จบปริศนา 136 ปี เผยโฉมหน้าแท้จริง Jack the Ripper จากเทคโนโลยีด้านดีเอ็นเอ
เผยโฉมหน้าที่แท้จริงของ Jack the Ripper ฆาตรกรผู้โด่งดังในอดีต จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านดีเอ็นเอ พร้อมปิดฉากปริศนา 136 ปี
การเปิดเผยตัวจริงของ แจ็ค เดอะ ริปเปอร์ (Jack the Ripper) ยังคงเป็นปริศนามาตั้งแต่ที่เขาสร้างเหตุสะเทือนขวัยในปลายศตวรรษที่ 19 ในย่านไวท์แชปเพิล กล่งกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พร้อมด้วยข้อสันนิษฐานต่างๆ บ้างก็ว่าเขาคือ พระราชนัดดาของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย บ้างก็ว่าเป๋นจิตรกรคนดังชาวฝรั่งเศส นอกจากยังมีบุคคลอีกมากมายที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นฆาตรกรต่อเนื่อง แต่ไม่ว่าตัวจริงของเขาจะเป็น แต่ในตอนนี้เขาก็คงลาโลกนี้ไปนานแล้ว
สิ่งที่ทำให้ แจ็ค เดอะ ริปเปอร์ เป็นที่กล่าวขวัญก็คือ ความโหดเหี้ยมที่เขากระทำต่อเหยื่อ 5 ราย ที่ล้วนแต่ถูกฆาตกรรมอย่างทารุณ สร้างความสะพรึงกลัวไปทั่วกรุงลอนดอนในช่วงยุควิกตอเรีย และยังคงถูกกล่าวขานมาจนถึงทุกวันนี้ โดยเหยื่อทั้ง 5 คนของเขาคือ แมรี เจน เคลลี, แมรี แอน นิโคลส์, แอนนี แชปแมน, เอลิซาเบธ สไตรด์ และ แคทเธอรีน เอ็ดโดวส์ ซึ่งหลักฐานจากหนึ่งในเหยื่อที่ได้กล่าวไป ทำให้มีการอ้างว่าพวกเขาสามารถเปิดเผยตัวตนของฆาตกรรายนี้ได้แล้ว
เหยื่อรายที่ 4 ของแจ็ค เดอะ ริปเปอร์ คือ แคทเธอรีน เอ็ดโดวส์ ถูกพบเป็นศพในวันที่ 30 กันยายน ปี 1888 ซึ่งเป็นในคืนเดียวกันกับที่เขาสังหาร เอลิซาเบธ สไตรด์ อีกด้วย ซึ่งในที่เกิดเหตุฆาตกรรมเอ็ดโดวส์ มีผ้าคลุมไหล่ผืนหนึ่งซึ่งถูกนำกลับบ้านโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจนายหนึ่ง ซึ่งต่อมาผ้าคลุมไหล่ผืนนี้ถูกนำไปประมูล และรัสเซลล์ เอ็ดเวิร์ดส์ เป็นผู้ซื้อไป ก่อนที่เขาจะนำผ้าคลุมไหล่ผืนนั้นไปตรวจสอบดีเอ็นเอ ซึ่งพบว่ามีคราบเลือดและคราบอสุจิอยู่บนผ้า โดยคราบเลือดนั้นตรงกับดีเอ็นเอ ของลูกหลานของเอ็ดโดวส์
อ้างอิงรายงานจาก The Mirror เอ็ดเวิร์ดส์กล่าวว่า คราบอสุจินั้นตรงกับดีเอ็นเอของญาติห่างๆ ของ แอรอน คอสมินสกี หนึ่งในผู้ต้องสงสัยหลักใที่จะเป็น แจ็ค เดอะ ริปเปอร์
เอ็ดเวิร์ดส์ เขียนหนังสือชื่อ Naming Jack the Ripper ซึ่งเขาระบุว่า คอสมินสกี คือ ฆาตกรต่อเนื่องชื่อกระฉ่อนรายนี้ และตอนนี้เขามีหนังสือเล่มใหม่ออกมาชื่อ Naming Jack the Ripper: The Definitive Reveal โดยในหนังสือเล่มนี้ เขาได้ชี้ตัว คอสมินสกี อีกครั้ง โดยอ้างว่าตำรวจเชื่อว่าเขามีความเกลียดชังผู้หญิงอย่างมาก โดยเฉพาะโสเภณี และมีแนวโน้มที่จะฆ่าคนอย่างรุนแรง
อย่างไรก็ตาม ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวนั้นก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยในปี 2014 แอนดรูว์ สมิธ ผู้เชี่ยวชาญด้านคดีแจ็ค เดอะ ริปเปอร์ ได้กล่าวว่า การจะไขคดีนี้ได้นั้น เราต้องการหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่มีอยู่จริง และ เป็นไปได้ยากมากที่หลักฐาน หรือ ดีเอ็นเอ ใดๆ บนผ้าคลุมไหล่จะไม่ปนเปื้อน หลังจากเวลาผ่านไปนานหลายปี ในขณะที่ มิค รีด จากมหาวิทยาลัยนิวอิงแลนด์ เขียนใน The Conversation ว่า ความถูกต้องของผ้าคลุมไหล่ยังเป็นที่น่าสงสัย และคดีนี้ก็ยังคงเป็นปริศนาที่รอการคลี่คลายต่อไป
เอ็ดเวิร์ดส์ ได้ขอให้ ดร.จารี โลเฮไลเนน จากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล จอห์น มัวร์ส ทำการวิเคราะห์ทางนิติวิทยาศาสตร์บนผ้าคลุมไหล่ แต่ในช่วงเวลาของการตรวจสอบดีเอ็นเอเป็นครั้งแรก หนังสือพิมพ์ดิอินดิเพนเดนท์รายงานว่า ผู้เชี่ยวชาญจำนวนหนึ่งกล่าวว่า มีข้อผิดพลาดร้ายแรงเกี่ยวกับดีเอ็นเอ
พวกเขาอ้างว่า เขาทำผิดพลาดในการตั้งชื่อ ซึ่งหากแก้ไขแล้วดีเอ็นเอนั้นจะเชื่อมโยงกับคนเชื้อสายยุโรปมากกว่า 99 เปอร์เซ็นต์
อ้างอิง : www.ladbible.com
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ล่าสามีภรรยาอินเดีย หลอกขาย ‘ไทม์แมชชีน’ ช่วยย้อนวัย เหยื่อเพียบ
- รวบ 2 พ่อค้ามาเลย์ ขายพรมเช็ดเท้าลายมัสยิด ส่อผิดกฎหมาย หมิ่นความเชื่อ
- ระทึก 44 ชีวิต รถบัสนักเรียนไอร์แลนด์เหนือ พลิกคว่ำไถลลงข้างทาง