Line Newsไลฟ์สไตล์

สรุปค่าฝุ่น PM 2.5 เกณฑ์ใหม่ ในบ้าน-นอกบ้าน ไม่ควรเกินเท่าไหร่

เปิดตาราง ฝุ่น PM 2.5 เกณฑ์ใหม่ ไม่ควรเกินเท่าไหร่ ถึงจะปลอดภัยต่อสุขภาพ ระบบทางเดินหายใจ ทั้้งในบ้าน-นอกบ้าน พร้อมแนะนำวิธีป้องกันการสูดดมฝุ่นที่มากเกินไป จนส่งผลเสีย

รู้ไว้เตรียมรับมือ “ฤดูฝุ่น” พร้อมเช็กค่ามาตรฐาน พีเอ็ม 2.5 เกณฑ์ใหม่ ที่กรมควบคุมมลพิษ ได้ประกาศ บังคับใช้แล้วล่าสุด อ่านค่าฝุ่นระดับไหน ถึงเรียกว่าปลอดภัยต่อสุขภาพ และไม่ควรมีฝุ่น PM 2.5 ในบ้านและนอกบ้านเกินเท่าไหร่ อย่าลืมใส่ใจสุขภาพทางเดินหายใจ ระวังเจ็บป่วยหนักไม่ทันตั้งตัว

Advertisements

ค่า PM 2.5 เกณฑ์ใหม่ ไม่ควรเกินเท่าไหร่ ถึงดีต่อสุขภาพ

กรมควบคุมมลพิษ ได้ประกาศเกณฑ์ค่าฝุ่น PM 2.5 แบบใหม่ เมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา หลังจากที่ประเทศไทยประสบปัญหาฝุ่นควันปกคลุมหลายพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง จนกระทบต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตของคนในสังคม โดยอ้างอิงจาก ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

เรื่อง กำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 66 เป็นต้นไป ค่ามาตรฐานใหม่ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ถูกปรับให้มีความเข้มข้นขึ้น จากเดิมต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ถูกปรับลงมา จะต้องไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.

สำหรับค่าเฉลี่ยในเวลา 1 ปี จาก 25 มคก./ลบ.ม. ถูกปรับลงมา จะต้องไม่เกิน 15 มคก./ลบ.ม. ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือตั้งแต่วันที่ 9 ก.ค. 65 ที่ผ่านมา

สำหรับค่า PM 2.5 ภายในบ้านโดยเฉพาะในห้องนอน ไม่ควรเกิน 37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถึงปลอดภัยต่อสุขภาพ เท่ากับค่าฝุ่นนอกบ้านไม่ควรเกินเกณฑ์ 3.75 มคก./ลบ.ม. ตามที่กรมควบคุมมลพิษประกาศ

Advertisements

เช็กระดับสีค่าฝุ่น PM 2.5 แบบ AQI

ในส่วนของค่า เอคิวไอ (AQI) หรือ Air Quality Index คือ ข้อมูลการวัดคุณภาพอากาศในภาพรวมที่ประกอบด้วยมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด ได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) โอโซน (O3) คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)

ยังได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับมาตรฐานใหม่สากล โดยมีการแสดงสีเป็น 5 ระดับคงเดิม ได้แก่ ฟ้า เขียว เหลือง ส้ม และแดง อ้างอิงข้อมูลจากอินโฟกราฟิกของ กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ เผยว่าค่า เอคิวไอ ฝุ่น PM 2.5 ระดับที่ต้องเฝ้าระวังและอันตรายต่อสุขขาพ คือระดับ สีส้ม AQI 101-200 และระดับสีแดง AQI 200 ขึ้นไป

ค่าสีฟ้า

ค่าสีฟ้า 0 – 25 ความหมายคือ คุณภาพอากาศดีมาก สีที่ใช้คือ สีฟ้า คำอธิบายคือ คุณภาพอากาศดีมาก เหมาะสำหรับกิจกรรมกลางแจ้งและท่องเที่ยว

ค่าสีเขียว

AQI ค่าสีเขียวจะอยู่ที่ 26 – 50 ความหมายคือ คุณภาพอากาศดี สีที่ใช้คือ สีเขียว คำอธิบายคือ คุณภาพอากาศดี สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยวได้ตามปกติ

ค่าสีเหลือง

ทั้งนี้ใน เอคิวไอ ค่าสีเหลือง คือ 51-100 ความหมายคือ ปานกลาง สีที่ใช้คือ สีเหลือง คำอธิบายคือ 3.1สำหรับประชาชนทั่วไป: สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ปกติ 3.2ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ: หากมีอาการเบื้องต้นเช่น ไอ, หายใจลำบาก หรือระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง

ค่า pm 2.5 เกณฑ์ เอคิวไอ

ค่าสีส้ม

เอคิวไอ ค่าสีส้ม 101-200 ความหมายคือ เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ สีที่ใช้คือ สีส้ม 4.1สำหรับประชาชนทั่วไป: ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ถ้ามีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ, หายใจลำบาก หรือระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนหากมีความจำเป็น

ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ: ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ, หายใจลำบาก, ตาอักเสบ, แน่นหน้าอก, ปวดศรีษะ, หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ, คลื่นไส้ หรืออ่อนเพลีย ควรปรึกษาแพทย์

ค่าสีแดง

สำหรับ เอคิวไอ ค่าสีแดง 201 ขึ้นไป ความหมายคือ มีผลกระทบต่อสุขภาพ สีที่ใช้คือ สีแดง คำอธิบายคือ ทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์

สรุปว่าค่ามาตรฐานใหม่ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม. ส่วนค่า AQI ฝุ่น พีเอ็ม 2.5 จะต้องไม่สูงในระดับ ค่าสีส้มและสีแดง นั่นเองครับ

อีกทั้งประกาศล่าสุดจากทาง กรุงเทพมหานคร ได้ประกาศสถานการณ์ฝุ่นใน 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 11-17 มกราคม 2567 ณภาพอากาศ “เริ่มกระทบสุขภาพ” มีพื้นที่เฝ้าระวังในกรุงเทพดังนี้

พื้นที่เฝ้าระวัง วันที่ 11 ม.ค. 67 ‼️ ค่า PM 2.5 เกินมาตรฐานในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 17 พื้นที่ ได้แก่หลักสี่ / จตุจักร / คลองเตย / พระโขนง / บางนา / พญาไท / ดินแดง / ห้วยขวาง / คลองสามวา / มีนบุรี / สะพานสูง / ตลิ่งชัน / บางกอกน้อย / ทวีวัฒนา / บางแค / หนองแขม /บางบอน

ค่า pm 2.5 เกณฑ์ เอคิวไอ ค่าฝุ่น กทม

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง : กรมควบคุมมลพิษ, โรงพยาบาลกรุงเทพ (พัทยา), กรีนพีช, สภาคนพิการทุกประเภท

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button