ศิริกัญญา ซัด “นโยบายเงินดิจิทัล 10000” เสี่ยงเงินเฟ้อยุคแจกไฮเทค ไม่ต่าง “คนละครึ่ง”
ศิริกัญญา ก้าวไกล อภิปรายนโยบายเงินดิจิทัล 10000 จะหาอะไรมาแบ็คอัพมูลลค่า เทียบเสี่ยงเจอเงินเฟ้อในโลกดิจิทัลไม่ต่างกับ โครงการคนละครึ่ง แถมจะหนักกว่า
วันที่ 11 ก.ย.66 นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะฝ่ายค้านลุกขึ้นได้เปิดอภิปรายนโยบายดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท กลางที่ประชุมรัฐสภาวันนี้ ซึ่งรองหัวหน้าพรรคก.ก. เริ่มเปิดประเด็นโดยเติ่มจากชี้แจงว่า นโยบายแจกสกุลเงินดิจิตอลจำนวน 1 หมื่นบาทดังกล่วานั้น
อันดับแรกจำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล 560,000 ล้านบาท โดยไม่ว่าจะออกแบบให้ใช้งานอย่างไร แบบเติมเงินอีมันนี่ (E-Monney) หรือสุดท้ายจะใช้หรือไม่ใช้ “บล็อกเชน (Blockchain)” จำเป็นจะต้องมีเงินสดมากองไว้เต็มจำนวนเพื่อเป็นการแบ็คอัพมูลค่าของเงิน ในการรับรองเงินจำนวน 1 บาทในโลกความเป็นจริงจะเท่ากับ 1 บาทในโลกดิจิทัล
“ถ้าท่านไม่สามารถนำเงินทั้ง 5 แสน 6 หมื่นล้านฯ มาแบคอัพได้ในทันที จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของร้านค้าที่จะรับขึ้นเป็นเงินสดหรืออะไรก็ดี แลกไม่สะดวกหรือกังวลว่ารัฐจะไม่มีเงินมาให้แลกในเมื่อเขาต้องการ และเมื่อไหร่ที่เกิดขึ้นแบบนั้น 1 บาทดิจิทัล จะไม่เท่า 1 บาท ในโลกจริงทันที”
“ยกตัวอย่างเช่น เราใช้เงินสดซื้อก๋วยเตี๋ยว 1 ชาม ราคา 50 บาท ถ้าแม่ค้ารู้สึกว่าแลกยากแลกเย็นเหลือเกินกว่าจะได้เงินสดกลับมา ก๋วยเตี๋ยว 1 ชามก็อาจจะมีราคามากกว่า 50 เหรียญดิจิทัล ประชาชนจะเสียโอกาสและผลประโยชน์ทันทีเพราะว่าเงินงบประมาณจ่ายไปแล้ว แต่ประชาชนได้ประโยชน์ไม่ถึง 5 แสนหกหมื่นล้านบาท เกิดเป็นเงินเฟ้อในโลกดิจิทัล”
ศิริกัญญา ยังระบุถึงปัญหาเงินเฟ้อในโลกดิจิทัลที่อาจจะเกิดขึ้นกับนโยบายแจกเงินดิจิทัลของรัฐบาลนายเศรษฐา เหมือนเมื่อครั้งเคยเกิดขึ้นมาแล้วกับโครงการแจกเงิน “คนละครึ่ง” สมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่บรรดาพ่อค้าแม่ค้าขอเงินค่าบริการเพิ่มเติม เช่น การขอชาร์จค่าอินเตอร์เนท แต่ถ้าจ่ายเงินสดไม่มีชาร์จเพิ่ม ซึ่งต่อมาสร้างความยุ่งยากจนเกิดปัญหาการขึ้นราคาสินค้าตามมา
อย่างไรก็ตาม หัวหอกทีมเศรษฐกิจหญิงของก้าวไกลยังชี้ชัดไปอีกว่า
แต่นโยบายเงินไฮเทคนี้ ! จะรุนแรงกว่า เพราะเพียงแค่ข้อกำหนดกฎเกณฑ์ การแลกเงินดิจิทัลเป็นเงินสดก็ลำบากมากพอแล้ว ยิ่งถ้าประชาชนไม่เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะมีเงินสดมากพอก็จะยิ่งทำให้เดือดร้อนกันไปอีก
ดังนั้น ศิริกัญญา จึงอภิปรายต่อถึงแหล่งที่มาของเงิน เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจในการแบ็คอัพมูลค่าเงินดิจิทัลพร้อมกับสร้างความชื่อมั่นให้ประชาชน โดย ส.ส.หญิงก้าวไกล เปิดประเด็นย้อนกลับหาแหล่งที่มาที่ทางพรรคเพื่อไทยเคยหาเสียงไว้ตอนเลือกตั้ง
โดยที่ต้องอ้างอิงจากตอนหาเสียงเนื่องจากแถลงโนยาบยรัฐบาลเศรษฐา1 ไม่มีการระบุถึงแหล่งที่มาของเงินในการดำเนินโยบายชูโรงนี้แต่อย่างใด
ศิริกัญญา กล่วาถึงแหล่งที่มา เงินสกุลดิจิทัล โดยยึดข้อมูลจากตอนหาเสียง มีดังนี้
- 260,000 ล้านบาท จากภาษีที่เก็บได้เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศ ประมาณของสำนักงานงบประมาณ
- 100,000 ล้านบาท จากภาษีนิติบุคคลและมูลค่าเพิ่มที่ได้จากโครงการนี้ โดยคาดการณ์จากเงิน ดิจิทัลที่แจกไปจะมีการซื้อขายหมุนเวียนในเศรษฐกิจมากกว่า 2.7 รอบ
- 110,000 ล้านบาท จากการบริหารจัดการงบประมาณเดิมที่ไร้ประสิทธิภาพ
- 90,000 ล้นาบาท จากการบริหางานงบประมาณสวัสดิการที่ซ้ำซ้อน
ประเด็นแรก เรื่องเก็บภาษี 260,000 ล้านบาท นางสาวศิริกัญญา ระบุ สามารถเก็บภาษีได้เป้าก็จริง แต่ในส่วนของงบประมาณเพิ่มจริงแค่แสนกว่าล้านบาทเท่านั้น ยกเว้นรัฐบาลชุดนี้จะขยายการขาดดุล ขยายการกู้ชดเชยขาดดุลเพิ่มตรงนี้ก็ขอให้ตอบกับประชาชนด้วย
ส่วน 1 แสนล้านบาทที่สองจากภาษีนิติบุคคลและมูลค่าเพิ่มหลังจบโครงการ ดังนั้น ศิริกัญญามองว่าก็มีโอกาสที่วันที่ 1 ก.พ. 2567 อาจจะยังไม่มีเงินสดมาแบคอัพเงินดิจทัลจำนวนทั้งหมดได้
เช่นเดียวกับอีก 2 แหล่งที่มาของเงินซึ่งทางส.ส.จากพรรก้าวไกล ย้ำชัดเจรนว่ามีปัญหาแน่นอน
นอกจากนี้ หากจะให้มีเงินสด 560,000 ล้านบาท ต้องลดรายจ่ายครึ่งหนึ่งและพคงพอแต่จ่ายเงินเดือนข้าราชการ แต่อาจจะกู้แบบชดเชยล่วงหน้า และจะเสียดอกเบี้ย ส่วนเงินคงคลังก็มีไม่มาก***
ส่วนทางเลือกที่ 2
- ถ้าใช้เงินนอกงบประมาณ ขายกองทุนวายุภักษ์ 346,000 ล้านบาท หรือเลือกระหว่างการล้วงกระเป๋าผู้ประกันตน และกองทุนประกันสังคม หรือการกู้แบงก์รัฐ กรอบการเงินคลังให้กู้ได้ 32% ของงบ ซึ่งสิ้นปี 65 วงเงินเหลือ 62,000 ล้านบาท ตอนนี้เหลือเพียง 18,000 ล้านบาท แต่คงไม่สง่างาม
สามารถติดตามกันประชุมสภาวันนี้ (11 ก.ย.66) สด ได้ที่นี่.
ภาพ : วิทยุรัฐสภา
- ปดิพัทธ์ แต่งเต็มต้อนรับน้องนักเรียน เยี่ยมห้องประชุมสภาผู้แทน
- วันนอร์ ฉุนขาด สส.ก้าวไกล ประท้วงใช้คำรู้เห็นเป็นใจเสียงข้างมาก
- วิโรจน์ ทำประชุมสภาฮาครืน เห็นสว. มาลงชื่อ 49 คน ร้องเสียงหลง