ไลฟ์สไตล์

รู้จัก “จิงโจ้เแดง” จอมกระโดดแห่งทะเลทราย จากทวีปออสเตรเลีย

เปิดข้อมูล จิงโจ้แดง จิงโจ้ที่ใหญ่ที่สุดในสายพันธุ์ ผู้มีหมัดหน้าอันทรงพลังและขาหลังอันมหึมา ประชากรกว่า 10 ล้านตัวในทวีปออสเตรเลีย ในบทความนี้ ทีมงาน Thaiger จะขอพาผู้อ่านทุกท่านไปรู้จักกับต้นกำเนิด ลักษณะ และพฤติกรรม ของจิงโจ้แดงว่ามีอะไรบ้าง อ่านข้อมูลได้ข้างล่างนี้เลย

จิงโจ้แดง สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องที่ใหญ่ที่สุดในโลก

จิงโจ้แดง (Macropus rufus) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องในตัวเมียสำหรับแพร่ขยายพันธุ์และเป็นที่อยู่อาศัยของลูกอ่อน นับเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ในประเภทนี้ และเป็นสัตว์ประจำท้องถิ่นของออสเตรเลีย จัดอยู่ใน แมคโครพอด (Macropod) ถิ่นอาศัยโดยกำเนิดของจิงโจ้แดงนั้นอยู่ที่ออสเตรเลียราว 1 ล้านปีที่แล้ว และมักจะอาศัยอยู่กันเป็นฝูง ที่ทุ่งหญ้าโล่งและทะเลทราย

ลักษณะทั่วไปของจิงโจ้แดง

จิงโจ้แดงมีลำตัวที่ใหญ่ ลักษณะคล้ายชมพู่ ขนาดหัวที่เล็กเมื่อเทียบกับลำตัว พร้อมใบหูแหลมยาว ความยาวจากหัวถึงโคนหางอยู่ในช่วง 1.3-1.6 เมตร ความยาวหางเฉลี่ย 1.2 เมตร จิงโจ้แดงเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่าโดยความยาวหัวรวมลำตัว 85-105 เซนติเมตร ความยาวหาง 65- 85 เซนติเมตร น้ำหนัก 18-40 กิโลกรัม โดยน้ำหนักเพศผู้จะเป็น 2 เท่า ที่ 55– 90 กิโลกรัม

ตัวผู้จะมีสีขนแดงน้ำตาล ส่วนตัวเมียจะมีสีขนที่ออกเทา พร้อมสีขาวบริเวณใต้ลำตัว และแถบขาวและดำอยู่ ซึ่งสีขาวจะอยู่ตั้งแต่มุมปากลากยาวถึงใบหู และขาหลังที่มีขนาดใหญ่ เพื่อเอาไว้ใช้เคลื่อนที่แบบกระโดด พร้อมขาหน้าสั้นคล้ายมือมนุษย์เอาไว้จับอาหารและต่อสู้

ข้อมูล จิงโจ้แดง
ภาพจาก : วิกิพีเดีย

ลักษณะพฤติกรรมและอาหารของจิงโจ้แดง

จิงโจ้แดงนั้นมีพฤติกรรมที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง 2 ถึง 4 ตัว โดยตัวผู้จะเป็นจ่าฝูง และนอนพักผ่อนในตอนกลางวัน หากินในเวลากลางคืน ซึ่งจิงโจ้แดงจะชอบกินหญ้าเป็นอาหารหลัก และพวกใบไม้หรือไม้พุ่มเป็นบางครั้ง

จิงโจ้แดงจะเข้าวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ประมาณ 2 ปี ระยะเวลาตั้งท้องนาน 33 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว โดยจะลูกไว้ที่ถุงหน้าท้อง แต่ถึงแม้จะกล่าวไปว่าออกลูกได้ครั้งละ 1 ตัว ในบางครั้งจิงโจ้แดงจะมีลูกเก็บอยู่ในกระเป๋าหน้าท้องมากกว่า 1 ตัว แล้วแต่พฤติกรรมการผสมพันธุ์ในตัวนั้น ๆ

ประวัติ จิงโจ้แดง

ทั้งนี้ จิงโจ้แดงเป็นสัตว์ในสายพันธุ์ปัจจุบันที่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยจากการสูญพันธุ์ เนื่องจากพฤติกรรมที่อยู่รวมกันหลายตัว ทำให้เอาตัวรอดจากสัตว์นักล่าได้ง่าย และด้วยจำนวนที่เยอะในท้องถิ่น ส่งผลให้การขยายพันธุ์ไม่มีสะดุด

อ้างอิงจาก : องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

yo

First jobber Gen z ใหม่แกะกล่องส่งตรงจาก อักษรศาสตร์ สาขาวิชาปรัชญา มศก. งานอดิเรกชอบท่องโลกออนไลน์ เล่นกับแมว เที่ยวกับครอบครัว อ่านมังงะ เล่นเกม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button