“แก้ม ลูกไก่ทอง” หลั่งน้ำตา-ขออโหสิร้านเล็ก ตั้งใจปั้นแบรนด์เพื่อคนไทย ยันไม่รับเงิน 102 ล้าน
โหนกระแสวันนี้ แก้ม กาญจนา เจ้าของแบรนด์ปังชา Pang Cha ที่กำลังเป็นดราม่า เคลียร์จบทุกประเด็นฟ้องเหนือจรดใต้ ยกมือไหว้ขอโทษผู้ประกอบการ เจ้าของร้านค้ารายย่อย ทุกอย่างขอรับผิดแต่ผู้เดียว ทำไปทั้งหมดแค่อยากปั้นแบรนด์ ฟูมฟายกับสิ่งศักดิสิทธิ์ทั้งน้ำตา จากนี้ใครอยากเอาคำนี้ไปใช้ ใช้ได้เลย
รายการโหนกระแส วันที่ 31 สิงหาคม 2566 “แก้ม” กาญจนา ทัตติยกุล ผู้ก่อตั้งผู้ก่อตั้งแบรนด์ Pang Cha (ปังชา) ที่กำลังเป็นดราม่าร้อนส่งโนติสถึงผู้ประกอบการรายย่อย ได้เดินทางมาที่สตูดิโอของ “หนุ่ม” กรรชัย กำเนิดพลอย เพื่อออกมารับผิดชอบต่อปัญหาที่กำลังลุกลามเป็นข่าวที่สังคมเฝ้าจับตาทางออกของปัญหาน้ำผึ้งหยดเดียว ซึ่งมีสารตั้งต้น คือ คำว่า “สิทธิบัตร” และ “ลิขสิทธิ์ทางปัญญา”
“แก้ม” กล่าวทันที หลังจากร่ายยาวรายชื่อสิ่งศักสิทธิ์ทั้งหลายต่อหน้าแขกรับเชิญ พิธีกร และตากล้องในรายการจนเสร็จสิ้น เจ้าของแบรนด์นำแข็งใสรสชาติชาไทยที่กำลังมีประด็นก็ได้ยกมือไหว้พร้อมกับกล่าวคำขอโทษ ยอมรับผิดต่อสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด และขอรับผิดชอบเรื่องที่เกิดขึ้นนี้แต่เพียงผู้เดียว
“ขออภัยพ่อขุนเม็งราย นะคะ พี่ไม่โกหก ด้วยบารมีขององค์หลวงปู่ทวด พี่ขออโหสิกรรมในสิ่งที่พี่ทำ สิ่งศักสิทธิ์และพี่ไหว้มาตลอด พี่ไม่ได้เฟคส์ (Fake) พ่อขุนเม็งราย วัดห้วยปลากั้ง องค์พระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม ถ้าท่านฟังอยู่ ลูกขออภัย ขอขมาต่อน้อง ๆ ทั้งที่นี่ ทางใต้ สงขลา”
“หากความผิดพลาดที่พี่ทำ ด้วยความตั้งใจในการสร้างแบรนด์ สร้างแบรนด์เพื่อประเทศไทย ไม่ใช่เพื่อตัวเองคนเดียว แล้วทำให้น้อง ๆ มีความทุกข์ ทำให้พี่มีความทุกข์ พี่ขอรับผิดเพียงคนเดียว คือ ไม่มีอะไรจะกล่าวมากกว่านี้ ค่ะ”
เปิดอกจากใจจริง คิดแต่ทำยังไงให้แบรนด์ชาไทยมีคุณค่า
หลังจากกล่าวขอโทษพร้อมกับแสดงความรับผิดชอบตัวสั่นน้ำตาไหลพรากต่อหน้าผู้ชมทางบ้านและแขกรับเชิญในรายการแล้ว เจ้าของแบรนด์ คุณแก้ม ยังระบุสิ่งที่ทำทั้งหมดเธอไม่ได้ต้องการทำร้ายคนรวยหรือคนจน สมัยทำงานเริ่มแรกด้วยเงินเดือน 8,000 บาท เป็นแรงบันดาลใจในการทำงานที่อยากจะสร้างแบรนด์
หญิงวัยกลางคนซึ่งยืนแจกแจงข้อคาใจในหลาย ๆ ประเด็นลิขสิทธิ์ ยังกล่าวเสริมด้วยว่า ตัวเธอนั้นมีความเชื่อมั่นในแบรนด์ปังชาที่เป็นภูมิปัญาของคนไทย แต่หลาย ๆ คนมองข้าม วันที่ไปจดสิทธิบัตร คือ อยากให้ชาไทยไปไกลเหมือน “ต้มยำกุ้ง” ที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ
“พี่ไปจดสิทธิบัตรทุกอย่าง พี่มองแค่ว่า วันหนึ่งต่างชาติต้องเอาชาไทยเราไปเหมือนต้มยำกุ้ง พี่ทำตั้งแต่ปี 2557 ลองไปเสิร์ชดูที่กรมได้ค่ะ พี่ไมได้เอาไปแกล้งพวกน้อง”
“แต่พี่รู้ว่าทุกคนต้องมีเครื่องหมายการค้าของตนเอง ไม่เช่นนั้นทุกคนจะทำธุรกิจได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟถุง กาแฟชาชัก พี่พูดจากใจจริงที่สุด วันหนึ่งมีโอกาสได้แต่งงาน พี่ก็ทำทุกอย่างเพื่อจดแบรนด์ การจดลิขสิทธิ์ ถึงวันนี้พี่โดนแต่ลิขสิทธ์สำคัญทุกอย่าง
“หากวันนี้พี่โดน พี่ขอให้เป็นบทเรียนที่เป็นความผิดของพี่ แต่ขอให้ทุกคนเห็นความสำคัญของสิทธิบัตร นี่คือสิทธิและก็เครื่องหมายการค้า..” แก้ม เจ้าของแบรนด์ปังชา ระบุ
ทั้งนี้ ในรายการประเด็นเรื่องลิขสิทธิ์ชื่อ “ปังชา” สุดท้าย สรุปจบทางซีอีโอผู้ก่อตังแบรนด์ Pang Cha ยืนยันทุกคนสามารถนำไปใช้ประกอบธุรกิจตลอดจกิจการต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องตามกฏหมายและไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ใด ๆ ทั้งสิ้นจากทางแบรนด์ของเธอเอง
ส่วนเรื่องที่มีการพาดพิงว่าทางแบรนด์ของคุณแก้มเองก็คล้ายจะจงใจลอกเลียนแบบโลโก้ปฏิทินสุรายี่ห้อหนึ่งซึ่งออกแบบไว้มาเนิ่นนาน แต่ถูกนำมาใส่เป็นโลโก้สินค้าของทางแบรนด์ตัวเอง
ประเด็นนี้ซีอีโอหญิงอธิบายเรื่องทั้งหมดเกิดจากเธอเป็นคนออกไอเดียว่าแล้วจึงจ้างบริษัทออกแบบดำเนินการต่อ โดยจุดประสงค์ คือ ต้องการให้แสดงออกถึงความเป็นไทยแต่สุดท้ายก็มาเป็นประเด็นสืบเนื่องตามที่มีการนำเสนอข่าว
ขณะที่เรื่องถ้วยไอศกรีมที่มีการยื่นหนังสือทวงถาม ให้นำออกจากทางร้าน ห้ามใช้บริการเชิงธุรกิจ มุมนี้ ทักษอร สมบูรณ์ทรัพย์ นิติกรชำนาญการ จากกรมทรัพย์สินทางปัญญาก็ให้ข้อสรุปชัดเจนว่า ไม่เป็นการละเมิดหรือลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ์ที่ทางร้านหรือแบรนด์ของคุณแก้มได้จดแจ้งไว้แต่อย่างใด สามารถนำมาใช้เสิร์ฟ ตลอดจนบริการให้กับลูกค้าได้ปกติ.
ขอบคุณคลิป : โหนกระแสวันนี้ 1 กันยายน 2566.
- โหนกระแสปังชาดูกันทะลัก ร้านเล็กรวมตัวแน่นเคลียร์จบวันนี้
- ร้านไก่ทอง ชี้แจงคนละร้านกับร้านลูกไก่ทอง
- รัวไลค์กันสนั่น ไผ่ทอง หนม ปังชา ไม่สงวนสิทธิ์ความอร่อย
- ครูบิ๊ก ถามโลโก้ปังชาคล้ายภาพหญิงไทยนั่งพับเพียบ
- ตัวแทนจดทะเบียนฯ ปังชา แจงชัด เจตนายื่นโนติสร้านอื่น-ทำทำไม
- สรุปจบดราม่าลิขสิทธิ์ ปังชา ทนายนิด้าร่ายยาว 2 อีพี.