บันเทิง

สหภาพนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ออกโรงป้องสิทธิ ‘ต้องเต’ แสดงออกทางการเมือง

สหภาพนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เคลื่อนไหวปกป้องสิทธิแสดงออกทางการเมือง หลังดราม่า ต้องเต ผู้กำกับหนังสัปเหร่อ ชู 3 นิ้ว

สหภาพนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม-Student Union of Mahasarakham University ออกมาสนับสนุน “ต้องเต” หรือ ธิติ ศรีนวล ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง “สัปเหร่อ” ซึ่งกวาดไรายได้ทะลุ 500 ล้านบาท และเป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) เมื่อวานนี้ (26 ต.ค.66) โดยสหภาพนิสิตของมหาลัยฯ ได้เคลื่อนไหวเกี่ยวกับประเด็นที่ผู้กำกับมือทองถูกวิพากษ์วิจารณ์จนเป็นกระแสดัง เรื่องแสดงออกจุดยืนทางการเมือง เมื่องครั้งชูสัญลักษณ์ 3 นิ้ว ตอนขึ้นเวทีร่วมปราศรัยต้านเผด็จการ ประกาศจุดยืนขับไล่รัฐบาลปี 2563 ซึ่งจัดขึ้น ณ อาคารแปดเหลี่ยม วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม

เนื้อหาจากโพสตของทางเพจสหภาพนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ระบุ “สหภาพนิสิต มมส. ขอยืนยันว่าการแสดงออกทางการเมืองคือเสรีภาพส่วนบุคคล เพราะเป็นสิทธิที่บุคคลมีในการแสดงความเห็นหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง โดยเสรีภาพนี้ครอบคลุมถึงการแสดงออกในหลากหลายรูปแบบ เช่น การพูด การเขียน การพิมพ์ การชุมนุม การรวมตัว การประท้วง เป็นต้น”

ต้องเต ผู้กำกับสัปเหร่อ
ภาพจาก IG : tongte_thiti
ต้องเต ชู 3 นิ้ว
ภาพ Facebook @SUMU.FACEBOOK

“เสรีภาพการแสดงออกทางการเมืองเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่รับรองไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และรัฐธรรมนูญของหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย”

“เสรีภาพการแสดงออกทางการเมืองมีความสำคัญต่อระบอบประชาธิปไตย เพราะช่วยให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศได้อย่างแท้จริง โดยการแสดงออกทางการเมืองเป็นช่องทางให้ประชาชนสามารถสื่อสารความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล และมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะ”

“อย่างไรก็ตาม เสรีภาพการแสดงออกทางการเมืองก็อาจถูกจำกัดได้ภายใต้กฎหมายที่บังคับใช้อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม เช่น กฎหมายห้ามหมิ่นประมาท กฎหมายห้ามยุยงปลุกปั่นให้เกิดความไม่สงบ หรือกฎหมายห้ามเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ”

“ตัวอย่างการแสดงออกทางการเมืองที่ถือเป็นเสรีภาพส่วนบุคคล ได้แก่ การวิจารณ์นโยบายของรัฐบาล การเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมือง การแสดงความไม่เห็นด้วยกับการกระทำของรัฐบาล การเข้าร่วมการชุมนุมทางการเมือง การรวมตัวกันเพื่อรณรงค์ทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองเหล่านี้ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่ประชาชนควรมีและสามารถกระทำได้อย่างเสรีภายใต้กฎหมายที่บังคับใช้อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม #สหมมส #สัปเหร่อ”.

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button