat Pataranutaporn

“นี่มัน symposium ไม่ใช่งานถ่ายรูปรึเปล่า” พีพี ตั้งคำถาม พร้อมเปรียบเทียบกับประสบการณ์ที่ MIT Media Lab ซึ่ง Professor Dava Newman ผู้อำนวยการ และอดีตผู้บริหาร NASA กลับให้พีพี ซึ่งเป็นผู้ออกแบบงาน เป็นผู้ “Give the opening talk” และยังเดินขึ้นมากอดให้กำลังใจ หลังพูดเสร็จ สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่าง ของวัฒนธรรมองค์กร และการให้ความสำคัญกับวิชาการ

พีพี มองว่าการที่ผู้บริหารให้ความสำคัญกับพิธีการ มากกว่าเนื้อหา เป็นการ “set tone” ของการประชุม ทำให้งานขาดความเป็นสากล และลดทอนแก่นสาระสำคัญ ทั้งยังส่งสัญญาณไปถึงอาจารย์ นักศึกษา และคนในมหาวิทยาลัย ว่าการเรียนรู้ มาทีหลังการแสดงอำนาจ

“การที่เรามีพิธีการในไทยแบบนี้ ripple ไปถึงคนอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัย แบบที่ Acemoglu และ Robinson เขียน แทนที่อาจารย์ นักศึกษา หรือคนในมหาลัยมาฟังจะรู้สึก inspire กับ content ก็จะเกิดความหงุดหงิด frustrate ไม่อยากรอพิธีการเป็นชั่วโมง หรือไม่ชอบการมาเข้าร่วมอะไรแบบนี้อีก ทำให้ academic culture เกิดความอ่อนแอลงได้” พีพี กล่าว

Advertisements
พีพี MIT งานไทยพิธีการล้น
Pat Pataranutaporn

พีพี ยังย้ำในตอนท้ายว่า ในฐานะนักวิจัย AI ผมมองว่าการที่มหาวิทยาลัยจะเป็นมหาลัยชั้นนำ ไม่ใช่การมี AI หรือความ hi-tech แต่คือการที่เราสร้างวัฒนธรรมที่ value ความเข้มแข็งทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้เพื่อนมนุษย์ เหนือกว่าอำนาจ ความศักดิ์สิทธิ์ หรือตำแหน่งอะไรก็ตามครับ

หลังจากที่ พีพี เผยแพร่โพสต์ดังกล่าวออกไป ก็เกิดเสียงวิพากย์วิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ส่วนใหญ๋เห็นด้วยกับน้อง พีพี ว่ามหาวิทยาลัยชั้นนำควรเสริมความเข้มแข็งทางวิชาการมากกว่าอำนาจ และหวังให้การศึกษาไทยปฏิรูปให้สอดคล้องกับโลกาภิวัฒน์

นอกจากนี้ อ.เจษฎ์ ยังได้โผล่เข้ามาคอมเมนต์ใต้โพสต์อีกด้วยว่า “ประเทศไทย ขนาดจะตัดไฟฟ้าไปพม่า ยังต้องจัดอีเว้นท์ให้รัฐมนตรีมากดปุ่มเลยครับ ฮะ ๆ”

พิธีการในไทยยาวมาก
Pat Pataranutaporn

โพสต์ต้นฉบับของ พีพี-พัทน์ ภัทรนุธาพร

“พีพีไม่อยากเขียนถึงสังคมไทยเพราะรู้สึกว่าจะกลายเป็นเด็กไม่น่ารักเเละทำตัวหน้าหมั่นไส้ เเต่ประสบการณ์ที่เจอวันนี้พีพีรู้สึกว่ามันเลวร้ายเเละอยากบันทึกไว้เพื่อหวังว่ามันจะถูกเเก้ในอนาคต (หลังจากนี้จะพยายามไม่เขียนเเล้วครับ)

ปกติต่อให้พีพีอยู่ที่ MIT, Boston เวลามีคน invite ให้ไป guest lecture ที่ไทยหรือประเทศไหนทั่วโลกในฐานะที่เราเป็น academics ก็จะไปถ้าไปไม่ได้ก็จะ zoom ไป ยกเว้นว่าป่วย หรือเวลาดึกเกินไปจริงๆ วันนี้พีพีได้ invite ให้ไป lecture ใน International symposium เนื่องในวัน Safer Internet Day สำหรับเด็กที่จัดที่มหาลัยชั้นนำเเห่งหนึ่งในไทย พีพีที่ยังป่วยอยู่จากการเดินทางอาทิตย์ที่เเล้วก็เตรียม slide พี่จะพูดถึงงานวิจัยที่เราทำเกี่ยวกับ study ของเด็กเเละ AI เเละก็เตรียมรอ zoom ตั้งเเต่สามทุ่ม

สิ่งที่ไม่คาดคิดก็คือผู้บริหารของมหาลัยนี้มาช้ากว่ากำหนด พอมาเเล้วก็มีผู้บริหารอื่นๆ เเละเเขก VIP มาเยอะมาก พอมาเเล้วก็มีพิธีเปิดที่ยาวพอสมควร ตามด้วยเเต่ละคนถ่ายรูปหลายรูป พร้อมมอบของที่ระลึกเเล้วก็ถ่ายรูปอีก ซึ่งพีพีที่ดูอยู่ใน zoom คิดว่ารวมเวลาเเล้วน่าจะประมาณชั่วโมงกว่าซึ่งกินเวลา talk พีพีไปจนเกือบจะห้าทุ่ม สุดท้ายคนจัดงานเนื่องด้วยเวลาบีบคั้นขอให้พีพีที่ตอนเเรกจะพูด 30 นาที + Q&A ให้พูด 5 นาที ตอนห้าทุ่มซึ่งพีพีก็เเปลกใจว่านี่มัน symposium ไม่ใช่งานถ่ายรูปรึเปล่า

พีพี mit โพสต์เทียบว่า การบรรยายที่ไทยมีพิธียาวเกินควร
Pat Pataranutaporn

มีรุ่นน้องมาบอกว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องปกติของมหาลัยในไทย หลายคนก็อาจจะบอกว่าชินเถอะเพราะนี่คือสังคมไทย ต้องเข้าใจ เเต่พีพีคิดว่ามันไม่ใช่ เวลาเราโทษว่ามหาลัยเราไม่สามารถเจริญขึ้นได้เพราะงบไม่มี คนไม่พอ หรืออะไรก็เเล้วเเต่ พีพีคิดว่าการเปลี่ยนอะไรง่ายๆเช่นเเค่ไม่ต้องมีพิธีเปิดที่ยืดเยื้อ ซึ่ง เป็นพิธีกรรมไม่ใช่การที่ผู้บริหารมีประเด็นอะไรจริงๆจะเเชร์ (เพราะที่เห็นคืออ่าน script เเละก็พูดเหมือนกันหมดๆ ว่าถึงเวลาอันสมควรเเล้วขอเปิดงานบลาๆๆๆ) อันนี้เป็นสิ่งที่ทำได้เเละไม่ต้องใช้งบอะไรก็เปลี่ยนได้

คำถามคือเเค่พิธีเปิดนี่มันสำคัญขนาดนั้นเลยหรอ ช่วงนี้พีพีอินกับงานของ fellow MIT ด้วยกันอย่าง Daron Acemoglu กับ James A. Robinson ที่ได้รางวัลโนเบลปีนี้ที่เขียนหนังสือ Why the Nations Fail งานวิจัยของทั้งสองคนนี้บอกว่าไม่ต้องไปโทษฟ้าโทษฝน หรืออะไรทั้งนั้นเพราะการที่ประเทศจะ fail หรือ success เกิดจากการตัดสินใจของผู้นำในการสร้างโครงสร้างสังคม (institution) วัฒนธรรม เเละ เเรงจูงใจในองค์กร ที่เปลี่ยนพฤติกรรมของคนในวงกว้าง

การที่ผู้บริหารสร้างวัฒนธรรมว่าตัวเองต้องมาเปิดงาน for the sake ของการเปิดงาน (ซึ่งพีพีไม่เคยเห็นใน institution อย่าง MIT, Harvard, Stanford) นอกจากจะทำให้เปลืองเวลาไปเบียดเบียนเวลาของคนอื่นเเล้วมันยัง set tone ของการประชุมด้วยว่าเราสนใจพิธีการมากกว่าความเข้มเเข็งทางวิชาการ ทำให้งานเเทนที่จะมีความเป็น international เเละ highlight เเก่นสารของงานจริงๆ ถูกเจือจางลงด้วยอำนาจ ความเจ้ายศเจ้าอย่าง ความมีตำเเหน่ง ซึ่งเป็นสิ่งสมมุติทั้งสิ้นในวงการวิชาการ อาจารย์พีพีที่ MIT บอกเสมอว่าสิ่งสำคัญที่สุดของการอยู่ใน academics คือการสร้างองค์ความรู้ให้กับมนุษยชาติ งานบริหาร หรืองานอย่างอื่นคือการมา serve สิ่งนี้ทั้งสิ้น ดังนั้นคนที่เราควรให้ความสำคัญที่สุดคือคนที่ทำหน้าที่วิจัย ไม่ใช่ผู้บริหาร (ที่ควรจะมีหน้าที่ serve คนที่ทำหน้าที่วิจัย)

พีพีถามกลับ พิธีเปิดสำคัญกว่าวิชาการเหรอ
Pat Pataranutaporn

ตอนที่ MIT Media Lab มาจัด Southeast Asia Forum ที่ไทย Professor Dava Newman ที่เป็น executive director ของ NASA เเละ director คนปัจจุบันของ MIT Media Lab ก็ให้พีพีซึ่งเป็นคนออกเเบบ event นี้ give the opening talk เเล้วก็เดินขึ้นมากอดให้กำลังใจหลังพีพีพูดเสร็จ พีพีคิดว่าสิ่งนี้เท่มากๆเเละน่าชื่นชมมากๆในความเป็นผู้ใหญ่ที่ support เเละ lift คนในทีมให้สูงขึ้นสมเป็นผู้บริหารจริง ๆ

การที่เรามีพิธีการในไทยเเบบนี้ ripple ไปถึงคนอื่นๆในมหาวิทยาลัยเเบบที่ Acemoglu เเละ Robinson เขียน เเทนที่อาจารย์ นักศึกษา หรือคนในมหาลัยมาฟังจะรู้สึก inspire กับ content ก็จะเกิดความหงุดหงิด frustrate ไม่อยากรอพิธีการเป็นชั่วโมง หรือ ไม่ชอบการมาเข้าร่วมอะไรเเบบนี้อีก ทำให้ academic culture เกิดความอ่อนเเอลงได้ สิ่งนี้ยังส่ง signal ออกไปว่าเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับเวลาของคน มองว่าการเรียนรู้มาทีหลังการเเสดงอำนาจ

ดังนั้นใครที่อ่าน post พีพีอยู่ที่เป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยเเล้วอย่างสร้างความเปลี่ยนเเปลง สิ่งที่ง่ายที่สุดเเละไม่ต้องใช้งบประมาณมหาศาลเเล้วจะทำให้สถาบันคุณมีความ international เทียบเท่า MIT หรือ Harvard ได้เลยก็คือเเค่บอกว่าต่อไปนี้ไม่ต้องไปเปิดงานอีกเเล้ว ไปร่วมเเค่สังเกตุการณ์หรือให้กำลังใจคนจัดงานก็พอครับ

ในฐานะนักวิจัย AI พีพีมองว่าการที่มหาวิทยาลัยจะเป็นมหาลัยชั้นนำพีพีคิดว่าไม่ใช่การมี AI หรือความ hi-tech เเต่คือการที่เราสร้างวัฒนธรรมที่ value ความเข้มเเข็งทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้เพื่อนมนุษย์ เหนือกว่าอำนาจ ความศักดิ์สิทธิ์ หรือตำเเหน่งอะไรก็ตามครับ

พีพีทิ้งท้ายว่า หลังจากนี้จะไม่เขียนถึงเรื่องนี้อีกแล้ว
Pat Pataranutaporn

สิ่งที่น่าเเปลกใจเเละตลกร้ายคืองานที่พีพีได้ invite ไป lecture คืองานเนื่องในวัน Safer Internet Day สำหรับเด็ก เเต่น่าเเปลกว่าผู้ใหญ่กลับกดเด็กอย่างพีพีให้สุดท้ายเเทบไม่ได้พูดอะไรเลย… พีพีไม่อยากเขียนถึงสังคมไทยเพราะรู้สึกว่าจะกลายเป็นเด็กไม่น่ารักเเละทำตัวหน้าหมั่นไส้ เเต่ประสบการณ์ที่เจอวันนี้พีพีรู้สึกว่ามันเลวร้ายเเละอยากบันทึกไว้เพื่อหวังว่ามันจะถูกเเก้ในอนาคต (หลังจากนี้จะพยายามไม่เขียนเเล้วครับ)”

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง : เฟซบุ๊ก Pat Pataranutaporn

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button