1 ปีมีครั้งเดียว คืนดาวพฤหัสใกล้โลกที่สุด กิจกรรมดูดาวกลางกรุง 2567 พบกับคาราวานกล้องโทรทรรศน์ และกิจกรรมฟดาราศาสตร์สุดพิเศษจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ลงทะเบียน ไฮไลท์ เช็กข้อมูลการเดินทาง
วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม 2567 ที่จะถึงนี้ NARIT (สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชิต) ร่วมกับ ททท. และหน่วยงานพันธมิตร ชวนคนกรุงเปิดประสบการณ์ชม ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี กับกิจกรรม ดูดาวกลางกรุง 2567 (Starry Night over Bangkok 2024) ณ สวนเบญจกิติ กรุงเทพฯ เวลา 17:00 – 22:00 น ปรากฏการณ์นี้ห้ามพลาด 1 ปีมีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
ไฮไลท์งานดูดาวกลางกรุง 2567
ผู้ร่วมงานจะได้สังเกตการณ์ดาวพฤหัสบดีที่สว่างเด่นบนท้องฟ้าทางทิศตะวันออก พร้อมรายละเอียดที่น่าตื่นตาตื่นใจ เช่น แถบเมฆ จุดแดงใหญ่ และดวงจันทร์กาลิเลียนทั้ง 4 ดวง ผ่านคาราวานกล้องโทรทรรศน์กว่า 100 ตัว จาก NARIT และเครือข่ายพันธมิตร อีกทั้งยังสามารถชมวัตถุท้องฟ้าอื่น ๆ เช่น ดวงจันทร์ ดาวศุกร์ ดาวเสาร์ และดาวอังคารได้ตลอดคืน
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมดาราศาสตร์หลากหลาย อาทิ ถ่ายภาพดวงจันทร์และดาวเคราะห์ด้วยมือถือ รู้จักกลุ่มดาวผ่านแอปพลิเคชัน “NAPA” สำรวจธรรมชาติกลางคืนกับกิจกรรม Night Nature Walk และสนุกกับ Glow in the Dark ตลอดจนทอล์กพิเศษ “มหัศจรรย์ดาวพฤหัสบดี” โดยนักดาราศาสตร์
ปรากฏการณ์ ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุด
ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะและมีความสำคัญในด้านดาราศาสตร์อย่างมาก หนึ่งในปรากฏการณ์ที่น่าสนใจที่สุดคือเมื่อดาวพฤหัสบดีเข้าใกล้โลกที่สุดในปี จะเกิดขึ้นทุก ๆ 13 เดือน ซึ่งเกิดขึ้นในปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Opposition” เมื่อโลกอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์และดาวพฤหัสบดี ดาวพฤหัสบดีจะอยู่ใกล้โลกที่สุดในวงโคจร ประมาณ 590 ล้านกิโลเมตร และจะสว่างที่สุดบนท้องฟ้า ทำให้สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าในช่วงเวลาดังกล่าว
ในช่วง Opposition นี้ ผู้ที่สังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์จะเห็นลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของดาวพฤหัสบดี เช่น จุดแดงใหญ่ (Great Red Spot) ซึ่งเป็นพายุขนาดยักษ์ที่ใหญ่กว่าขนาดของโลก รวมถึงแถบเมฆที่หมุนวนรอบดาว และดวงจันทร์กาลิเลียนทั้ง 4 ดวง คือ ไอโอ (Io), ยูโรปา (Europa), แกนีมีด (Ganymede) และคัลลิสโต (Callisto) ที่โคจรรอบดาวพฤหัสบดี
ปรากฏการณ์นี้ถือเป็นโอกาสพิเศษสำหรับนักดาราศาสตร์และผู้ที่ชื่นชอบการดูดาว เพราะดาวพฤหัสบดีจะสว่างที่สุดและสามารถมองเห็นได้ชัดเจนในรอบปี ทำให้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ หรือแม้แต่กล้องส่องทางไกลจากที่บ้าน และยังเป็นช่วงที่ดีที่สุดในการสำรวจและศึกษาลักษณะทางกายภาพของดาวพฤหัสบดีและดวงจันทร์ของมัน
ลงทะเบียนร่วมงาน ติดตามข่าวสาร
ผู้สนใจเข้าร่วมงานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย (ผู้ลงทะเบียนล่วงหน้า รับของที่ระลึกบริเวณหน้างานได้ก่อน 20:00 น. หรือจนกว่าของจะหมด)
- ลงทะเบียนออนไลน์ทาง Google Form (คลิ๊กที่นี่)
- เว็บไซต์กิจกรรม Starry Night over Bangkok 2024
- เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
- สอบถามรายละเอียดกิจกรรม โทร. 081-8854353 (NARIT) (ในวัน-เวลาราชการ)
- สอบถามการเดินทางและสถานที่ โทร. 02-2541263 (สวนเบญจกิติ) (ในวัน-เวลาราชการ)
การเดินทาง
สวนป่าเบญจกิติตั้งอยู่ที่ 184 ถนนพระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 ใกล้กับศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สามารถเดินทางมาได้หลากหลายวิธี ดังนี้
การเดินทางด้วย BTS ไปสวนเบญจกิติ สามารถเดินทางได้สะดวกโดยลงที่สถานีอโศก ลงทางออกที่ 4 เดินต่อประมาณ 500 เมตรก็จะถึงทางเข้าสวน
การเดินทางด้วย MRT ลงที่สถานีสุขุมวิท ออกทางออกที่ 3 ซึ่งเชื่อมกับ BTS อโศก เดินต่ออีกเล็กน้อยก็จะถึงทางเข้าสวน
การเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง ใช้บริการรถประจำทางสาย 45, 46, 109, 115, 116, 136 หรือรถปรับอากาศสาย ปอ.22, ปอ.40, ปอ.185, และ ปอ.507 ลงที่จุดใกล้สวนและเดินเข้าถึงได้ง่าย
ผู้ที่เดินทางด้วยรถส่วนตัวและจักรยานยนต์ มีลานจอดรถให้บริการ สามารถเข้าได้ทางประตูถนนรัชดาภิเษกเท่านั้น โดยขับเลยศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ไปแล้วขับเลียบรั้วสวน ขนานบ่อน้ำไปเรื่อย ๆ ทางเข้าจะอยู่สุดทาง เป็นลานจอดรถกลางแจ้ง
- แผนที่ Google Maps
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- สรุปทุกเรื่องต้องรู้ วันตรุษจีน 2568 เช็กปฏิทิน จ่าย-ไหว้-เที่ยว หยุดกี่วัน ขอพรยังไงบ้าง
- รู้จัก ลูกจ้างท้ายที่นั่ง ตำแหน่ง พ่อบ้านประจำพระตำหนัก คืออะไร
- โปรแกรมแชมเปี้ยนส์ ลีก 2024/25 แบบลีก นัดที่ 5 พร้อมช่องดูบอลสด 26-27 พ.ย. 2567
อ้างอิง: NARIT