ข่าวภูมิภาค

เดินหน้าพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ตเฟส 2 หลังผู้โดยสารทะลุ 18.26 ล้านคนแล้ว

วันนี้ (8 ต.ค.) ที่อาคารX-Terminal อากาศยานภูเก็ต บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จัดงานครบรอบ 30 ปีการดำเนินงานของท่าอากาศยานภูเก็ต โดยมี เรืออากาศตรี ธานี ช่วงชู ผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต เป็นประธานในพิธี เพื่อแสดงถึงบทบาทของการเป็นท่าอากาศยานที่อยู่คู่กับจังหวัดภูเก็ตมาเป็นระยะเวลากว่า 30 ปี โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการในท่าอากาศยานภูเก็ต สายการบิน เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
ท่าอากาศยานภูเก็ต ถือเป็นท่าอากาศยานที่มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นและขับเคลื่อนเศรษฐกิจในกลุ่มจังหวัดอันดามัน รวมไปถึงการเป็นจุดเชื่อมโยงเส้นทางการบินระดับโลก ตามแผนยุทธศาสตร์ท่าอากาศยาน ที่บริษัทท่าอากาศยานไทยเป็นผู้กำหนด
โดยท่าอากาศยานภูเก็ต ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2490 และได้ประกาศให้เป็นสนามบินอนุญาต เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2497 โดยกรมขนส่งทางอากาศ (กรมการบินพาณิชย์เดิม) เป็นผู้ดำเนินกิจการ ต่อมาเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2527 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยรับโอนกิจการของท่าอากาศยานภูเก็ตมาดำเนินการ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและนำไปสู่ระบบบริหารเชิงธุรกิจ ทอท.จึงได้รับโอนท่าอากาศยานภูเก็ตมาดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2531 เป็นต้นมา
เรือกาศตรีธานี ช่วงชู ผู้อำนวขการท่าอากาศยานภูเก็ต กล่าวว่า ภายหลังจากท่าอากาศยานภูเก็ตได้เปิดให้บริการอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2559 ที่ผ่านมานั้น ท่าอากาศยานภูเก็ตมีขีดความสามารถในการรองรับและให้บริการผู้โดยสารมากขึ้นตามลำดับ และนอกจากนี้ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2561 ท่าอากาศยานภูเก็ตได้เปิดให้บริการอาคารผู้โดยสารภายในประเทศอย่างเป็นทางการหลังจากที่ดำเนินการปิดปรับปรุงตามโครงการพัฒนาท่าอากาศยาน

ซึ่งถือเป็นความสำเร็จในด้านการพัฒนาท่าอากาศยานตามแผนแม่บทในระยะที่ 1 ซึ่งในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ ตุลาคม 2560 – กันยายน 2561 จึงทำให้ท่าอากาศยานภูเก็ตมีการเติบโตของจำนวนเที่ยวบินรวมทั้งสิ้น 116,487 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.10 แบ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 62,556 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.55 และเที่ยวบินภายในประเทศ 53,931 เที่ยวบินเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.03 และมีผู้โดยสารใช้บริการรวมทั้งสิ้น 18.26 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.51 โดยแบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 10.39 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.94 และผู้โดยสาร ภายในประเทศ 7.8 1,000,000 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.00 ส่งผลให้ปัจจุบันท่าอากาศยานภูเก็ตสามารถรองรับผู้โดยสารได้ที่ 18.2 ล้านคนต่อปี

นอกจากนี้ในส่วนของผลประกอบการในปีที่ผ่านมานั้น ท่าอากาศยานภูเก็ตมีการเติบโตของผลกำไรสุทธิจากการดำเนินการเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.59 โดยเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือตุลาคม 2560 – มิถุนายน 2561 โดยมีรายได้รวมอยู่ที่ 7,800 กว่าล้านบาท รายจ่าย 2,700 0 กว่าล้านบาท ทำให้ปีงบประมาณ 2561 นี้ ท่าอากาศยานภูเก็ตมีกำไรสุทธิประมาณ 4,100 บาท โดยรายได้หลักมาจากการให้บริการด้านอากาศยานและรายได้ที่เกิดจากการให้บริการที่ไม่ใช่อากาศยาน และในปีงบประมาณ 2562 นี้ คาดว่าจะมีกำไรสุทธิไม่ต่ำกว่า 4,200 ล้านบาทจากแน่นอน

Advertisements
เรือกาศตรีธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการที่จำนวนผู้โดยสารท่าอากาศยานภูเก็ตเพิ่มสูงขึ้นในทุกๆปี และมีแนวโน้มจะเพิ่มเป็น 25 ล้านคนในอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการพัฒนาศักยภาพของท่าอากาศยานภูเก็ตเมื่อเสร็จสิ้นโครงการพัฒนาท่าอากาศยานระยะที่ 1 แล้ว ท่าอากาศยานภูเก็ตได้เตรียมความพร้อมเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินโครงการพัฒนาท่าอากาศยานระยะที่ 2 ในปีงบประมาณ 2561 – 2565 ให้สามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารและการจราจรทางอากาศที่เพิ่มขึ้น โดยมีการวางแผนขยายอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศทางด้านทิศใต้ และก่อสร้างพื้นที่สำหรับให้บริการนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเป็นหมู่คณะที่บริเวณชั้น 1 ของอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ ขยายลานจอดบริเวณด้านหน้าอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ รวมทั้งการเพิ่มระบบสาธารณูปโภค เพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสาร และการจราจรทางอากาศที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
นอกจากการพัฒนาทางด้านกายภาพแล้ว ท่าอากาศยานภูเก็ตได้มีการดำเนินการพัฒนาด้านคุณภาพการให้บริการควบคู่ไปด้วยกัน โดยปัจจุบันท่าอากาศยานภูเก็ตได้เข้าร่วมการจัดอันดับท่าอากาศยาน (Airport Service Quality : ASQ) ของสภาท่าอากาศยานระหว่างประเทศ (Airport Council International : ACI) และเพื่อให้ท่าอากาศยานภูเก็ตมีระบบมาตรฐานการบริการสากลคอยติดตามคุณภาพการบริการของทุกหน่วย มีความถูกต้องเหมาะสมในการใช้งบประมาณในการปรับปรุงการบริการ อีกทั้งยังเป็นการเสริมแรงกระตุ้นและความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ในท่าอากาศยานภูเก็ต เพื่อยกระดับให้เทียบเท่าสากล
นอกจากนี้ในด้านมาตรฐานการรักษาความปลอดภัย เพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นใจในด้านการรักษาความปลอดภัยของอากาศยานภูเก็ตได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และฝึกปฏิบัติในด้านการรักษาความปลอดภัยเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้โดยสาร
อย่างไรก็ตาม นอกจากจะดำเนินการในด้านธุรกิจการบินแล้วนั้นท่าอากาศยานภูเก็ตยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาควบคู่ไปกับชุมชน จึงได้มีการจัดการด้านมวลชนสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างท่าอากาศยานภูเก็ตและชุมชนโดยรอบ และเพื่อให้เกิดความรับรู้และเข้าใจในการดำเนินการ รวมทั้งกระตุ้นให้ชุมชนโดยรอบมีส่วนร่วมกับท่าอากาศยานภูเก็ตซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดภูเก็ตและเป็นการเติบโตอย่างยังยืนควบคู่กันไป
เรืออากาศตรี ธานี กล่าวต่อว่า เพื่อให้การให้บริการของท่าอากาศยานภูเก็ต มีความครอบคลุมในทุกอากาศยาน ทาง ทอท.จึงได้กำหนดให้ท่าอากาศยานภูเก็ตเป็นท่าอากาศยานนำร่องในการให้บริการอากาศยานส่วนบุคคล หรือ ไพรเวทเจท เพื่อรองรับอากาศยานส่วนบุคคลของบุคคลสำคัญ มหาเศรษฐี ดารานัก ร้องนักแสดง จากทั่วโลก ที่ต้องการเดินทางมาท่องเที่ยวที่ภูเก็ต
เนื่องจากที่ผ่านมามีอากาศยานส่วนบุคคลมาใช้บริการที่ท่าฯภูเก็ตเป็นจำนวนมาก แต่ไม่สามารถรองรับได้ทั้งหมด เนื่องจากมีข้อจำกัดที่สามารถรองรับได้วันละ 5 ไฟท์เท่านั้น ทาง ทอท. จึงได้ให้สัมปทานเอกชน คือ บริษัท สยามแลนด์ไฟท์ จำกัด เป็นเวลา 30 ปี ในการดำเนินการรองรับไพรเวทเจท บนเนื้อที่ 10 ไร่ จะทำให้สามารถรองรับไพรเวทเจทได้อย่างเต็มที่ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่ทางเอกชนเข้ามาดำเนินการ คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2562 นี้
ส่วนความคืบหน้าโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานภูเก็ตแห่งที่ 2 ที่ตำบลโคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา นั้น ผอ.ท่าอากาศยานภูเก็ต เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวนั้นทางบอร์ด ทอท.ได้ผ่านการเห็นชอบ และเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการรอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี อนุมัติ เมื่อครม.ผ่านการเห็นชอบ ทาง ทอท.จะได้มีการศึกษาออกแบบรายละเอียดของโครงการ และตามแผนที่วางไว้จะก่อสร้างให้แล้วเสร็จาภายใน 8 ปี หลังครม.เห็นชอบโครงการ ทั้งนี้เพื่อลดความแออัดของท่าอากาศยานภูเก็ต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button