อีเว้นท์ไลฟ์สไตล์

คำถามวันภาษาไทยแห่งชาติ 2567 พร้อมเฉลย ท้าทายคลังคำภาษาไทย

เนื่องในโอกาสวันภาษาไทยแห่งชาติ 29 กรกฎาคม 2567 ร่วมรำลึกคุณค่าของภาษาไทยอันเป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษ และเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาวัฒนธรรมไทยให้ดำรงอยู่จนทุกวันนี้ หลายโรงเรียนจึงได้จัดกิจกรรมแข่งขันตอบคำถามวันภาษาไทยขึ้น ในบทความนี้ทีมงานไทยเกอร์ได้รวบรวมแนวคำถาม วันภาษาไทยแห่งชาติ พร้อมเฉลย มาให้น้องนักเรียนได้ทบทวนความรู้ เตรียมตัวไปแข่งขันชิงรางวัลบนเวที

กิจกรรมวันภาษาไทย แนวคำถาม 2567

Advertisements

คำถาม : “เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้” เป็นพระราชดำรัสของรัชกาลใด

คำตอบ : เป็นพระราชดำรัสของรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานและทรงอภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คำไทย” ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505

คำถาม : กษัตริย์พระองค์ใดทรงประดิษฐ์ลายสือไทย

คำตอบ : พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ลายสือไทยหรือตัวหนังสือไทยขึ้นเมื่อมหาศักราช 1205 หรือ พ.ศ. 1826

คำถาม : สุนทรภู่เป็นบุคคลสำคัญในวงการภาษาไทยอย่างไร

Advertisements

คำตอบ : สุนทรภู่เป็นกวีเอกของไทย ผู้สร้างสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าทางวรรณกรรมและภาษาไทย เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศเมืองแกลง พระอภัยมณี

แนวคำถามพร้อมเฉลย วันภาษาไทยแห่งชาติ 29 ก.ค. 67

คำถาม : ภาษาไทยเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาอะไร

คำตอบ : ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาขร้า-ไท

คำถาม : มาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรามีกี่มาตรา และมีอะไรบ้าง

คำตอบ : มี 4 มาตรา ได้แก่ แม่กน แม่กก แม่กด และแม่กบ

คำถาม : หนังสือแบบเรียนเล่มแรกของไทยมีชื่อว่าอะไร และเกิดขึ้นในสมัยใด

คำตอบ : หนังสือจินดามณี เกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2199 – 2231)

คำถาม : คำว่า “ไก่” มีลักษณะการผันวรรณยุกต์อย่างไร

คำตอบ : เป็นคำตาย (เสียงวรรณยุกต์ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อผันรูป)

กิจกรรมวันภาษาไทย แนวคำถาม 2567

ทั้งนี้ วันภาษาไทยแห่งชาติ เริ่มจัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 มีที่มาจากการที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คำไทย” ในการประชุมวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505

ต่อมา คณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของภาษาไทย จึงได้เสนอให้รัฐบาลประกาศให้วันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ” และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2542

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

yo

First jobber Gen z ใหม่แกะกล่องส่งตรงจาก อักษรศาสตร์ สาขาวิชาปรัชญา มศก. งานอดิเรกชอบท่องโลกออนไลน์ เล่นกับแมว เที่ยวกับครอบครัว อ่านมังงะ เล่นเกม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button