เช็กปฏิทิน 3 กลุ่มเปราะบาง เตรียมรับเงินอุดหนุนบุตร, เบี้ยคนพิการ และเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ในวันที่ 10 กันยายนนี้
กระทรวงการคลัง จะทำการโอนเงินเข้าบัญชี 3 กลุ่มเปราะบาง ซึ่งจะได้รับเงินอุดหนุนในวันที่ 10 ก.ย. 67 ประกอบไปด้วยเงินอุดหนุนบุตร, เบี้ยคนพิการ และเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยมีรายละเอียด เงื่อนไข และวิธีการเช็กสิทธิ์ดังนี้
ช่องทางตรวจสอบสิทธิ์
1. แอปพลิเคชัน “เงินเด็ก”
ช่องทางดาวน์โหลดแอปฯ เงินเด็ก ระบบปฏิบัติการ แอนดรอย (Android)
ช่องทางดาวน์โหลดแอปฯ เงินเด็ก ระบบปฏิบัติการ ไอโอเอส (iOS)
2. แอปพลิเคชัน “ทางรัฐ”
ช่องทางดาวน์โหลดแอปฯ ทางรัฐ ระบบปฏิบัติการ แอนดรอย (Android)
ช่องทางดาวน์โหลดแอปฯ ทางรัฐ ระบบปฏิบัติการ ไอโอเอส (iOS)
เงินอุดหนุนบุตร
โครงการเงินอุดหนุนบุตรเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด จะทำการโอนเข้าบัญชีในวันอังคารที่ 10 กันยายน 2567 ยึดหลักเกณฑ์จ่ายเงินเข้าบัญชีทุกวันที่ 10 ของเดือน กรณีวันโอนเงินตรงกับวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดข้าราชการประจำปี จะปรับไปโอนเข้าบัญชีล่วงหน้าก่อนวันหยุด มีรายละเอียดการโอนเงินดังนี้
- เงินอุดหนุนบุตร ตั้งแต่เด็กแรกเกิด – เด็กอายุ 6 ขวบ
- โอนเงิน คนละ 600 บาทต่อเดือน
- จัดสวัสดิการให้กับเด็กแรกเกิด ที่อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อคน ต่อครัวเรือน ไม่เกิน 100,000 บาท
คุณสมบัติผู้ปกครองที่มีสิทธิรับเงินอุดหนุนบุตร
- เป็นบิดา มารดา หรือ บุคคลอื่นที่เป็นผู้เลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
- เด็กแรกเกิดต้องอาศัยรวมอยู่ด้วย
- อาศัยอยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท/คน/ปี
- ผู้ปกครองจะต้องมีบัญชีที่ผูกบริการพร้อมเพย์ด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชน
เงื่อนไขเด็กแรกเกิด
- เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี มีสัญชาติไทย
- อาศัยอยู่กับผู้ปกครองในครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท/คน/ปี
- ต้องไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของหน่วยงานรัฐและเอกชน
พิกัดลงทะเบียนรับเงินอุดหนุนบุตร
- กรุงเทพมหานคร ลงทะเบียนได้ที่สำนักงานเขต
- เมืองพัทยา ลงทะเบียนได้ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา
- ส่วนภูมิภาค ลงทะเบียนได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล
เอกสารสำหรับลงทะเบียนรับเงินอุดหนุนบุตร
1. แบบคำร้องขอลงทะเบียน (ดร.01)
2. แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02)
3. สูติบัตรเด็กแรกเกิด
4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครอง
5. ใบรับรองเงินเดือน หรือหนังสือรับรองรายได้ ของสมาชิกในครัวเรือนทุกคนที่ประกอบอาชีพ เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือ พนักงานบริษัท
5. สำเนาเอกสาร หรือบัตรข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ บัตรแสดงสถานะหรือตำแหน่ง หรือเอกสารอื่นใด ที่แสดงตนของผู้รับรองคนที่ 1 และผู้รับรองคนที่ 2
จากนั้นเมื่อผู้ปกครองลงทะเบียนยืนยันตัวตนเรียบร้อยแล้วต้องพิสูจน์และยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชั่น ThaiD ของกรมการปกครองก่อนรับเงินผ่านแอปพลิเคชั่น “เงินเด็ก” ทั้งนี้เมื่อตรวจสอบสิทธิเสร็จสิ้นแล้วจะได้รับเงินอุดหนุนตั้งแต่เดือนที่ลงทะเบียน
ปฏิทินการจ่ายเงินอุดหนุนบุตร ประจำปี 2567 เข้าวันไหนบ้าง
- มกราคม 2567 วันพุธที่ 10 มกราคม 2567
- กุมภาพันธ์ 2567 วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567
- มีนาคม 2567 วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2567
- เมษายน 2567 วันพุธที่ 10 เมษายน 2567
- พฤษภาคม 2567 วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2567
- มิถุนายน 2567 วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2567
- กรกฎาคม 2567 วันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2567
- สิงหาคม 2567 วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2567
- กันยายน 2567 วันอังคารที่ 10 กันยายน 2567
เบี้ยผู้สูงอายุ
โครงการเบี้ยผู้สูงอายุ จะทำการโอนเข้าบัญชีในวันอังคารที่ 10 กันยายน 2567 ยึดหลักเกณฑ์จ่ายเงินเข้าบัญชีทุกวันที่ 10 ของเดือน กรณีวันโอนเงินตรงกับวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดข้าราชการประจำปี จะปรับไปโอนเข้าบัญชีล่วงหน้าก่อนวันหยุด โดยรัฐบาลช่วยเหลือผู้สูงอายุ จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจำนวนเงิน 600 – 1,000 บาท ตามเกณฑ์อายุ ดังนี้
- อายุ 60 – 69 ปี ได้รับ 600 บาท/เดือน
- อายุ 70 – 79 ปี ได้รับ 700 บาท/เดือน
- อายุ 80 – 89 ปี ได้รับ 800 บาท/เดือน
- อายุ 90 ปี ขึ้นไป ได้รับ 1,000 บาท/เดือน
ลงทะเบียนผู้สูงอายุ 2567 – 2568 ต้องทำยังไงบ้าง
คนไทยที่จะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ในปีนี้ เงื่อนไขว่าต้องเกินก่อนวันที่ 2 กันยายน 2508 จะสามารถลงทะเบียนรับเบี้ยคนชราของปีงบประมาณ 2568 ได้ โดยกรมบัญชีกลางเปิดให้ลงทะเบียนระหว่าง เดือนมกราคม ถึง เดือนกันยายน 2567
เมื่อลงทะเบียนผ่าน จะได้เงินเบี้ยยังชีพในเดือนถัดไปหลังจากมีอายุครบ 60 เช่น ถ้าอายุถึงตอนเดือนมีนาคม 2568 จะได้เบี้ยยังชีพงวดแรกในเดือน เมษายน 2568
คุณสมบัติผู้มีสิทธิลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพ
1. มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 คือ ต้องเกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2508 (สำหรับผู้ที่ทราบแค่ปีเกิด แต่ไม่ทราบวันเกิด/เดือนเกิด ให้ถือว่าเกิดวันที่ 1 มกราคม ของปีนั้น ๆ)
2. มีสัญชาติไทย
3. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขต สำนักงานเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ตามทะเบียนบ้าน
4. ไม่เคยลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุมาก่อน ยกเว้นกรณีเพิ่งย้ายภูมิลำเนามาใหม่ สามารถมาลงทะเบียนใหม่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตามทะเบียนบ้านใหม่ได้ เช่น เคยลงทะเบียนรับเบี้ยผู้สูงอายุที่จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่ปีนี้ย้ายทะเบียนมาอยู่จังหวัดชลบุรี ก็ให้มาลงทะเบียนใหม่ที่จังหวัดชลบุรี
5. ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ อปท. อาทิ เงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ รวมถึงเงินอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน เช่น ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐจัดให้เป็นประจำ (ยกเว้นผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์)
ปฏิทินการจ่ายเงินอุดหนุน ผู้สูงอายุ ประจำปี 2567 เข้าวันไหนบ้าง
- มกราคม 67 วันพุธที่ 10 มกราคม 2567
- กุมภาพันธ์ 67 วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567
- มีนาคม 67 วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2567
- เมษายน 67 วันพุธที่ 10 เมษายน 2567
- พฤษภาคม 67 วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2567
- มิถุนายน 67 วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2567
- กรกฎาคม 67 วันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2567
- สิงหาคม 67 วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2567
- กันยายน 67 วันอังคารที่ 10 กันยายน 2567
- ตุลาคม 67 วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567
- พฤศจิกายน 67 วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2567
- ธันวาคม 67 วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2567
เบี้ยผู้พิการ
สำหรับผู้สูงที่มีอายุตั้งแต่ 60 ขึ้นไปที่ลงทะเบียนรับเงินเรียบร้อยแล้ว จะได้รับเงินเข้าบัญชีในวันอังคารที่ 10 กันยายน 2567 ยึดหลักเกณฑ์จ่ายเงินเข้าบัญชีทุกวันที่ 10 ของเดือน กรณีวันโอนเงินตรงกับวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดข้าราชการประจำปี จะปรับไปโอนเข้าบัญชีล่วงหน้าก่อนวันหยุด
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยความพิการ
- มีสัญชาติไทย
- มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามทะเบียนบ้าน
- มีบัตรประจำตัวคนพิการ
- ไม่เป็นบุคคลที่อยู่ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์ของรัฐ
หลักฐานขอรับเงินเบี้ยความพิการ
ประชาชนผู้พิการท่านใดที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขได้รับสิทธิ สามารถเตรียมหลักฐานยื่นขอเบี้ยคนพิการได้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. บัตรประจำตัวคนพิการ (ตัวจริง)
2. ทะเบียนบ้าน (ตัวจริง)
3. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร สำหรับกรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยความพิการประสงค์ขอรับเงินเบี้ยความพิการผ่านธนาคาร ในการยื่นคำขอลงทะเบียนรับเงินเบี้ยความพิการ คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการจะต้องแสดงความประสงค์ขอรับเงินเบี้ยความพิการโดยรับเงินสดด้วยตนเอง หรือโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี
สถานที่ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ
- สถานที่ยื่นคำขอทำบัตรคนพิการ กรุงเทพมหานคร
ฝ่ายสังคมสงเคราะห์งานเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศิริราช, ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี, โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
- สถานที่ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการต่างจังหวัด
โรงพยาบาลประจำจังหวัด หรืออำเภอ ที่มีศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จในโรงพยาบาล, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานของรัฐอื่นตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด
สถานที่ทำบัตรคนพิการ
- กรุงเทพมหานคร
- ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
- โรงพยาบาลสิรินธร
- โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
- สถาบันราชานุกูล
- โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
- โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
- ศูนย์บริการคนพิการสายไหม เคหะเอื้ออาทรสายไหม
- สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)
- ศูนย์บริการคนพิการประจำจังหวัด
ปฏิทินการจ่ายเงินอุดหนุน ผู้พิการ ประจำปี 2567 เข้าวันไหนบ้าง
- มกราคม 67 วันพุธที่ 10 มกราคม 2566
- กุมภาพันธ์ 67 วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567
- มีนาคม 67 วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2567
- เมษายน 67 วันพุธที่ 10 เมษายน 2567
- พฤษภาคม 67 วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2567
- มิถุนายน 67 วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2567
- กรกฎาคม 67 วันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2567
- สิงหาคม 67 วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2567
- กันยายน 67 วันอังคารที่ 10 กันยายน 2567
- ตุลาคม 67 วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567
- พฤศจิกายน 67 วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2567
- ธันวาคม 67 วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2567
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ให้กลุ่มเปราะบางทันที หลังได้รัฐบาลใหม่ ก.ย. นี้
- บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กลุ่มเปราะบางรับเงินดิจิทัล 10,000 ต้องลงทะเบียนไหม
- ดิจิทัลวอลเล็ต คนมีสมาร์ทโฟนลงทะเบียนได้ถึงวันไหน กลุ่มเปราะบางเงินเข้า ก.ย.