รำลึก 2 ตุลาคม วันเกิดมหาตมะ คานธี ครบรอบ 153 ปี มหาบุรุษแห่งสันติภาพ ผู้นำคนสำคัญ ในการเรียกร้องเสรีภาพและเอกราชของอินเดีย
ร่วมรำลึกประวัติของมหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ในวันที่ 2 ตุลาคม วันเกิดมหาตมะ คานธี จากนักกฎหมายธรรมดา สู่การเป็นนักต่อสู้เพื่อเอกราชของอินเดีย บุคคลที่ถูกยกย่องให้เป็นผู้นำแห่งสันภาพ จากการอุทิศตนเพื่อเรียกร้องอิสระภาพจากอังกฤษโดยไม่ใช้ความรุนแรง นักปรัชญาต้นตำรับหลักการอหิงสาที่โลกต้องจารึก
เปิดประวัติ มหาตมะ คานธี มหาบุรุษแห่งสันติภาพ
โมหันทาส กรรมจันทร์ คานธี หรือ มหาตมะ คานธี เกิดวันที่ 2 ตุลาคม 1869 ที่จังหวัดโพรบันดาร์ รัฐคุชราต ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ในตระกูลชนชั้นสูง พ่อเป็นข้าราชการ และมารดาเป็นแม่บ้านที่เคร่งศาสนา และมักปลูกฝังแนวคิดงหลักจริยธรรมฮินดู การบริโภคมังสวิรัติ ความแตกต่างทางศาสนา การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และการไม่ใช้ความรุนแรงให้คานธี
ในวัยเด็กเขาไม่ใช่คนเรียนเก่ง หรือมีความสามารถพิเศษโดดเด่นชัดเจน ครอบครัวจึงให้เขาไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศเจ้าอาณานิคม เพื่อโอกาสทางการงานที่ดีในอนาคต คานธีในวัย 18 ปีจึงเดินทางไปอังกฤษ และเข้าเรียนนิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน (University College London)
เมื่อเรียนจบ คานธีได้เดินทางกลับบ้านเกิด ก่อนจะเดินทางไปรับตำแหน่งที่ปรึกษาทางกฎหมายที่ประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งประเทศอาณานิคมของอังกฤษ ที่ชาวอินเดียอพยพไปทำงานกันมาก
ณ ประเทศแห่งนี้เขาได้พบประสบการณ์เหยียดสีผิวตั้งแต่เริ่มเดินทางมาถึง จากการที่เขาต้องการซื้อตั๋วรถไฟชั้น 1 แต่ถูกขับไล่ให้ไปนั่งชั้น 3 ทว่าคานธีนั้นไม่ยอม จึงถูกเจ้าหน้าที่จับโยนลงจากรถไฟ และเหตุการณ์ครั้งนี้ได้จุดประกายให้คานธีเริ่มมีแนวคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงสังคมนับตั้งแต่นั้น
ชื่อของ คานธี กลายเป็นที่รู้จักในวงกว้างเมื่อครั้งถูกจับกุมฐานเป็นแกนนำการประท้วง และเดินขบวนต่อต้านการเรียกเก็บภาษีต่อผู้มีเชื้อสายอินเดีย ท้ายที่สุดอังกฤษถูกกดดันให้ยกเลิกการเก็บภาษีดังกล่าว ก่อนปล่อยตัวคานธีในเวลาต่อมา ข่าวเรื่องชัยชนะของคานธีถูกรายงานไปทั่วอังกฤษ กระทั่งกลายเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ
คานธี กลายเป็นผู้นำคนสำคัญของอินเดียในการเรียกร้องให้อังกฤษปลดปล่อยตนออกจากการเป็นอาณานิคม ซึ่งช่วยนำอินเดียไปสู่ความเป็นอิสระ เป็นแรงบันดาลใจให้กับการเคลื่อนไหวที่ไม่รุนแรงเพื่อสิทธิพลเมืองและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทั่วโลก
ตลอดชีวิตของเขายังคงยึดมั่นในความเชื่อของเขาในการไม่ใช้ความรุนแรงแม้ภายใต้สภาวะที่กดขี่และเผชิญกับความท้าทายที่ดูเหมือนจะผ่านไม่ได้
2 ตุลาคม วันไม่ใช้ความรุนแรงสากล
2 ตุลาคม ของทุกปี ยังถูกกำหนดให้เป็น วันไม่ใช้ความรุนแรงสากล (International Day of Non-Violence) จากมติของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2550 เนื่องจากวันนี้เป็นวันเกิดของ มหาตมะ คานธี ผู้นำการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องอิสรภาพชาวอินเดีย ผู้ที่ริเริ่มปรัชญาและหลักแห่งการไม่ใช้ความรุนแรง
ทั้งนี้ องค์การสหประชาชาติยังได้กำหนดวันนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้คนทั่วโลกตระหนักถึงการยุติความรุนแรง และเพื่อให้เกิดสันติสุขแก่สังคม มีความอดทนอดกลั้น และเข้าใจหลักการไม่ใช้ความรุนแรงอย่างลึกซึ้ง
นายอานันท์ ชาร์มา รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของอินเดีย ได้กล่าวเมื่อครั้งการเสนอมติในสมัชชาใหญ่ ในนามของผู้สนับสนุนกว่า 140 คนเอาไว้ว่า การสนับสนุนมติดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความเคารพต่อมหาตมะ คานธี ในระดับสากล และเพื่อเป็นการค้ำจุน หลักการและปรัชญาแห่งการไม่ใช้ความรุนแรง
ดังวาทะของมหาตมะ คานธี ว่า “การไม่ใช้ความรุนแรงเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการกำจัดมนุษยชาติ มันแข็งแกร่งกว่าอาวุธทำลายล้างที่ทรงพลังที่สุดซึ่งประดิษฐ์ขึ้นโดยความเฉลียวฉลาดของมนุษย์”
- 1 ตุลาคม 2565 วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
- วันหัวใจโลก 29 กันยายน 2565 ชวนใส่ใจ ดูแลสุขภาพ ห่างไกลโรค
- รู้จัก วันทะเลโลก (World Ocean Day) 27 กันยายน 2565 ร่วมใจกันอนุรักษ์ทะเลไทย