ข่าว

เฉลย ปลาตัวยาวที่สตูลเป็น “ปลาออร์ฟิช” ความเชื่อแผ่นดินไหว อย่าเพิ่งตกใจ

อาจารย์ธรณ์ ไขข้อสงสัยปลาตัวยาวที่สตูล คือ ปลาออร์ฟิช ปมเชื่อเป็นปลาแผ่นดินไหว อาจารย์นักวิทยาศาสตร์มหาลัยดัง เตือนอย่าเพิ่งไปตระหนก

จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊ก Wannarrong Sa-ard โพสต์ภาพสอบถามถึงปลาชนิดหนึ่งรูปร่างยาว ลงในกลุ่มเฟซบุ๊ก นี่ตัวอะไร พร้อมกับข้อความสอบถามถึงสัตว์น้ำลำตัวยาวกว่าปกติสายตาที่เคยเห็น เนื้อหาจากโพสต์ระบุถ้อยคำถาม “ปลาอะไรคะ ติดเรือขึ้นมาค่ะ (เรือ ก.เทพเจริญพร 15) ละงู สตูล #สรุป จากภาพ น้องคือปลาออฟิชนะคะ(ใช่หรือไม่ ต้องรอผลวิจัยอีกที) แต่ตอนนี้มีพี่นักวิจัยประมงมารับน้องไปวิจัยแล้วนะคะ”

ปลาออร์ฟิช-oarfish

ต่อมา ข้อมูลจาก ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำให้ทราบข้อมูลแน่ชัด เกี่ยวกับเจ้าปลาที่สงสัยกันที่จ.สตูล นั้น ตกลงยืนยันแล้วว่า คือ “ปลาออร์ฟิช (oarfish)” ปลาน้ำลึกซึ่งพบได้ทั่วโลก แต่เนื่องจากอยู่น้ำลึก รูปร่างประหลาด หลายคนจึงไม่คุ้นเคย ขณะที่บางคนเรียก “ปลาพญานาค” เพราะเคยมีภาพถ่ายทหารอุ้มปลาที่แม่น้ำโขง

เมื่อถามว่าเป็นปลากที่หายากหรือไม่ อ.ธรณ์ ก็ตอบว่า สามารถเจอปลาชิดนนี้ได้เรื่อย ๆ

ปลาตัวยาวที่สตูล
ภาพ @Apiradee Napairee

ส่วนเรื่องที่หลายคนออกมาให้ข้อมูลว่า เป็น “ปลาแผ่นดิไหว” เนื่องจากถ้าเจอในที่ตื้นบางครั้ง อาจเป็นสัญญาณเตือนก่อนเกิดสึนามิหรือแผ่นดินไหวนั้น อาจารย์ก็ชี้แจงถึงความเชื่อนี้ โดยขอให้ทุกคนอย่าเพิ่งไปตื่นเต้นตกใจ แม้อาจได้ยินว่าเป็นปลาแผ่นดินไหว แต่กรณีนี้ที่พบเพราะปลาว่ายเข้ามาที่ฝั่ง ไม่ใช่จับมา และแม้ว่ายมาฝั่งก็ไม่ใช่ทุกครั้งที่จะเกิดภัยพิบัติ

ตอนท้าย อ.ธรณ์ ยังกล่าวถึงึวามเชื่อส่วนตัว มองเรื่องนี้เจอปลาออร์ฟิชที่ภาคใต้บ้านเราหนล่าสุด เป็นเรื่องบังเอิญมากกว่า.

 

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx