ข่าวภูมิภาค

นักวิชาการประมงตรวจข้อมูลกายภาพจระเข้ยะนุ้ย เบื้องต้น อาจจะเป็นลูกผสม

นักวิชาการประมงลงตรวจข้อมูลกายภาพจระเข้ยะนุ้ย เพื่อหาแหล่งที่มา สายพันธุ์ที่ชัดเจน ก่อนนำไปไว้ในสถานที่ที่เหมาะสม เบื้องต้น อาจจะเป็นลูกผสม

รประมงชำนาญการ สถานีวิจัยและพัฒนาประมงทะเล จ.ระนอง กรมประมง พร้อมด้วย นายไพศาล สุขปุณพันธ์ เจ้าพนักงานประมงอาวุโส หัวหน้ากลุ่มบริหารจัดการด้านการประมง สำนักงานประมงจังหวัดภูเก็ต และเจ้าหน้าที่บริษัท ภูเก็ต คร็อกโคไดล์เวิร์ด จำกัด ร่วมกับทำการตรวจสอบและเก็บข้อมูลทางกายภาพ

เบื้องต้นของ “น้องยะนุ้ย” เพศเมีย อายุ 6-7 ปี ความยาว 2.50 เมตร จระเข้ซึ่งโผล่ทะเลภูเก็ตบริเวณหน้าชายหาดยะนุ้ย ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา ก่อนที่จะว่ายน้ำไปตามชายหาดต่างๆ และสามารถจับตัวได้ที่บริเวณปากคลองลายัน (คลองเสน่ห์โพธิ์) ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2561 รวมระยะเวลา 12 ก่อน และได้นำมาพักฟื้นรอการเก็บตัวอย่างเลือดและดีเอ็นเอ เพื่อหาสายพันธ์ที่ชัดเจน ก่อนที่มีการนำไปไว้ยังพื้นที่ที่เหมาะสมต่อไป

นายมนตรี สุมณฑา นักวิชาการประมงชำนาญการ สถานีวิจัยและพัฒนาประมงทะเล จ.ระนอง กล่าวภายหลังการเก็บข้อมูลทางกายภาพของจระเข้น้องยะนุ้ย ว่า เป็นการตรวจภายนอก เพื่อดูว่าเป็นจระเข้ชนิดใด เบื้องต้นจากการตรวจสอบบริเวณปาก พบว่าค่อนข้างแคบ มีเกล็ดขนาดใหญ่บริเวณท้ายทอย และเกล็ดข้างลำตัวมีขนาดเล็ก แต่มีเกล็ดขนาดใหญ่กว่าปกติแต่ไม่ได้เด่นชัดขึ้นมาแซมบางส่วน จึงทำให้สงสัยได้ว่า อาจจะเป็นจระเข้ผสม ซึ่งในภาพรวมของจระเข้ตัวนี้ค่อนไปทางจระเข้น้ำเค็มมาก สอบถามเจ้าหน้าที่ที่ดูแลทราบว่าได้กินโครงไก่ไปแล้ว 1 โครง

“เท่าที่ดูการเคลื่อนไหวพบว่าค่อนข้างแข็งแรงมาก มีการตอบสนองตลอดเวลา แต่อาจจะมีบาดแผลเล็กน้อยจากการถูกจับจากทะเล และการจับเพื่อตรวจสภาพในจังหวะที่เขาดิ้นรนและไปกระแทกกับพื้นของบ่อพักฟื้นซึ่งเป็นปูน และเป็นที่น่าสังเกตกว่าบริเวณจระเข้ตัวนี้จะมีตะไคร้ขึ้นตามตัวค่อนข้างมาก เป็นการบางบอกได้ว่าจระเข้ตัวนี้เคยผ่านการถูกกักขังในน้ำนิ่งมาเป็นระยะเวลานานมาก่อน”นายมนตรีกล่าว

นายมนตรี กล่าวถึงการดำเนินการกับจระเข้ตัวดังกล่าวหลังจากที่มีการตรวจพิสูจน์ต่างๆ เรียบร้อยแล้วว่า หากเป็นจระเข้ที่ไม่ผ่านการเลี้ยงมาก่อนจะต้องนำไปปล่อยในแหล่งธรรมชาติที่เหมาะสม แต่หากเป็นลูกผสมก็อาจจะใช้แนวทางเดียวกับจระเข้เลพังซึ่งมีการจับได้เมื่อปลายปี 2560 โดยเอาไปฝากไว้ที่สวนสัตว์ แต่สำหรับตัวนี้จากการตรวจสอบทางกายภาพเบื้องต้นมีแนวโน้มที่จะเป็นจระเข้ผสมมากกว่าจระเข้แท้ แต่ไม่ยืนยัน เพราะลักษณะของจระเข้น้ำเค็มจะมีความผันแปรอยู่เล็กๆ น้อยๆ และต้องรอผลการตรวจดีเอ็นเออีกครั้ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button