แคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย 3 ชื่อนี้ เก็งใครจะถูกเสนอชื่อ โหวตนายก 27 ก.ค.
เปิด 3 รายชื่อแคนดิเดตนายกเพื่อไทย เศรษฐา แพธองธาร ชัยัฒน์ เก็งใครจะถูกเสนอชื่อ โหวตเลือกตำแหน่งผู้นำประเทศคนที่ 30 รอบที่ 3 ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2566
ภายหลังจากประตูสู่เก้าอี้นายกฯ ตัวที่ 30 ของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคก้าวไกล เป็นอันสิ้นสุดลงอย่างน้อย ๆ ก็จนกว่า ศาลรัฐธรรมนูญ จะมีคำตัดสินชี้ขาด กรณีปมถือหุ้นสื่อไอทีวี (Itv) นั้น จะมากพอจนทำให้ถูกตัดสิทธิทางกรเมืองหรือไม่
ส่งผลให้นาทีนี้ ประเด็นสำคัญ โดยเฉพาะกับการโหวตเลือกนากยกฯ ที่จะมีขึ้นอีกครั้ง เป็นรอบที่ 3 จากการเปิดเผยของ วันมูหะหมัดนอร์ มะทา ประธานสภา จะมีขึ้นในวันที่ 27 ก.ค.2566 หน้าที่พรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นบทบาทของ เพื่อไทย พรรคที่ได้คะแนนเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พ.ค. มาเป็นพรรคการเมืองอันดับ 2 เลยหรือไม่
อย่างไรก็ตาม แม้กระแสอาจมีพลิกไปมาได้เสมอ สำหรับเกมชิงอำนาจ การเมืองไทย ภายใต้ระบอบรัฐสภาเป็นตัวขับเคลื่อน แต่นาทีนี้ ชื่อของ เศรษฐา ทวีสิน, แพทองธาร ชินวัตร, ชัยเกษม นิติสิริ ก็กลายมาเป็น 3 รายชื่อแคนดิเดตที่มีการคาดหมายว่า ใครสักคนจากสามรายชื่อนี้จะถูกเสนอชื่อฏโหวตเลือกนากยก แทนที่แม่ทัพคนเก่าอย่าง “พิธา” ที่มีอันต้องถูกปิดกั้นสิทธิทำหน้าที่ ส.ส. ไป ตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
วิเคราะห์ เศรษฐา – อุ๊งอิ๊ง – ชัยเกษม ใครจะทะลุปล่อง เอาชื่อไปโหวตนายกฯ
ย้อนกลับไป เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2566 แคนดิเดตนายกฯ เพื่อไทย ซึ่งประกอบด้วยสามรายชื่อที่ได้กล่าวไป ได้ปรากฏภาพขึ้นรถแห่หาเสียงภายหลัง สมัคร ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ และจับสลากเบอร์พรรค โดยพร้อมเพรียงกัน
สำหรับ “นิด” เศรษฐา ทุกคนต่างทราบดีว่า ปัจจัยส่งก็ไม่พ้นเครือข่ายคอนเคชั่นภาคเอกชน ในฐานะเจ้าพอ่อสังหาริมทรัพย์อดีตผู้บริหารแสนสิริ แต่จุดด่างพล้อยที่อาจเจอก็จะมีบ้างอาทิ ไม่เคยขึ้นเวทีดิเบต โชว์วิสัยทัศน์
ขณะที่ อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร บนอายุ 37 ปี ปัจจัยส่งที่พอจะทำให้มีน้ำหนักในการเป็นตัวแทนเอาชื่อไปเสนอโหวตผ่านสภา คือ ได้รับแรงสนับสนุนจากทั้งแกนนำ และ ส.ส. ของพรรค แทบจะเป็นเอกฉันท์ในฐานะ “ผู้นำรุ่นใหม่ของเพื่อไทย” แต่ก็ปฏิเธไม่ไดเ้ฃ้ว่าอีกตัวแปรสำคัญ คือ นายทักษิณ ชินวัตร บิดาและอดีตนายกฯ ที่เป็นทั้งตัวแปรในแง่ของประจถุบวก-และลบ ในห้วงเวลาเดียวกัน
ปิดท้ายด้วยชื่อของ ชัยเกษม นิติสิริ แคนดิเดตที่แสงปอร์ตไลค์ทางการเมืองสาดซัดและจับจ้องมาน้อยสุด เมื่อเทียบกับ 2 เบอร์แรก
อย่างไรก็ตามปัจจัยส่งให้ “ประธานยุทธศาสตร์และทิศทางการเมือง วัย 74 ปี” คือ การได้รับความไว้วางใจจากผู้มีอำนาจในพรรค พท. ทั้งในแง่ผลงานในอดีตที่ไม่มีจุดให้ตำหนิติเตียนได้ และเป็นคนไม่มีเงื่อนไข-ไม่ต่อรอง เน้นทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเทียบกับสถานการณ์ชิงชัย ณ ตอนนี้ ก็ต้องยอมรับว่า จะมองข้ามแคนดิเดตชิงนายกอาวุโสผู้นี้ไม่ได้
ทั้งนี้ การเปิด 3 รายชื่อแคนดิเดต โหวตชิงเก้าอี้นายกฯ ของเพื่อไทยที่แม้ต่อมาจะมี 1 รายชื่อถูกเสนอและนำไปลงคะแนนผ่านระบอบการลงมติในรัฐสภา ทว่า ในแง่ของผลลัพธ์ก็ยังไม่มีอะไรการันตีได้ว่า รายชื่อที่พรรคการเมืองอันดับ 2 อย่าง พท. เสนอไป จะสามารถฝ่าด่านลงมติของ สมาชิกวุฒิสภา หรือ สว. ที่เคยเป็นทางตันของพิธาและ “ก้าวไกล” หนึ่งในพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลของเพื่อไทยเองมาแล้ว
ยังไม่นับรวม “เสียงค้าน ไม่เห็นชอบ” จากขั้วฝ่ายอำนาจเดิม ที่ห้วงขณะนี้กำลังถูกจับตาว่า จะมีการ “พลิกขั้ว” เปลี่ยนฝ่ายจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพรรคการเมืองอย่าง “พลังประชารัฐ” หรือ “ภูมิใจไทย” เป็นตัวแปรในสูตร การกรุยทางสู่ตำแหน่งอำนาจสูงสุดเก้าอี้นายกฯ ผู้นำประเทศคนที่ 30 ของฝั่งพรรคเพื่อไทยหรือไม่.