ข่าว

หมอธีระวัฒน์ ย้ำจุดยืนเรื่องวัคซีน ‘ปานเทพ’ หนุน หลังประกาศลาหัวหน้าศูนย์ฯ โรคอุบัติใหม่

ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ย้ำจุดยืนปัดต้านวัคซีนโควิด หลังประกาศลาออกหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ ปานเทพ ชี้เป็นชัยชนะทางอิสรภาพ ในการพูดความจริง พร้อมเดินจัดเสวนาคู่

หลังจากออกมาประกาศ ลาออกจากหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ สำหรับ หมอธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและระบบประสาท ซึ่งให้เหตุผลถึงการยุติบทบาทในฐานะหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ เมื่อวานนี้ (25 เม.ย.) เนื่องจากส่วนหนึ่ง ตัวของคุณหมอเองมีการใช้ชื่อองค์กรให้ความเห็นเรื่องวัคซีน-เรื่องไวรัสตัดต่อพันธุกรรมและเรื่องอื่น ๆ กับสังคม

Advertisements

ศ.นพ. ธีระวัฒน์ ยังอ้างเหตุผลเนื่องจากตนเป็นผู้เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและผู้เชี่ยวชาญทางระบบประสาท ในฐานะกลุ่ม แพทย์และนักวิทยาศาสตร์ที่เห็นชีวิตของประชาชนเป็นที่ตั้ง จึงนำมาซึ่งการตัดสินใจดังกล่าว

ทั้งนี้ หลังประกาศลาอกดังกล่าวของหมอธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ปรากฎบนสื่อโซเชียล ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์ในประด็นนี้จำนวนมาก อาทิ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ที่โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กระบุ การลาออกครั้งนีเของหมอธีระวัฒน์ ไม่ใช่ความพ่ายแพ้ แต่เพื่อชัยชนะทางอิสรภาพในการพูดความจริง โดยทั้งคู่จะเดินหน้าผลักดันกันต่อเกี่ยวกับประเด็นเรื่องวัคซีน โดยจะร่วมจัดเสวนา “อันตรายจากวัคซีนโควิด-19 ร้ายแรงกว่าที่คิด” ณ หอศิลป์กรุงเทพ อีกด้วย

หมอธีระวัฒน์ ลาออก
ภาพ Facebook @thiravat.h
ข่าวหมอธีระวัฒน์ ลาออกหัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่
ภาพ Facebook @thiravat.h

บัญชีเฟซบุ๊ก ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ระบุว่า ตามที่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ได้ตัดสินใจลาออกจากการเป็นศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ด้วยเหตุผลว่า เนื่องจากมีความกังวลจากองค์กร ว่าหมอเอง ทางสังคมมีการใช้ชื่อขององค์กรในการให้ความเห็น เรื่องของวัคซีน /เรื่องของไวรัสตัดต่อพันธุกรรม และเรื่องอื่น ๆ“

ขอให้กำลังใจแด่ ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ได้มีความกล้าหาญและเสียสละในการตัดสินใจครั้งนี้ การตัดสินใจครั้งนี้ไม่ใช่เป็นความพ่ายแพ้ หากแต่เป็นชัยชนะในการประกาศอิสรภาพเพื่อพูดความจริงให้ได้ตรงประเด็นได้มากยิ่งขึ้น ในฐานะ ”ศาสตราจารย์นายแพทย์“ ผู้เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและผู้เชี่ยวชาญทางระบบประสาท และในฐานะ “กลุ่มแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ ที่เห็นชีวิตของประชาชนเป็นที่ตั้ง

การลาออกครั้งนี้ไม่ได้ทำให้การทำหน้าที่ของศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑาหายไป เพราะวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต จะยังคงเดินหน้าและเคียงข้างในการนำเสนอความจริงและทางออกให้กับประเทศ ร่วมกับศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ต่อไป

Advertisements

การจัดกิจกรรมระหว่างมหมอธีระวัฒน์กับวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก ม.รังสิต จะยังคงเดินหน้าต่อไปในทางวิชาการเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ด้วยความจริงที่เข้มข้นกว่าเดิม ดังนั้นจึงจะขอแจ้งตัดชื่อหรือโลโก้ในภาพการประชาสัมพันธ์ ที่เกี่ยวข้องกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โดยได้นำแถบดำมาปิดโลโก้ทั้งหมดด้านล่างเอาไว้แล้ว

สำหรับการจัดเสวนาที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 นี้ คงเหลือแต่ “วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต”เท่านั้น ที่จะเป็นเจ้าภาพในการจัดงานนี้เอง

หมอธีระวัฒน์ ปานเทพ เสวนาเรื่องโควิด
ภาพ Facebook @ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

ด้านความเคลื่อนไหวล่าสุดบนบัญชีเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ได้โพสต์ข้อความว่า “เมื่อพูดถึงผลกระทบของวัคซีนไม่ได้หมายความว่าต่อต้าน ทุกคนฉีดหมด หมอเองก็ฉีดสี่เข็ม SV SV AZ MDN (ชั้นผิวหนัง) และสนับสนุนให้ฉีดเข็มสาม แต่เมื่อพบผลกระทบซึ่งเป็นคนเสียชีวิต คนที่ได้รับผลระยะยาว ซึ่งเราดูเอง ก็ต้องพูดความจริงและแนะนำให้ฉีดชั้นผิวหนังซึ่งปริมาณน้อยกว่าและมีกลไกในการออกฤทธิ์ต่างจากการฉีดเข้ากล้าม และหลังจากที่มีข้อมูลที่ไม่ได้เป็นอคติ พิสูจน์ถึงความไม่ปลอดภัยในด้านหลอดเลือด สมองหัวใจ และมะเร็ง จำเป็นที่ต้องมีการทบทวน ทั้งวัคซีน แพลตฟอร์มนี้ ต้องยุติไว้ก่อน และต้องปรับปรุงพัฒนาเพื่อความปลอดภัยสูงสุดและมีประสิทธิภาพจริง”

“ไม่ใช่ประกาศว่าทั้งประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากผลกระทบของวัคซีนห้ารายจนกระทั่งถึงปี 2024 และยัง ส่งเสริมให้มีการฉีดโดยยืนยันว่ามีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูงสุด จริงหรือ”.

ปานเทพ พัวพงษ์พัน เสวนาวัคซีนโควิด
แฟ้มภาพ Fb. @ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button