ข่าวภูมิภาค
วิทยาลัยเทคนิคถลาง เร่งผลิตช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน ป้อนอุตสาหกรรมการบิน
เมื่อเวลา 14.30 น.วันที่ 25 มิ.ย.61 พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษา ธิการ พร้อมด้วย นายสุเทพ ชิตยวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวะศึ กษา และคณะ เดินทางมายังวิทยาลัยเทคนิคถลาง อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เพื่อเยี่ยมชมและให้นโยบายการจั ดการเรียนการสอนหลักสูตรช่างอาก าศยาน ซึ่งเปิดสอนเป็นแห่งแรกในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึก ษา
พลเอกสุรเชษฐ์ กล่าวว่าการเดินทางมาตรวจเยี่ยม การเรียนการสอนของวิทยาลัยเทคนิ คภูเก็ตในวันนี้ เพื่อต้องการมาดูการเรียนการสอน หลักสูตรช่างอากาศยาน เพื่อส่งเสริมให้ประสบความสำเร็ จตามเป้าหมาย และจากการนำเสนอข้อมูลการเรียนก ารสอน ทำให้ทราบว่า หลักสูตรการเรียนการสอนช่างซ่อม บำรุงอากาศยานของวิทยาลัยเทคนิ คภูเก็ต เป็นการผลิตบุคลากรด้านช่างฯที่ ได้มาตรฐานเป็นที่ต้องการของตลา ด และวิทยาลัยเทคนิคถลาง เป็น 1 ใน 6 วิทยาลัยอาชีวะที่มีการเรียนการ สอนช่างบำรุงอากาศยานในเฟสแรก และจะมีการขยายต่อไปในเฟสที่ 2 ในจังหวัดที่มีสนามบิน
ส่วนกรณีที่มีการนำเสนอปัญหาด้า นการเรียนการสอนช่างซ่อมบำรุงอา กาศยานในเรื่องของครูผู้สอนที่ มีความรู้ความชำนาญค่อนข้างที่ จะขาดแคลน เนื่องจากค่าตอบแทนที่ต่ำกว่ากา รทำงานในภาคเอกชนนั้น ได้มอบหมายให้เลขาคณะกรรมการการ อาชีวะศึกษา รับไปดำเนินการในเรื่องนี้
นายณัฐพันธ์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ประธานกรรมการ บริษัท เคส เอวิเอชั่น จำกัด กล่าวว่า หลักสูตรช่างอากาศยานเกิดขึ้นได้ เพราะความตั้งใจของอาจารย์ที่ เป็นผู้หญิงตัวเล็กๆที่วิทยาลั ยเทคนิคถลาง และในช่วงแรกตนไม่เชื่อว่าจะสาม ารถเกิดหลักสูตรนี้ และสามารถบริหารจัดการให้สำเร็จ ได้ แต่เมื่อถึงเวลาต้องยอมรับว่าทำ สำเร็จแล้ว โดยส่วนตัวแล้วเป็นห่วงเรื่องครู ผู้สอน เพราะค่าตอบแทนน้อย ใครที่มีความสามารถด้านนี้ เมื่อเป็นช่างในสายการบินค่าตอบ แทนจะสูงกว่าการเป็นบุคลากรทางก ารศึกษาหรือครูผู้สอน จึงทำให้ไม่ค่อยมีใครคิดมาเป็นค รูในสาขานี้ จึงฝากรัฐมนตรีช่วยพิจารณาในเรื่องค่าตอบแทนสำหรับครูผู้สอนหลัก สูตรช่างอากาศยานด้วย
ด้าน นางสาวกชกร บุษราภรณ์ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคถล าง เปิดเผยว่า วิทยาลัยเทคนิคถลางได้ริเริ่มทำ หลักสูตรช่างอากาศ ร่วมกับ นายสุเทพ ยงยุทธ ผู้อำนวยการในขณะนั้น และนายสมศักดิ์ ไชยโสดา รองผู้อำนวยการ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 โดยจุดเริ่มต้นเกิดจากการแลกเปลี่ ยนพูดคุยในวงสนทนาระหว่างผู้บริ หารวิทยาลัยกับ พ.อ.อ.ดร.พชรภณ วีระกิจพานิช นายช่างอากาศยาน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ประจำสถานีภูเก็ต ซึ่งเรียกร้องความต้องการของการ ใช้บุคคลกรและให้ข้อมู ลการขาดแคลนบุคคลากรในวงการบิ นจนตกผลึกร่วมกันและทำหลักสู ตรด้วยกัน พร้อมทั้งดึงเครือข่ายคณาจารย์ม าสนับสนุนการสอน จนกระทั้งปัจจุบันได้เสนอหลักสู ตรต่อคณะกรรมการการอาชีวะศึกษาใ นปี 2558 ได้รับอนุมัติและปรับปรุงให้เป็ นหลักสูตรอินเตอร์เท่ากับการเรี ยนการสอนทั่วโลกตามมาตราฐานการบิ นพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)
โดยปัจจุบัน มีนักศึกษาจบหลักสูตรช่างอากาศย านแล้วสองรุ่น โดยรุ่นแรกจบการศึกษา จำนวน 22 คน ได้ทำงานในอุตสาหกรรมการบินทั้ง 22 คน ส่วนรุ่นที่ 2 จบการศึกษาทั้งสิ้น 27 คน ขณะนี้กำลังทยอยเข้าทำงานตามสาย การบินต่างๆ และเป็นที่น่าสังเกตว่า รุ่นแรกที่จบการศึกษาไปนั้น มีอัตราเงินค่าตอบแทนจาการทำงาน ที่สูงกว่าสาขาช่างอื่นหลายเท่ าตัว”
นายวิทยา เกตุชู ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคถลาง กล่าวว่า กำลังเริ่มทำหลักสูตรธุระกิจการ บิน ซึ่งเป็นหลักสูตรของการอาชีวศึก ษาแห่งแรกเช่นกัน หลักสูตรนี้สามารถเชื่อมโยงจากพื้ นฐานอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ในปี 2562
การผลิตบุคลากรป้อนตลาดแรงงานอุ ตสาหกรรมการบิน ของวิทยาลัยเทคนิคถลาง เป็นไปตามนโยบายของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการสนับสนุนให้มีสถานที่ ซ่อมบำรุงอากาศยานขนาดใหญ่ในประ เทศไทย และล่าสุดเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่ า นายกรัฐมนตรี ได้เป็นสักขีพยานการลงนามร่วมทุ นระหว่างบริษัท แอร์บัส ประเทศฝรั่งเศล และบริษัท การบินไทย โดยผุดศูนย์ซ่อมอากาศยานขนาดใหญ่ ที่อู่ตะเภา จ.ชลบุรี