จริงหรือไม่ ดูโทรทัศน์ในที่มืด ทำให้สายตาเสีย
ไขข้อสงสัย “ดูโทรทัศน์ในที่มืดทำให้สายตาเสีย” คำที่ใคร ๆ ว่ากันนั้นจริงหรือไม่ แสงสว่างจากจอเป็นอันตรายต่อดวงตามากน้อยเพียงใด รู้ทันภัยร้ายจากหน้าจอ
ตั้งแต่เด็กจนโตเชื่อว่าหลาย ๆ คนมักเคยได้ยินคำเตือนเหล่านี้อยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการมองจอนานจนเกินไป การจ้องหน้าจอที่สว่างมากเกินจำเป็น หรือแม้แต่การมองจอโทรทัศน์ในที่มืด คำเตือนสุดฮิตของเหล่าผู้ปกครองที่มักพูดเสมอ ๆ ว่าพฤติกรรมเหล่านี้จะทำายดวงตาของคุณ เหตุเพราะหน้าจอที่ส่องสว่างและสภาพแวดล้อมที่มืดส่งผลให้ต้องปรับรูม่านตาบ่อยครั้งและนำไปสู่การเมื่อยล้าดวงตา
มันเรื่องจริงแน่หรือ ท้ายที่สุดแล้วกลับไม่ค่อยมีคนเตือนถึงการรับชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์มากเท่าใดนัก ซึ่งก็เป็นการมองจอที่สว่างในห้องมืดด้วยเช่นกัน หากคุณสงสัยแล้วล่ะก็ ที่นี่มีคำตอบ
การดูโทรทัศน์ในที่มืดส่งผลเสียต่อดวงตาของคุณหรือไม่
ในขณะนี้ ยังไม่มีหลักฐานที่ชี้ชัดว่า การดูโทรทัศน์หรือใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในสภาพแวดล้อมที่มืดจะทำให้เกิดความเสียหายต่อสายตาในระยะยาว อย่างไรก็ตามสภาวะดังกล่าวอาจทำให้เกิดปัญหาการมองเห็นทั่วในระยะชั่วคราวได้ อาทิ อาการล้าของดวงตาและความเมื่อยล้าของดวงตา และในบางกรณีอาจเกิดอาการตาแห้งได้เช่นกัน
เนื่องจากการจ้องหน้าจอสว่างๆ ในที่มืด ทุกครั้งดวงตาจะทำงานหนักขึ้น เพื่อรองรับระดับแสงที่ไม่สม่ำเสมอ จะทำให้ดวงตาเหนื่อยล้า
นักวิจัยในสาขาต่าง ๆ ได้ศึกษาผลของแสงที่ดวงตา ศูนย์วิจัยแสงสว่าง (LRC) สถาบันระดับโลกที่อุทิศให้กับการพัฒนาการใช้แสงเพื่อการประยุกต์ด้านสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความรู้ด้านดังกล่าวได้อธิบายไว้ว่า การศึกษาโดย LRC ในปี 2549 ได้ขอให้ผู้เข้าร่วมชมภาพยนตร์ความยาวหนึ่งชั่วโมง โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม
1. กลุ่มแรกดูครึ่งแรกของภาพยนตร์ในห้องที่มีแสงส่องสว่างบริเวณรอบ ๆ จากนั้นครึ่งหลังของเรื่องให้ดูจอในที่มืด
2. กลุ่มที่สองชมภาพยนตร์โดยเรียงลำดับการส่องสว่างแบบตรงข้ามกัน
ทั้งก่อนและหลังการรับชม นักวิจัยได้ทดสอบการทำงานของสมองและดวงตาของผู้เข้าร่วม พบว่า การดูหน้าจอที่รายล้อมไปด้วยแสงสว่างเพิ่มเติมนั้นดีกว่าการดูในที่มืด ๆ เล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบที่เกี่ยวกับความเมื่อยล้า ความเครียดของดวงตาลดลง แต่ขอย้ำอีกครั้งว่าผลกระทบดังกล่าวเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่มีการค้นพบใดที่บ่งชี้ว่าความเสียหายต่อดวงตาในระยะยาวอาจเป็นผลมาจากสภาวะเหล่านี้
ผลกระทบของการมองหน้าจอในที่มืด
แม้ว่าการดูโทรทัศน์ ในความมืดอาจไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อการมองเห็นในระยะยาว แต่ก็สามารถนำไปสู่ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นเกี่ยวกับอาการปวดตา รวมถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับได้ ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าจริงหากพิจารณาถึงเทคโนโลยีมือถือ อุปกรณ์ดังกล่าวจะปล่อยแสงสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นแสงรูปแบบความยาวคลื่นสั้นที่ดวงตาไม่สามารถกรองออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การได้รับแสงสีฟ้าในปริมาณมากอาจยับยั้งการปล่อยเมลาโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนตามธรรมชาติของร่างกายที่ทำให้เรารู้สึกง่วงนอน ผลที่ตามมาก็คือเราอาจต้องทนทุกข์ทรมานจากการเปลี่ยนแปลงจังหวะการเต้นของหัวใจ ซึ่งส่งผลให้นอนหลับยาก การนอนหลับถูกรบกวน และลดระดับความตื่นตัวในวันรุ่งขึ้นนั่นเอง
โทรทัศน์ก็ผลิตแสงสีฟ้าเช่นกัน แต่อุปกรณ์เคลื่อนที่นั้นเป็นปัญหาอย่างยิ่ง เนื่องจากเรามักจะใช้งานกว่าจะอยู่ใกล้ดวงตาของเรามากกว่า ดังนั้นบรรดาอุปกรณ์จำพวกสมาร์ทโฟนและแล็ปท็อปมักจะทำให้เกิดอาการมากกว่า
วิธีการรักษาอาการจากการจ้องหน้าจอ
อย่างไรก็ดี มาตรการป้องกันที่คุณสามารถใช้แก้ปัญหาด้านการมองเห็นและการนอนหลับที่เกิดจากการจ้องมองหน้าจอ มีแนวทางดังต่อไปนี้
1. เปิดไฟ
การเปิดไฟ ช่วยแก้ปัญหาอาการปวดตาและความเมื่อยล้าเรื้อรัง ขณะดูโทรทัศน์หรือภาพยนตร์บนคอมพิวเตอร์ให้ลองเปิดไฟ การเปิดไฟจากด้านหลังหน้าจอ การจัดแสงเพิ่มเติมจะช่วยลดความพยายามของดวงตาในการปรับระดับแสงที่เปลี่ยนไปของสิ่งที่คุณรับชม และการวางตำแหน่งแสงไว้ด้านหลังหน้าจอจะช่วยป้องกันแสงจ้าได้
2. นั่งห่างจากหน้าจอ
การนั่งชิดหน้าจอมากเกินไปก็เหมือนกับการจ้องมองในความมืด จะไม่ทำให้เกิดความเสียหายในระยะยาว แต่อาจทำให้เกิดความเครียดได้ หลีกเลี่ยงปัญหาด้วยการนั่งห่างจากหน้าจออย่างเหมาะสมขณะรับชม หากรับชมผ่านจอคอมพิวเตอร์ ควรรักษาระยะห่างประมาณ 1 เมตร สำหรับจอโทรทัศน์ขนาด 40 ถึง 50 นิ้ว ควรทิ้งระยะห่างประมาณ 2 ถึง 3 เมตร
3. ปฏิบัติตามกฎ 20-20-20
ระยะเวลาที่คุณใช้ดูหน้าจอสามารถสร้างบรรเทาและยับยั้งอาการทางดวงตาได้ การปฏิบัติตามกฎ 20-20-20 มีรูปแบบการปฏิบัติ คือ หลังจากการดูหน้าจอเป็นเวลา 20 นาที ให้หยุดพัก 20 วินาที เพื่อดูวัตถุซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 20 ฟุต การหยุดพักบ่อย ๆ จะทำให้ดวงตาได้พักผ่อน อันจะช่วยป้องกันอาการเมื่อยล้า
4. ดูหน้าจอให้น้อยลง
หากคุณพบว่าคุณกำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ National Sleep Foundation แนะนำให้เก็บอุปกรณ์มือถือของคุณไว้อย่างน้อย 30 นาทีก่อนเข้านอน การตัดแสงสีฟ้าออกไปจะทำให้เมลาโทนินทำงานเป็นปกติ
5. ใส่แว่นตาที่เหมาะกับค่าสายตา
ไม่ว่าคุณจะมีสายตาที่สมบูรณ์หรือสวมแว่นตาอยู่แล้ว การสวมเลนส์กรองแสงสีน้ำเงินย่อมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี ขณะดูโทรทัศน์ ใช้คอมพิวเตอร์ หรือเล่นโทรศัพท์ เลนส์เหล่านี้ไม่เพียงแต่ป้องกันแสงสีน้ำเงินที่เป็นอันตรายไม่ให้เข้าสู่ดวงตา แต่ยังช่วยลดอาการปวดตาด้วยการควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความสว่างและคอนทราสต์อีกด้วย
หากคุณประสบปัญหาเหล่านี้ หรือมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่หน้าจอสว่างอาจมีส่งผลต่อการมองเห็นของคุณ Thaiger ขอแนะนำให้คุณปฏิบัตัตามขั้นตอนข้างต้น เพื่อรักษาดวงตาของคุณ และถนอมสายตาให้ยังคงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ข้อมูลจาก neivision
- เช็กอาการ “ไข้หวัดใหญ่” รู้วิธีรับมือโรคที่มากับหน้าฝน พร้อมรักษาตัวยามป่วย
- สัตวแพทย์เตือน อย่าทิ้งอุจจาระสุนัข-แมว ลงชักโครก เสี่ยงทำคนป่วยหนักเพราะสิ่งนี้
- เหตุผลไม่ควรชาร์จมือถือตอนนอน ความร้อนสูง เสี่ยงระเบิดไม่คาดคิด