การเงินเศรษฐกิจ

เช็กปีเกิด ลงทะเบียนผู้สูงอายุ ได้เบี้ยยังชีพไม่เท่ากัน ใครมีสิทธิบ้าง

เช็กเลย ผู้ประสงค์ลงทะเบียนเบี้ยยังชีพผู้สูง ต้องมีอายุ 60 ปี และเกิดก่อน 2 กันยายน 2509 ได้รับเบี้ยแบบขั้นไดตามช่วงอายุ แนะนำขั้นตอน และสถานที่ลงทะเบียน

กรมกิจการผู้สูงอายุ ประกาศ เปิดลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ หรือเบี้ยคนชรา ผู้ที่มีอายุครบ 60 ปีที่เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2509 จึงจะมีสิทธิลงทะเบียนรับเบี้ยผู้สูงอายุรอบใหม่ได้ ซึ่งในแต่ละช่วงอายุจะรับจำนวนเงินไม่เท่ากัน ปัจจุบันการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นแบบขั้นไดตามช่วงอายุ คือ

Advertisements
  • อายุ 60 – 69 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 600 บาท
  • อายุ 70 – 79 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 700 บาท
  • อายุ 80 – 89 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 800 บาท
  • อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 1,000 บาท

สำหรับการคำนวณอายุของผู้สูงอายุรายเดิม จะคำนวณตามปีงบประมาณ โดยการเลื่อนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุรายเดิมแบบขั้นบันไดจะเลื่อนตามปีงบประมาณ ไม่มีการเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในระหว่างปีงบประมาณ

ลงทะเบียนที่ไหน เตรียมเอกสารใดบ้าง

ผู้ประสงค์จะลงทะเบียนต้องมีคุณสมบัติครบทุกข้อ ได้แก่ มีคนสัญชาติไทยที่อายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และเกิดก่อนวันที่ 2 ก.ย. 2509 ซึ่งไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิ ประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับเงินบํานาญ เบี้ยหวัด บํานาญพิเศษหรือ เงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน และผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งผู้ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจํา หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐหรือองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้เป็นประจํา ต้องเตรียมเอกสารไปลงทะเบียน ดังนี้

1. บัตรประจําตัวประชาชน หรือ บัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ ที่มีรูปถ่าย

2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน โดยต้องเป็นภูมิลำเนาปัจจุบัน

3. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ในนามผู้มีสิทธิหรือผู้ได้รับมอบอํานาจ จากผู้มีสิทธิ กรณีประสงค์รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร

Advertisements

จากนั้นติดต่อลงทะเบียนได้ที่สํานักงานเขต หรือองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่ผู้สูงอายุมีภูมิลําเนา ในกรณีผู้สูงอายุไม่สามารถมาลงทะเบียนด้วยตนเองได้ สามารถมอบอํานาจเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคําขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทนได้

ส่วนผู้ที่ต้องการย้ายภูมิลำเนานั้น ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ระบุว่าผู้สูงอายุที่มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ตนมีภูมิลําเนาอยู่ ต่อมาผู้สูงอายุย้ายภูมิลําเนาไปอยู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ให้ผู้สูงอายุไปลงทะเบียนและยื่นคําขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่ นับตั้งแต่วันที่ย้ายแต่ไม่เกินเดือนพฤศจิกายนของปีนั้น ๆ

สำหรับช่วงเวลาการเปิดลงทะเบียนนั้นสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน 2567 และช่วงที่ 2 คือ เดือนมกราคม ถึง กันยายน 68 โดยผู้ที่ลงทะเบียนเสร็จสิ้นแล้วจะได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในเดือนตุลาคม 2568 เป็นต้นไป โดยไม่มีการจ่ายเงินย้อนหลัง

ทั้งนี้ ผู้สูงอายุจะได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่ในปีงบประมาณถัดไป ในระหว่างปีงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดิมที่จ่าย เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุอยู่ ยังคงจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อไปจนกว่าจะสิ้นปีงบประมาณ

หากผู้สูงอายุมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ทางหน่วยงานที่ลงทะเบียนรับ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไว้ โดยในกรุงเทพมหานครสามารถสอบถามได้ที่สำนักงานเขต ส่วนต่างจังหวัดสอบถามได้ที่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในท้องถิ่น หรือติดต่อ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เบอร์ 02-2419000 ต่อ 4131

ข้อมูลจาก : กรมกิจการผู้สูงอายุ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

sukanlaya s.

นักเขียนบทความ SEO ประจำเว็บไซต์ The Thaiger จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชี่ยวชาญงานเขียนประเภท ข่าวกระแสสังคม และบทความไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็น รีวิวที่เที่ยว เทรนด์แฟชั่นและความงาม พร้อมแนะนำกระแสมาแรง ทันเหตุการณ์ ช่องทางติดต่อ ying@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button