ข่าวภูมิภาค
ศูนย์ PIPO ภูเก็ต แจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษไต๋เรือเหตุสงสัยฝ่าฝืน พ.ร.ก.การประมง
เมื่อเวลา 9.30 น.วันที่ 19 พ.ค. ที่ศูนย์ PIPOพลเรือเอกพิเชษ ตานะเสรษฐ เสนาธิการทหารเรือ พร้อมคณะลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็ จจริง กรณีมีการนำเสนอคลิปวีดีโอในสื่ อออนไลน์ และโซเชียลมีเดีย มีการนำฉลามวาฬขึ้นบนเรือประมง โดยเหตุเกิดในพื้นที่จังหวัดภู เก็ต เมื่อวานที่ผ่านมา ( 18 พ.ค.) โดยมี น.อ.ภุชงค์ รอดนิกร หัวหน้าฝ่ายนโยบายและแผน ศรชล.เขต 3 เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ PIPO เจ้าหน้าที่จากสำนักงานประมงจั งหวัดภูเก็ต เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเจ้าท่ าภูมิภาคที่ 5 สาขาภูเก็ต และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมชี้แจ้งข้อเท็จจริงที่เกิ ดขึ้น
โดยเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ PIPO ภูเก็ต แจ้งว่า หลังมีการแชร์ภาพและคลิ ปการนำฉลามวาฬขึ้นมาบนเรือทางศู นย์ได้ตรวจสอบเรือดังกล่าวแล้ วพบว่าเป็นเรือประมงอวนลาก ชื่อเรือ แสงสมุทร 3 มีนายสมสมัย มีจอม เป็นผู้ควบคุมเรือ มีลูกเรืออยู่บนเรือจำนวน 13 คน จากการตรวจสอบโดยชุด สหวิชาชีพของศูนย์พบว่าเรือแจ้ งออกจากท่าเมื่อวันที่ 11 พ.ค.และ ได้แจ้งเข้าไว้ในวันที่ 22 พ.ค.นี้ แต่เรือได้ขอแจ้งเข้าในเวลา 22 .00 น. วันที่ 18 พ.ค. เพื่อขึ้นสัตว์น้ำซึ่ งผลการตรวจสอบของสหวิชาชีพไม่ พบการกระทำผิด
ส่วนกรณีสัตว์น้ำที่ปรากฎในคลิ ปนั้นเป็นฉลามวาฬที่ติดอวนขึ้ นมาจริง แต่ทางไต๋เรือแจ้งว่าได้ปล่ อยลงทะเลไปแล้ว ซึ่งในเรื่องนี้ทางชุดสหวิชาชี พพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นการกระทำอันเป็นเหตุน่าสงสั ยว่าเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 66 ประกอบการเกษตร เรื่องการกำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์น้ำหายาก หรือใกล้สูญพันธ์ที่ห้ามจับ หรือนำขึ้นเรือประมง พ.ศ.2559 ข้อ 2 อนุ 4 ปลาฉลามวาฬ
โดยขณะนี้ จ่าเอกสุชาติ เพชรสวน หัวหน้าชุดตรวจสหวิชาชีพ ได้ไปแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ ลงบันทึกประจำวันไว้ที่ สภ.เมืองภูเก็ต เมื่อวันที่ 19 พ.ค.61 เวลา 02.00 น. แล้ว ส่วนเรือแสงสมุทร 3 และเรือแสงสมุทร 2 รวมทั้งสัตว์น้ำที่ได้ จากการทำประมง ได้สั่งกักเรือไว้แล้วเนื่ องจากอยู่ระหว่ างการสอบสวนและดำเนินคดี ตามกฎหมาย โดยขณะนี้ได้มีการโอนคดีไปยั งสถานีตำรวจภูธรฉลองแล้วเนื่ องจากเหตุเกิดในพื้นที่ความรั บผิดชอบของ สภ.ฉลอง
ส่วนกรณีมีการแชร์ว่าฉลามวาฬตั วดังกล่าวมีลูกหลุดออกมาจากช่ องคลอด เจ้าหน้าที่จากศูนย์ PIPO ชี้แจงว่า จากการสอบถามไต๋เรือ ระบุว่าก้อนสีขาวๆที่เห็นอยู่ บริเวณส่วนท้องของฉลามนั้นเป็ นทุ่นผูกอวนไม่ใช่ลูกฉลามแต่อย่ างใด ส่วนกรณีที่บอกว่าพยายามแล่นเรื อหนี จากการสอบถามก็ทราบว่าไม่มี การแล่นเรือหนีแต่อย่างใด แต่จำเป็นต้องแล่นเรือเพื่อไม่ ให้เรือทรงตัวอยู่ได้ในขณะที่ เอียงเรือเพื่อปล่อยฉลามกลั บลงทะเล แต่ถ้าปล่อยเลยโดยไม่มีการดึ งเชือกไว้อาจจะทำให้ฉลามติดอยู่ ที่กราบเรือซึ่งจะทำให้เรือเอี ยงได้
ขณะที่ น.อ.ภุชงค์ รอดนิกร หัวหน้าฝ่ายนโยบายและแผน ศรชล.เขต 3 กล่าวว่า สำหรับในส่วนของฉลามวาฬตัวดั งกล่าว จากการสอบถามไต๋เรือทราบว่ามี การปล่อยลงทะเลและว่ายน้ำ หายไปหลังจากที่มีการปล่อย แต่ตอนนี้ยังไม่สามารถชี้ชัดได้ ว่าจะยังมีชีวิตอยู่ หรือเสียชีวิตแล้ว เพราะจนถึงขณะนี้ยังไม่ปรากฏตั วปลาให้เห็น ซึ่งได้มีการขอความร่วมมือในส่ วนของศร.ชล,เขต 3 ทุกหน่วยงานให้ช่วยกันตรวจสอบ รวมทั้งประสานไปยังเรือท่องเที่ ยว เรือประมง รวมทั้งมีการจัดเรือลาดตระเวน เพื่อตรวจสอบหาฉลามวาฬตัวดังกล่ าวแล้ว เพราะถ้าฉลามวาฬเสียชีวิตจะต้ องมีซากลอยขึ้นมาซึ่งอาจจะต้ องใช้เวลา 6 – 7 วัน
นอ.ภุชงค์ กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมายังไม่เคยมีคดีแบบนี้ เกิดขึ้น แต่ก็ได้มีการเฝ้าระวังและติ ดตามมาตลอด เพราะเกรงว่าจะมีการจั บและการขายเกิดขึ้นจึงให้เรือที่ ลาดตระเวนตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา สำหรับเรือลำที่เกิดเหตุ จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่ าทำการประมงอยู่ในเขตที่กำหนด ส่วนจะมีเจตนาในการจับฉลามหรื อไม่ต้องให้ทางพนั กงานสอบสวนดำเนินการ ซึ่งทางไต๋เรือเองอ้างว่าฉลามติ ดอวนมาและได้ปล่อยกลับลงทะเลแล้ ว ส่วนกรณีที่มีการผู้เชือกที่ หางนั้นจากการสอบถามก็แจ้วว่าผู กเพื่อใช้เครนยกปลาปล่อยลงทะเล เพราะปลาตัวใหญ่ไม่สามารถใช้ แรงคนยกได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้ นจากการตรวจสอบข้อมูลพบว่าเกิ ดขึ้นในเวลาประมาณ 14.00น. ของวันที่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยจุดที่ลากอวนขึ้นอยู่ทางด้ านทิศตะวันตกของเกาะราชา อ.เมือง จ.ภูเก็ต
ขณะที่ตัวแทนจากสำนักงานประมงจั งหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จากการตรวจสอบข้อมูล เรือดังกล่าวออกไปจับปลาตั้งแต่ วันที่ 11 – 18 พ.ค. ปลาที่จับได้ส่วนใหญ่เป็นปลาเป็ ด โดยจับปลาได้ประมาณ 20,000 กิโลกรัม และ จากการตรวจสอบไม่พบชิ้นส่ วนของฉลามวาฬอยู่บนเรือแต่อย่ างใด เครื่องมือจับปลาก็ถูกต้ องตามที่กฎหมายกำหนด
อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นทางคณะได้เดินทางต่ อไปยังท่าเทียบเรือ ซึ่งเป็นจุดที่กัดเรือลำดังกล่ าวไว้ ซึ่งได้มีการสอบถามในส่วนของไต๋ เรือถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยนาย สมสมัย มีจอม ไต๋เรือ กล่าวว่า ครั้งแรกไม่ทราบว่ามีฉลามติ ดมากับอวนที่ลูกเรือดึงขึ้นมา แต่รู้สึกว่าน้ำหนักมากตอนแรกคิ ดว่าเป็นท่อนไม้ก็ดึงอวนขึ้ นมาบนเรือ แต่เมื่อเห็นเป็นปลาฉลามก็รู้สึ กตกใจ จึงเร่งให้ลูกเรือเร่งปล่อยกลั บลงทะเลโดยใช้เวลาประมาณ 10 นาที ส่วนสาเหตุที่ต้องใช้เชือกผู กหางก็เพื่อใช้เครนช่วยยก เพราะฉลามตัวใหญ่คนมีน้อยไม่ สามารถเอาลงทะเลได้ ซึ่งเรือตนได้ดึงอวนขึ้นมาในช่ วงเวลาประมาณ บ่ายสามโมงเกือบบ่าย 4 โมง จำเวลาไม่ได้แน่นอน แต่ก็เร่งปล่อยกลับโดยเร็วที่สุ ด และยืนยันว่าฉลามไม่ตายแต่อย่ างใด
ด้าน พล.ร.อ.พิเชฐ ตานะเศรษฐ เสนาธิการทหารเรือ กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจสอบข้ อเท็จจริง ว่า ด้วยได้รับข้อสั่งการจากพล.ร.อ. นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์บั ญชาการแก้ไขปั ญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) ซึ่งมีความเป็นห่วงต่อกรณีที่ เกิดขึ้นดังกล่าว จึงสั่งการให้ ลงพื้นที่มาติดตามข้อเท็จจริง เบื้องต้นจากการพูดคุยกับไต๋เรื อ ซึ่งเล่าว่า ปลาตัวดังกล่าวติดอวนขึ้นมา โดยมีขนาดความยาวประมาณ 2 เมตร เมื่อเห็นเป็นฉลามวาฬจึ งพยายามนำกลับลงสู่ทะโดยใช้ต้ องใช้เครนยกเพราะมีน้ำหนัก โดยใช้เวลากว่า 10 นาที จึงสามารถปล่อยกลับทะเลได้ โดยปลาไม่ได้รับบาดเจ็บ ส่วนที่มีการระบุว่า เห็นมีลูกปลาหลุดจากตัวนั้นในส่ วนของทางไต๋กและลูกเรือไม่เห็ นแต่อย่างใด
ส่วนการดำเนินการตามกฎหมายนั้ นหลังตรวจสอบเรือและสอบปากคำลู กเรือก็ได้มีการแจ้งความดำเนิ นคดี และอยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็ จจริงของพนักงานสอบสวนตามขั้ นตอน ทั้งนี้ต้องดูทั้งเรื่ องเจตนาและพฤติกรรมอย่างอื่นร่ วม รวมถึงประวัติในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งจะต้องให้เกิดความเป็นธรรม
โดยขณะนี้พนักงานสอบสวนอยู่ ระหว่างสอบปากคำผู้เกี่ยวข้ องและรวบรวมพยานหลั กฐานประกอบการพิจารณา หากพบกระทำความผิดจริง ก็จะดำเนินการตามข้อกฎหมายที่ กำหนด ซึ่งจากที่ตรวจสอบเป็นโทษปรับขั้ นต่ำที่ 3 แสนบาทไป ถึง 3 ล้านบาท หรือประมาณ 5 เท่าของมูลค่าสัตว์น้ำ ในส่วนของเรือประมงในจังหวัดภู เก็ตที่ผ่านมาทางหน่วยงานที่เกี่ ยวข้องได้มีการอบรมประชาสัมพั นธ์สร้างการรับรู้เกี่ยวกับสั ตว์ทะเลต้องห้ามอย่างต่อเนื่ องอยู่แล้ว และหลังจากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้ นก็จะได้มีการดำเนินการเพิ่มเติ ม
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง แจ้งความดำเนินคดีเพิ่มไต๋เรือ ร่วมกันล่า หรือ พยายามล่าสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รั บอนุญาต
นอกจากนั้นเมื่อเวลา 14.00 น.วันนี้ ( 19 พ.ค.61) นายนเรศ ชูผึ้ง ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรั พยากรทางทะเล สำนักบริหารจัดการทรั พยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 9 (สบทช.9) ได้รับข้อสั่งการจากอธิบดี กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และนายวัชรินทร์ ถิ่นถลาง ผู้อำนวยการสำนักบริหารจั ดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ งที่ 9 เข้าพบพนักงานสอบสวน สภ.ฉลอง
เพื่อแจ้งความร้องทุกข์กล่ าวโทษเพิ่มเติม กับนาย สมสมัย มีจอม อายุ 55 ปี ชาว จ.ยโสธร ไต๋ก๋งเรือ แสงสมุทร 3 และนายรัตนา พรหมงาน ผู้ควบคุมเรือ แสงสมุทร 2 ในข้อกล่าวหา ร่วมกันล่าหรือ พยายามล่าสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รั บอนุญาต ประกอบพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสั ตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 16 ห้ามมิให้ผู้ใดล่า หรือพยายามล่าสัตว์ป่าสงวน หรือสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่เป็ นการกระทำโดยทางราชการ โดยเป็นการแจ้งความเพิ่มเติ มจากที่ชุดสหวิชาชีพ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออก เรือประมง เขต 3 (ภูเก็ต) หรือ PIPO ได้แจ้งไว้ก่อนหน้านี้
ผู้ว่าฯภูเก็ต สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบข้อมูลเชิงลึ กการนำฉลามวาฬขึ้นเรือ
ด้านนายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวกรณีที่มีเรื อประมงประเภทอวนลากชื่อแสงสมุทร 3 นำปลาฉลามวาฬขนาดใหญ่ขึ้นบนเรือ โดยมีผู้พบเห็นขณะลอยลำอยู่บริ เวณเกาะราชากับเกาะเฮอำเภอเมื องจังหวัดภูเก็ตเมื่อบ่ายวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ศูนย์ ควบคุมการแจ้งเข้า – ออก เรือประมง เขต 3 ภูเก็ต (PiPo)ได้แจ้งข้อกล่าวหากับเจ้ าของเรือดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตามในส่ วนของปลาฉลามวาฬตัวดังกล่าว ล่าสุด ประมงจังหวัดภูเก็ต ยืนยันว่า ปลาฉลามวาฬยังมีชีวิตอยู่ เพราะยังไม่มีประชาชนหรือนักท่ องเที่ยวหรื อชาวประมงในละแวกใกล้เคียงพบเห็ นซากฉลามที่ลอยขึ้นมาบนผิวน้ำ
ผวจ.ภูเก็ต กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ได้กำชับให้ทางประมงจั งหวัดภูเก็ตและหน่วยงานที่เกี่ ยวข้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้ ประกอบการเรือนักท่องเที่ยว และเรือประมง ระมัดระวังหากพบเห็ นปลาฉลามวาฬขอให้อยู่ห่างๆอย่ าเข้าไปสัมผัส เพราะมี ประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เป็นข้อบังคั บทางกฎหมายกำหนดความผิดชัดเจน การดำเนินคดีกับเจ้าของเรือดั งกล่าว มีความผิดทางอาญา โดยขอให้ตรวจสอบเชิงลึกเพื่ อตรวจสอบข้อเท็จจริง