ข่าวข่าวต่างประเทศ

“เรือดำน้ำไททัน” ออกซิเจนหมดแล้ว ยังหาไม่พบ จะเกิดอะไรขึ้นกับ 5 ชีวิตหลังจากนี้?

ความสิ้นหวังเริ่มพุ่งทวี ถึงเวลา 6 โมงเย็น เส้นตายปริมาณออกซิเจนบนเรือดำน้ำไททัน เรือชมซากไททานิค หายสาบสูญไปตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายนครบ 96 ชั่วโมง ซึ่งโดยเทคนิคแล้ว ผู้โดยสารทั้ง 5 คนบนเรือจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้ด้วยก๊าซออกซิเจนสำรองถึงเวลา 18.18 น. เท่านั้น

แต่ตามการคาดการณ์ของอดีตทหารหน่วยนาวิกโยธิน เวลาที่ผ่านไป ความสามารถในการกำจัดก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ของเรือมีจำกัด ประกอบกับสภาพหนาวยะเยือกในความลึก 4,000 เมตร อาจทำให้ผู้โดยสารบนเหลือ เกิดอาการอาเจียน หมดสติไปก่อนหน้านั้น

Advertisements

ภารกิจสำคัญของหน่วยกู้ภัยแข่งกับเวลา ต้องหาทางช่วยเหลือนำขึ้นมาถึงผิวน้ำให้ทันก่อนเส้นตาย แต่อุปสรรคสำคัญคือจนถึงเวลานี้ยังไม่ทราบตำแหน่งที่แน่นอนของเรือ

อย่างไรก็ดี อาจยังพอมีหวังอยู่บ้างแม้เพียงเล็กน้อย ไทม์ไลน์ของก๊าซออกซิเจนไม่จำเป็นต้องตายตัวเสมอไป ดร. เคน เลเดซ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ลดความดันบรรยากาศที่มหาวิทยาลัยเมมโมเรียล ในเมืองเซนต์จอห์น รัฐนิวฟันด์แลนด์ บอกกับบีบีซีนิวส์ว่า ผู้ป่วยบางรายที่อยู่ในทะเลอาจอยู่รอดได้นานกว่าที่คาดไว้ แต่มีหลายเงื่อนไขประกอบ

แฟ้มภาพ – ซีอีโอของ OceanGate Stockton Rush โผล่ออกมาจากช่องด้านบนเรือดำน้ำ OceanGate Cyclops 1 ในหมู่เกาะซานฮวน รัฐวอชิงตัน เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2018 หน่วยกู้ภัยกำลังแข่งกับเวลาเพื่อค้นหาเรือดำน้ำที่หายไปซึ่งบรรทุกคน 5 คน ซึ่งได้รับรายงานว่าเกินกำหนด คืนวันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน 2566 (Alan Berner/The Seattle Times via AP, File)

“มันขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาหนาวแค่ไหน และเรือมีประสิทธิภาพแค่ไหนในการกักเก็บออกซิเจน” เขากล่าว พร้อมเสริมว่าการหนาวสั่นจะใช้ออกซิเจนจำนวนมาก ขณะที่การห่อตัวรวมกันสามารถช่วยรักษาความร้อนได้

เขากล่าวว่าการขาดออกซิเจนเป็นกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป “มันไม่เหมือนกับการปิดไฟ มันเหมือนกับการปีนภูเขา เมื่ออุณหภูมิเย็นลงและเมแทบอลิซึมจะลดลง [ขึ้นอยู่กับ] ว่าคุณขึ้นภูเขาได้เร็วแค่ไหน” เขากล่าว “เมื่อระดับออกซิเจนลดลง สัดส่วนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลูกเรือหายใจออกจะเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้”

และบางคนก็ทนสภาพแวดล้อมอันโหดร้ายได้นานกว่าคนอื่น

Advertisements

ที่น่ากลัวกวานั้นคือเราไม่รู้ว่าเรือยังคงรักษาพลังงานไฟฟ้าไว้ได้หรือไม่ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมปริมาณออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ภายในเรือ

“เมื่อระดับคาร์บอนไดออกไซด์สะสมมากขึ้น มันจะกลายเป็นยากล่อมประสาท มันจะกลายเป็นเหมือนยาสลบ แล้วคุณจะหลับไป”

Ryan Ramsey อดีตกัปตันเรือดำน้ำของกองทัพเรือกล่าวว่าเขาดูวิดีโอออนไลน์เกี่ยวกับภายในของ Titan และไม่เห็นระบบกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เรียกว่าเครื่องขัด “สำหรับผมมันคือปัญหาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาปัญหาทั้งหมด”

อ้างอิงจาก : BBC

นาวาเอก Jamie Frederick หน่วยยามฝั่งสหรัฐ (ซ้าย) เผชิญหน้านักข่าว ขณะที่ Carl Hartsfield ผู้อำนวยการและผู้จัดการโครงการอาวุโส ศูนย์ Oceanographic Systems Laboratory และ Paul Hankins ผู้รับเหมาพลเรือนของกองทัพเรือสหรัฐฯ หัวหน้างานกู้ซากเรือ ขวา ดูระหว่างการแถลงข่าวเมื่อวันพุธ 21 มิถุนายน 2566 ที่ Coast Guard Base Boston ในบอสตัน หน่วยยามฝั่งสหรัฐกล่าวว่าได้ยินเสียงและเสียงกระแทกจากพื้นที่ค้นหาเรือไททานิค (AP Photo/Steven Senne)

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button