Line Newsไลฟ์สไตล์

สรุปให้ชัด บันไดเลื่อน MRT เดิน-ห้ามเดิน ต่างจากกฎของ BTS ยังไง

เปิดประเด็นถกเถียง ทำไมรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT เวลาขึ้นบันไดเลื่อน ต้องห้ามเดิน ขณะที่รถไฟฟ้าบีทีเอสให้เดินฝั่งซ้าย คนเมืองสุดงงสรุปต้องทำตามกฎข้อไหนกันแน่

เรียกว่าเป็นปัญหาไม่น้อยสำหรับคนเมืองที่ต้องใช้บันไดเลื่อนของขนส่งสาธารณะอย่างรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT (BEM) และรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) ที่มาพร้อมกับปริศนาที่ว่าสรุปแล้วต้อง เดินซ้าย หรือ ห้ามเดินซ้าย กันแน่? เพราะในชีวิตจริง คนส่วนใหญ่ไม่ได้เดินทางเพียงรถไฟฟ้าต่อเดียว แต่จะต้องนั่งหลายเที่ยวหลากสถานีอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเราได้รวบรวมรายละเอียดข้อมูลรวมไปถึงความคิดเห็นชาวเน็ต มาช่วยคลายความสงสัยผู้อ่านมาให้แล้ว โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

Advertisements

การใช้บันได้เลื่อนรถไฟฟ้า MRT (BEM)

บนเว็บไซต์ของ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ( Bangkok Expressway and Metro Public Company Limited) หรือที่รู้จักกันในชื่อ BEM (MRT) ได้ระบุข้อกำหนดการใช้บันไดเลื่อนของทุกสถานีเอาไว้ว่า

Escalator : บันไดเลื่อน

  • กรุณาหันหน้าไปในทิศทางการเคลื่อนที่ของบันไดเลื่อนและจับราวบันไดเลื่อนตลอดเวลา
  • กรุณาดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ ในขณะใช้บันไดเลื่อนและจับราวบันไดเลื่อนตลอดเวลา
  • กรุณายืนอยู่ภายในเส้นขอบสีเหลือง
  • ห้ามนั่งบนราวจับบันไดเลื่อน
  • ไม่ใช้ไม้เท้าหรือเครื่องช่วยในการเดิน รถเข็นผู้ทุพพลภาพ หรือรถเข็นเด็ก ขณะใช้บันไดเลื่อน
  • ห้ามยื่นส่วนใดของร่างกายออกจากบันไดเลื่อนหรือยืนพิงบันไดเลื่อน
  • ไม่นั่ง เดิน หรือวิ่ง ในขณะอยู่บนบันไดเลื่อน
  • กรุณาระมัดระวัง ชายกระโปรงและเชือกรองเท้าขณะอยู่บนบันไดเลื่อน
  • กรุณาออกจากพื้นที่ทางออกของบันไดเลื่อนทันที ไม่หยุดรอหรือยืนกีดขวางบริเวณบันไดเลื่อน
  • ห้ามกดปุ่มหยุดฉุกเฉินโดยไม่มีเหตุจำเป็น

กรุณางดเดืิน บันไดเลื่อน mrt

ข้อแนะนำในการใช้บันได-บันไดเลื่อน BTS

ทางฝั่งของรถไฟฟ้า บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส (BTS) จะมีกฎระเบียบการใช้บันไดเลื่อนและบันไดต่างกับของรถไฟฟ้า MRT ซึ่งระบุคำเตื่อนเอาไว้อีกด้วยว่า “บันไดเลื่อนในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสมีความเร็วสูงกว่าบันไดเลื่อนทั่วไป ผู้โดยสารควรใช้ด้วยความระมัดระวัง”

Escalator : บันไดเลื่อน

  • โปรดยืน หรือเดินชิดทางด้านขวา และจับราวของบันไดหรือบันไดเลื่อน ขณะขึ้น – ลงทุกครั้ง
  • ห้ามยืนพิงด้านข้าง นั่งบนราวจับของบันไดเลื่อน
  • ห้ามยืนกีดขวางบริเวณทางขึ้น – ลงของบันได
  • ห้ามยื่นศีรษะออกนอกราวจับของบันไดเลื่อน
  • ห้ามยื่นเท้าไปชิดขอบด้านข้างของบันไดเลื่อน
  • ห้ามวางปลายเท้าชิดขอบขั้นของบันไดเลื่อน
  • ห้ามวิ่ง เล่น ผลัก หรือหยอกล้อกันขณะใช้บันได หรือบันไดเลื่อน
  • เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน กรุณากดปุ่มหยุดฉุกเฉินที่ตัวบันไดเลื่อน และรีบแจ้งพนักงานทันที

หมายเหตุ: ทั้งนี้ในภาพประกอบ ได้ระบุข้อความไว้ว่า กรณายืนชิดขวา หรือเดินชิดซ้าย เมื่อใช้บันไดเลื่อน

การใช้บันไดเลื่อนรถไฟฟ้าบีทีเอส

Advertisements

สรุปบันได้เลื่อน MRT ต้องยืนซ้ายหรือเดินซ้าย?

ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 ได้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งชื่อว่า Jatetanut Piriyapradiskul เล่าเรื่องของหญิงสองคนบนบันไดเลื่อน ขณะเถียงกันเรื่องที่สาวคนข้างหน้ายืนแช่ฝั่งซ้ายไม่ยอมหลบสาวอีกคนที่คนเดินต่อขึ้นมา ฝ่ายที่ยืนอ้างว่ามีป้ายบอกชัดว่าห้ามเดิน ส่วนสาวคนที่จะเดินก็อ้างว่าที่ต่างประเทศเขาให้เดินกัน ก่อนจะเหยียดว่าสาวคนข้างหน้าไม่เคยไปต่างประเทศหรอกหรือ

จากกรณีข้างต้นรวมไปถึงข้อสงสัยซึ่งเป็นหัวข้อของบทความนี้ สามารถสรุปได้ไม่ยาก คือ กฎระเบียบแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน จะยึดเป็นบรรทัดฐานใช้ทั้งโลกไม่ได้

อย่างที่ทราบกันดีว่า วัฒนธรรมและกฎระเบียบการใช้บันไดเลื่อนจะแตกต่างออกไปตามแต่ละพื้นที่ทั่วโลก ยกตัวอย่างเช่นใน ประเทศญี่ปุ่น แถบโตเกียวจะยืนชิดซ้าย ในขณะที่ฝั่งโอซาก้าจะยืนชิดขวา และในบางประเทศก็ยังคงใช้ระเบียบต่างกันแม้จะอยู่ในพื้นที่เดียวกัน

ดังนั้น กฏระเบียบหากไม่ได้ประกาศเป็นกฎหมายที่ต้องใช้ร่วมกันทั้งประเทศ ควรยึดตามเงื่อนไขของสถานที่นั่น ๆ จะดีที่สุด ไม่เช่นนั้นหากเรายังไม่ปฏิบัติตามกฎ หรือเคารพสถานที่ด้วยการอ้างว่า ก็ที่อื่นเขาทำมาแบบนี้ ก็จะไม่ต่างอะไรกับการขับรถฝ่าไฟแดง หรือจอดรถยนต์ในที่ห้ามจอดนั่นเองครับ

ทั้งนี้ ได้มีชาวเน็ตท่านหนึ่งแย้งว่า มีป้ายเขียนห้ามเดิน แต่ก็ไม่ได้มีป้ายเขียนว่าห้ามหลบ จึงเสนอว่าหากมีคนจะขอเดินขึ้น ถ้าหลบได้ก็หลบจะดีกว่าแต่ถ้าหลบไม่ได้ก็ให้ยืนต่อไป

สาเหตุที่บันไดเลื่อน MRT ห้าม เดิน-วิ่ง

แม้จะยังไม่มีการชี้แจงในประเด็นดังกล่าวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นทางการ แต่จากการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมพบว่า ได้มีผู้แสดงความคิดเห็นบนเว็บไซต์พันทิป ตั้งขอสังเกตุว่า เนื่องจากบันไดเลื่อนของรถไฟฟ้าใต้ดิน มีความยาวประมาณตึก 4-5 ชั้น

หากมีการเดินหรือวิ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ หรือถ้ามีคนเกิดตกบันไดขึ้นมาก็จะต้องกลิ่นตกหลายชั้นกันเลยทีเดียว

นอกจากนี้ยังได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมอีกว่า มีงานวิจัยจากญี่ปุ่นเรื่องการเข้าแถวขึ้นบันไดเลื่อน ว่าการเข้าแถวยืนชิดข้างหนึ่ง แล้วเว้นอีกข้างไว้ให้คนเดิน จะขนคนได้ 87 คน/นาที ต่อความสูง 3 เมตร ในขณะที่การยืนขึ้นบันไดให้เต็มทั้ง 2 ข้างจะขนคนได้ 113 คน/นาที ต่อความสูง 3 เมตร

แต่อย่างไรก็ตามกฎที่ไหนระบุแบบไหนก็ทำตามแบบนั้นจะดีกว่าครับ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง : BTS, MRT(BEM), Pantip

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button