ข่าว

ดร.ธรณ์ ห่วงน้ำท่วมภาคใต้ ไม่มีพายุ แต่ปริมาณน้ำฝนเท่า “ไต้ฝุ่น”

มุมนักวิชาการห่วงสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ กางข้อมูลโลกร้อน สะสมมากท่าไหร่สภาพอากาศยิ่งแปรปรวน เผยภาคใต้แม้ไม่มีพายุ แต่ฝนตกเทียบเท่าปริมาณน้ำฝนจากไต้ฝุ่น pheไทยติด TOP10 ประเทศรับผลกระทบจากโลกร้อนรุนแรงสุด เรื่องฝนกับน้ำท่วม

จากสถานการณ์ท่วมภาคใต้ที่กำลังประสบกับภาวะวิกฤตอย่างหนัก ไล่ตั้งแต่ ยะลา นราธิวาส ปัตตานี ล่าสุด ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่เป็นปัจจัยหลักสิ่งอาจส่งผลกระทบให้ พื้นที่ใต้สุดของประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาปริมาณน้ำท่วมสูงที่บางพื้นที่ระบุว่า เกินกว่า 2 เมตร ต้องเร่งอพยพคนอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่ 2

Advertisements

“โลกยิ่งร้อนเท่าไหร่ สภาพอากาศยิ่งแปรปรวน แม้ไม่มีพายุ แต่ฝนตกในภาคใต้เทียบเท่าปริมาณน้ำฝนจากไต้ฝุ่น ส่งกำลังใจไปให้พี่น้องคนใต้ครับ” ข้อความจจากเฟซบุ๊กของ Thon Thamrongnawasawat ของดร.ธรณ์ ซึ่งต่อมายังมีการลงข้อมูลใหม่ที่วิเคราะห์เรื่องของกราฟระดับน้ำของแม่น้ำสายบุรี จ.ยะลา เพื่ออธิบายฝนตกแบบ extreme weather

เนื้อหาทั้งหมดระบุ “กราฟของสสน. แสดงระดับน้ำตลอดเดือนพฤศจิกายน จนถึงวันนี้ (28 พ.ย.) จะเห็นว่าสถานการณ์ปรกติมาตลอด จนถึง 9 โมงเช้า วันอังคารน้ำยังสูงแค่ 12 เมตรเศษ ต่ำกว่าตลิ่งจำนวนมาก แต่เมื่อฝนตกไม่ลืมหูลืมตา ปริมาณน้ำฝนสะสมหลายร้อยมิลลิเมตร ไหลจากทุกทิศมารวมกัน น้ำเพิ่มขึ้นฉับพลันใช้เวลาเพียง 17 ชม. น้ำล้นตลิ่ง (ตี 4 วันพุธ) จากนั้นน้ำยังสูงต่อเนื่อง จนถึง 8 โมงเช้าวันพฤหัส น้ำล้นตลิ่ง 2.75 เมตร”

ที่น่าเป็นห่วงคือฝนยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุด อย่างน้อยอีก 3-4 วัน ระดับน้ำยังเพิ่มขึ้นได้อีก นั่นคือความน่ากลัวของสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว Extreme Weather ที่ไทยกำลังเผชิญ ทั้งปีนี้โดนตั้งแต่เหนือสุด (แม่สาย) จนถึงใต้สุด (ยะลา) ฝนตกภาคใต้ในช่วงนี้เป็นประจำทุกปี แต่โลกร้อนทำให้น้ำในทะเลระเหยมากขึ้น อากาศยิ่งร้อนเพิ่มทุก 1 องศา จุไอน้ำเพิ่ม 7% เมฆยุคโลกร้อนจึงเต็มไปด้วยน้ำ

ดร.ธรณ์ ยังย้้ำสถิติที่มาจากการเก็บข้อมูลเรื่องฝน ปกติจะตกในช่วงเวลาเท่าๆ เดิม แต่ปริมาณน้ำจากฟ้ามากกว่าเดิม จะเห็นข่าวว่าปริมาณน้ำฝนสะสมหลายแห่งเกิน 300 มม. เยอะมากจนผิดปกติ เมื่อมองไปข้างหน้าจึงมี 3 เรื่องน่าห่วงในยุคโลกร้อน

  1. extreme weather คือความเสี่ยงอันดับ 1 ของโลกต่อจากนี้ไปอีกอย่างน้อย 10 ปี (World Economic Forum)
  2. ฝนในลักษณะนี้จะเกิดบ่อยขึ้นเรื่อยๆ คำว่าฝนหนักในรอบ 30-50 ปี จะกลายเป็นฝนปรกติเจอกันแทบทุกปี โดยเฉพาะเมืองไทยที่อยู่ในเขตเจอฝนโลกร้อนหนักขึ้น (IPCC)
  3. ไทยติด TOP10 ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโลกร้อนรุนแรงสุดในเรื่องฝน/น้ำท่วม

สถานการณ์ที่เจอตลอดปี นักวิชาการชี้เป้าเลยว่าต่อจากนี้แค่เยียวยาคงไม่พอ ต้องยกระดับในทุกด้านเพื่อรับมือภัยพิบัติ ความรู้ในโรงเรียน ความรู้ในโลกออนไลน์ การติดตามข่าวสาร พื้นที่เสี่ยง เตือนภัย ซ้อมรับมือ จนถึงการวางแผนเอาตัวรอดด้วยตัวเอง

Advertisements

“มีเพื่อนธรณ์บางท่านย้ายรถไปจอดในที่สูงตั้งแต่เมื่อวาน วันนี้น้ำท่วมโรงรถหมดแล้ว แต่รถรอด นั่นคือตัวอย่างง่ายๆ”

การร้องขอความช่วยเหลือในนาทีฉุกเฉิน ในยามที่ทุกอย่างวุ่นวายไปหมด เป็นเรื่องยากที่ความช่วยเหลือจะมาได้ดังใจ ดังนั้นต้องพยายามเตรียมการไว้ล่วงหน้าตั้งแต่แม่สายจนถึงยะลา คำว่า “ไม่เคยพบเคยเห็น” เป็นคำปรกติไปแล้วในยุคโลกร้อน ยังมีอีกหลายอย่างที่คาดไม่ถึง

ที่น่าตกใจ คือ สัญญาจากธรรมชาติ ซึ่งตัวของ ด.ธรณ์ถึงกับยอมรับว่าตัวเอง “ไม่เคยพบเคยเห็น” ปะการังตายขนาดนี้ เม่นทะเลหายเหี้ยน หญ้าทะเลพินาศเป็นหมื่นๆ ไร่ พะยูนตายปีละ 40 ตัว ยังมีอีกหลาย “ไม่เคยพบเคยเห็น” ที่จะได้พบได้เห็นในยุคที่ก๊าซเรือนกระจกจากมนุษย์พุ่งขึ้นฟ้าเรื่อยๆ ไม่ยอมหยุด สร้างสถิติใหม่ทุกปี ขณะที่ทุกคนฝันเฟื่องถึง Net Zero ( การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์) ในอีก 30-40 ปีข้างหน้า ส่งกำลังใจให้ชาวใต้ตอนล่างทุกท่านคงต้องเผชิญกับฝนอีกหลายวัน ดูแล้วสถานการณ์น่าห่วง.

น้ำท่วมยะลาวันนี้ 28 พฤศจิกายน 2567
ภาพ @กรมประชาสัมพันธ์
น้ำท่วมหาดใหญ่
ภาพ @กรมประชาสัมพันธ์
น้ท่สมภาคใต้ ยะลา รถจมเกือบมิดคัน
ภาพ Facebook @Shaychaidantai
น้ำท่วมยะลา มุมสูง 2567
ฝนกระหน่ำยะลาวันที่สองกระทบ 5 อำเภอ ประชาชนเดือดร้อน 107,741 คน ขณะที่น้ำโอบล้อมตัวเมือง ผู้ว่าฯ เร่งสั่งการอพยพช่วยเหลือประชาชนด่วน (ภาพ @PRD.PrYala).

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button