กกต. ปัดมีใบสั่ง หลังยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ยุบพรรคก้าวไกล ยันทำตามกฎ
ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ปัดมีใบสั่ง หลังยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ยุบพรรคก้าวไกล ยันทำตามกฎหมาย เผยตัดสิทธิการเมือง กก.บห. 10 ปี
นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์หลังจากที่ กกต. เห็นชอบส่งศาลรัฐธรรมนูญ ยุบพรรคก้าวไกล ตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคก้าวไกล และ ยุบพรรค กรณีหาเสียงแก้ ม.112 ซึ่งทาง ศาล รธน. มองว่าเป็นการล้มล้างการปกครอง ตามที่มีรายงานไปก่อนหน้านี้นั้น
โดยนายอิทธิพลให้สัมภาษณ์ว่า การดำเนินการของพรรคก้าวไกลตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ถือการเป็นล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และต้องส่งเรื่องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น
ที่ประชุมกกต. มีมติเห็นควรที่จะส่งเรื่องดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย สำหรับกระบวนการพิจารณาในเรื่องนี้ ที่ประชุม กกต.ได้ขอให้สำนักงานกกต.ศึกษาวิเคราะห์รายละเอียด ตั้งแต่วันที่ 6 ก.พ. 2567
หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2567 ในกรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในขณะดำรงแหน่งหัวพรรคก้าวไกล และพรรคก้าวไกล ใช้การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หาเสียงเลือกตั้ง เข้าข่ายล้มล้างการปกครองฯ จากการเสนอนโยบายแก้ไข มาตรา 112 โดยศาลสั่งให้เลิกการกระทำ การแสดงความคิดเห็น การเขียนเพื่อให้มีการยกเลิกมาตรา 112 และไม่ให้แก้มาตรา 112
ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวเป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ตามมาตรา 92 เมื่อกกต.มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า มีพรรคการเมืองใดกระทำการล้มล้างการปกครองฯ ให้เสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา โดยสิ่งที่เป็นหลักฐานอันเชื่อได้ว่าเป็นการล้มล้างการปกครองฯ ก็คือคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ซึ่งมีทั้งรายละเอียด ข้อกฎหมายข้อเท็จจริง พร้อมทั้งพยานหลักฐานและเอกสารประกอบ มีคำไต่สวนการให้ถ้อยคำของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นหลักฐานเพียงพอที่ทำให้กกต.สามารถส่งเรื่องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญได้
ผู้สื่อข่าวถามว่าการดำเนินการครั้งนี้เป็นดำเนินตามใบสั่งหรือไม่ หลังจากที่มีชาวเน็ตตั้งข้อสงสัย ในประเด็นนี้นายอิทธิพลตอบว่า เราทำงานตามกฎหมาย คนที่จะสั่งให้เราปฏิบัติหน้าที่ คือ กฎหมายตามรัฐธรรมนูญที่เขียนไว้ ซึ่งกกต.เป็นองค์กรอิสระที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญ และนิติธรรม
ส่วนกรอบระยะเวลาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกลนั้น นายอิทธิพร กล่าวว่า ตามกระบวนการแล้ว ถ้ามีมติส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ กระบวนการตามคำร้อง ประกอบด้วย มติกกต. คำวินิจฉัยเอกสารอื่นๆ โดยทั่วไปจะใช้ระยะเวลาไม่เกินหนึ่งสัปดาห์ ถ้าเสร็จเสร็จเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น
ส่วนกรณีที่นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกกต. ระบุว่า โทษที่ร้ายแรงที่สุดในเรื่องนี้คือตัดสิทธิ์ทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) นายอิทธิพร กล่าวว่า ตามกฎหมายมาตรา 92 ถ้ากกต.ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรค กกต.สามารถยื่นขอให้ศาลพิจารณายื่นถอนสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้ง โดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้
นายอิทธิพร กล่าวต่อว่า แต่ที่เป็นระยะเวลา คือ ถ้าขอให้ศาลสั่งไม่ให้ตั้งพรรคใหม่หรือขอให้ศาลสั่งไม่ให้เป็นกก.บห.พรรคอื่น ซึ่งมีกรอบระยะเวลาว่า ศาลจะสั่งได้ไม่เกิน 10 ปี
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง