คำถาม ‘วันสุนทรภู่’ 2567 พร้อมเฉลย ไขทุกข้อสงสัยกวีเอกของไทย 4 แผ่นดิน
‘วันสุนทรภู่’ 26 มิถุนายน 2567 ยกย่องยอดกวีเอกของไทย ที่มีชีวิตอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 1-4 ผลงานอมตะผ่านเวลา ให้พูดถึงจวบจนปัจจุบัน วันนี้ไทยเกอร์เลยจะพาทุกคนไปอ่านเรื่องน่ารู้ของ คำถามเกี่ยวกับ สุนทรภู่ หรือ พระสุนทรโวหาร พร้อมเฉลยเนื้อหา ผู้ประพันธ์วรรณกรรมต้นแบบการเรียนรู้ของเด็กไทยอย่าง พระอภัยมณี และ กาพย์พระไชยสุริยา ผ่านคำถามและคำตอบเกี่ยวกับเรื่องราวชีวิตและผลงานดังของสุนทรภู่ ฉะนั้นหากใครพร้อมแล้ว ไปอ่านด้วยกันได้เลย
คำถาม : สุนทรภู่ได้รับการศึกษาที่ใด
คำตอบ : สุนทรภู่ได้รับการศึกษาเบื้องต้นที่วัดชีปะขาว (หรือวัดศรีสุดารามในปัจจุบัน) ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย โดยท่านได้เรียนหนังสือกับพระในวัดตามประเพณีในสมัยนั้น นอกจากนี้ ยังเชื่อกันว่าท่านเคยศึกษาในพระราชวังหลังด้วย เนื่องจากบิดาของท่านเป็นข้าราชการในพระราชวังหลัง
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาของสุนทรภู่มีไม่มากนัก และส่วนใหญ่มาจากการตีความจากงานเขียนของท่านเอง เช่น ในนิราศสุพรรณ ท่านได้กล่าวถึงวัดชีปะขาว ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งชี้ว่าท่านเคยศึกษาที่นั่น
คำถาม : สุนทรภู่มีชีวิตรุ่งเรืองสูงสุดในรัชกาลใด
คำตอบ : สุนทรภู่มีชีวิตรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยรัชกาลที่ 2 หรือในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เหตุผลที่ทำให้ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่รุ่งเรืองที่สุดในชีวิตของสุนทรภู่ คือ
เป็นกวีในราชสำนัก: สุนทรภู่ได้รับการอุปถัมภ์จากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งทรงโปรดปรานในบทกวีของท่าน ทำให้ท่านมีโอกาสสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ และได้รับการยกย่องในวงกว้าง
ผลงานสำคัญ: ในช่วงนี้ สุนทรภู่ได้สร้างสรรค์ผลงานที่มีชื่อเสียงหลายเรื่อง เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศสุพรรณ และเริ่มต้นแต่งเรื่องพระอภัยมณี ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกของท่าน
ได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนสุนทรโวหาร: ในช่วงปลายรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นขุนสุนทรโวหาร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการที่แสดงถึงการยอมรับในความสามารถทางด้านวรรณกรรมของท่าน
แม้ว่าในรัชกาลที่ 4 สุนทรภู่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสุนทรโวหาร ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สูงกว่า แต่ในช่วงเวลานั้น ท่านมีอายุมากแล้ว และไม่ได้สร้างสรรค์ผลงานที่โดดเด่นเท่ากับในช่วงรัชกาลที่ 2
คำถาม : สมัยรัชกาลใด นับได้ว่าเป็นช่วงชีวิตที่ตกต่ำที่สุด ในชีวิตของสุนทรภู่
คำตอบ : สุนทรภู่เป็นกวีที่มีชีวิตอยู่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 – 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยท่านได้เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 จากแม่นมของพระธิดาในพระราชวัง ก่อนจะต้องโทษจำคุกเพราะลักลอบมีความรักกับหญิงชาววังนามว่า ‘แม่จัน’ หลังจากนั้นจึงเริ่มรับราชการในสมัยรัชกาลที่ 2 ในฐานะ ‘ขุนสุนทรโวหาร’ และเริ่มแต่นิทานกลอน ก่อนจะตกอับในรัชกาลที่่ 3 จนเรียกได้ว่าเป็นช่วงชีวิตที่ตกต่ำที่สุดในชีวิตของสุนทรภู่ และกลับมาได้ดีอีกครั้งในรัชกาลที่ 4 ในตำแหน่ง ‘พระสุนทรโวหาร’ ก่อนสิ้นใจในปีพ.ศ. 2398
คำถาม : ผลงานของสุนทรภู่เรื่องใด ใช้เป็นแบบเรียนตัวสะกด
คำตอบ : หลายคนอาจจะไม่เคยทราบว่า ตลอดชีวิต 69 ปีของสุนทรภู่ ผลงานชื่อดังของสุนทรภู่ไม่ได้มีเพียงแต่เรื่องพระอภัยมณีเท่านั้น เพราะสุนทรภู่ในฐานะกวีเอกของไทยได้สร้างงานวรรณกรรมไว้หลายเรื่อง โดยหนึ่งในนั้นคือ ‘กาพย์พระไชยสุริยา’ วรรณคดีไทยน้ำดี ที่ถูกนำมาใช้เป็นแบบเรียนสอนอ่านตัวสะกดในวิชาภาษาไทย
คำถาม : ในช่วงวัยเด็กสุนทรภู่เข้าเรียนหนังสือที่สำนักวัดใด
คำตอบ : ในสมัยเด็กเล่าลือกันว่า สุนทรภู่ได้เข้าเรียนที่สำนักวัดชีปะขาว โดยปรากฏตามเนื้อความส่วนหนึ่งใน นิราศสุพรรณ ซึ่งต่อมาสำนักวัดชีปะขาวแห่งนี้ ได้รับพระราชทานนามในรัชกาลที่ 4 ว่า วัดศรีสุดารามวรวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อยฝั่งตะวันตกในปัจจุบันนั่นเอง
คำถาม : มารดาของสุนทรภู่เป็นคนจังหวัดอะไร
คำตอบ : ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามารดาของสุนทรภู่เป็นคนจังหวัดอะไร โดยมีเพียงบันทึกที่ระบุว่า บิดาของสุนทรภู่เป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ส่วนมารดาเป็นชาวเมืองอื่น ในขณะที่สุนทรภู่เป็นชาวจังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งท่านเกิดหลังสร้างเมืองได้ 4 ปี ทว่าสุนทรภู่มีความผูกผันกับระยองที่เป็นบ้านเกิดของบิดามาก ทำให้ผู้คนจำผิดว่าท่านเป็นคนระยองเช่นเดียวกับบิดา
คำถาม : สุนทรภู่เกิด ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง ซึ่งในปัจจุบันคือสถานที่ใด
คำตอบ : สุนทรภู่ได้ถือกำเนิดในสมัยรัชกาลที่ 1 บริเวณทางเหนือของพระราชวัง ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป สถานที่เกิดของสุนทรภู่ก็ได้กลายมาเป็นสถานีรถไฟบางกอกน้อยในปัจจุบันนั่นเอง
คำถาม : ผลงานชิ้นเอกของสุนทรภู่ ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นสุดยอดวรรณคดีไทยคือเรื่องอะไร
คำตอบ : แม้จะเป็นยอดกวีที่มีผลงานดังมากมาย แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผลงานชิ้นเอกของสุนทรภู่ ก็คือ พระอภัยมณี โดยผลงานเรื่องนี้ทำให้สุนทรภู่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ให้ถือว่าเป็นสุดยอดวรรณคดีไทยประเภทกลอนนิทาน
คำถาม : สุนทรภู่เดินทางไปที่ใดบ้าง
คำตอบ : สุนทรภู่เดินทางไปหลายสถานที่ทั้งในและนอกกรุงเทพฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเดินทางตามเสด็จเจ้านาย หรือเดินทางไปปฏิบัติภารกิจต่างๆ และท่านได้บันทึกเรื่องราวการเดินทางเหล่านี้ไว้ในรูปแบบของ “นิราศ” ซึ่งเป็นวรรณกรรมประเภทหนึ่งที่เล่าถึงความรู้สึก ความคิดถึง และความประทับใจในสถานที่ต่างๆ ที่ได้พบเห็น
สถานที่ที่สุนทรภู่เดินทางไปและมีหลักฐานปรากฏในนิราศของท่าน ได้แก่
- อยุธยา: เดินทางไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทอง และได้บันทึกไว้ในนิราศภูเขาทอง
- สุพรรณบุรี: เดินทางไปเยี่ยมบิดาที่บวชเป็นพระอยู่ที่วัดป่าเลไลยก์ และได้บันทึกไว้ในนิราศสุพรรณ
- ระยอง: เดินทางไปเมืองแกลง (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดระยอง) และได้บันทึกไว้ในนิราศเมืองแกลง
- เพชรบุรี: เดินทางไปพำนักอยู่ที่เพชรบุรี และได้บันทึกไว้ในนิราศเมืองเพชร
- สระบุรี: เดินทางไปนมัสการรอยพระพุทธบาท และได้บันทึกไว้ในนิราศพระบาท
นอกจากนี้ สุนทรภู่น่าจะเดินทางไปยังสถานที่อื่นๆ อีก เช่น นครปฐม (บันทึกไว้ในนิราศพระประธม) และจันทบุรี (บันทึกไว้ในนิราศเมืองจันทบุรี) แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด
คำถาม : สุนทรภู่ได้รับการยกย่องจากองค์กรใดให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านวรรณกรรม
คำตอบ : สุนทรภู่ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านวรรณกรรม โดยองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO)
คำถาม : องค์การยูเนสโกยกย่องให้สุนทรภู่เป็นบุคคลสำคัญของโลกในด้านใด เมื่อปีใด
คำตอบ : ยูเนสโก (UNESCO) ได้ยกย่องให้สุนทรภู่เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านวรรณกรรม เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ปี 2529 เนื่องในวาระครบรอบ 200 ปีเกิดของสุนทรภู่ ส่วนเรื่องพระอภัยมณีก็ได้แปลออกไปหลายภาษานับตั้งแต่นั้นมา
คำถาม : อนุสาวรีย์สุนทรภู่อยู่จังหวัดใด
คำตอบ : ในปัจจุบันอนุสาวรีย์สุนทรภู่ ตั้งอยู่ใกล้กับเส้นทางแกลง-แหลมแม่พิมพ์ ที่ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง โดยที่นี่เป็นบ้านเกิดของบิดาสุนทรภู่ และเป็นสถานที่ที่สุนทรภู่ใช้แต่ง ‘นิราศเมืองแกลง’ โดยอนุเสาวรีย์สุนทรภู่แห่งนี้ได้ถูกสร้างขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่มหากวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หรือหลวงสุนทรโวหารนั่นเอง
คำถาม : บรรดาศักดิ์สุดท้ายที่สุนทรภู่ได้รับก่อนถึงแก่กรรมคืออะไร
คำตอบ : ในสมัยรัชกาลที่ 4 สุนทรภู่ได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นบรรดาศักดิ์สุดท้ายของสุนทรภู่ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิตในปี 2398 ด้วยวัย 69 ปี
คำถาม : สุนทรภู่มีนามเดิมว่าอะไร
คำตอบ : หลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้ว่า สุนทรภู่ไม่ใช่ชื่อจริงของยอดกวีเอกไทย โดยสุนทรภู่มีนามเดิมว่า ‘ภู่’ แต่เป็นที่รู้จักกันในนามว่า สุนทรภู่ ซึ่งมาจากชื่อยศฐาบรรดาศักดิ์ที่ท่านได้รับในภายหลัง ได้แก่ ขุนสุนทรโวหาร หลวงสุนทรโวหาร และพระสุนทรโวหาร นั่นเอง
คำถาม : สุนทรภู่แต่งนิราศทั้งหมดกี่เรื่อง
คำตอบ : สุนทรภู่แต่งนิราศ 9 เรื่อง ได้แก่
- นิราศเมืองแกลง (พ.ศ.2349)
- นิราศพระบาท (พ.ศ.2350)
- นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ.2371)
- นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ.2374)
- นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ.2375)
- นิราศอิเหนา (คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 3)
- รำพันพิลาป (พ.ศ.2385)
- นิราศพระประธม (พ.ศ.2385)
- นิราศเมืองเพชร (พ.ศ.2388)
คำถาม : นิราศที่สุนทรภู่แต่งด้วยฉันทลักษณ์ประเภทกาพย์คือเรื่องอะไร
คำตอบ : สุนทรภู่เคยแต่งนิราศที่ใช้ฉันทลักษณ์ประเภทกาพย์ไว้ 2 เรื่อง ได้แก่ พระไชยสุริยา และ บทเห่กล่อมพระบรรทม โดยในเรื่องพระไชยสุริยาท่านได้ใช้กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์ ส่วนเรื่องบทเห่กล่อมพระบรรทม ท่านใช้เพียงกาพย์ยานีในการแต่งเท่านั้น
คำถาม : ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา คำประพันธ์นี้มาจากวรรณคดีเรื่องใด
คำตอบ : นิราศภูเขาทอง ซึ่งเป็นนิราศที่สุนทรภู่ประพันธ์ขณะกำลังบวชเป็นพระภิกษุ ในระหว่างที่ไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทอง ณ กรุงเก่า หรืออยุธยาในปัจจุบัน เพื่อแสดงถึงความอาลัยต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
คำถาม : สุนทรภู่แต่งเรื่องขุนช้างขุนแผนเพียงตอนเดียวคือตอนใด
คำตอบ : สุนทรภู่แต่งเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเพียงตอนเดียว คือตอนกำเนิดพลายงาม ซึ่งแต่งหลังออกจากคุกในสมัยรัชกาลที่ 2 มีความยาว 1 เล่มสมุดไทย โดยแต่งตามพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่สุนทรภู่เคารพรัก
คำถาม : ผลงานชิ้นสุดท้ายที่ภิกษุภู่แต่งไว้ก่อนลาสิกขาบทคือเรื่องใด
คำตอบ : อย่างที่ทราบกันว่าเมื่อปี 2367 สุนทรภู่ได้ออกบวชหลังพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต โดยในระหว่างนั้นท่านก็ได้แต่งงานเขียนขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งงานเขียนชิ้นสุดท้ายที่ภิกษุภู่แต่งไว้ก่อนลาสิกขาบทคือ รำพันพิลาป
คำถาม : เหตุใดจึงกำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายน เป็นวันสุนทรภู่
คำตอบ : สาเหตุที่ยกให้วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันสุนทรภู่ เนื่องจากสุนทรภู่เกิดในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 นั่นเอง
คำถาม : นิราศที่เป็นผลงานของสุนทรภู่มีกี่เรื่อง
คำตอบ : นิราศที่เป็นผลงานสุนทรภู่มีทั้งหมด 9 เรื่อง ได้แก่ นิราศเมืองแกลง นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิราศเมืองเพชร นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา นิราศสุพรรณ รำพันพิลาป และนิราศพระประธม
ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวประวัติชีวิตและผลงานดังของสุนทรภู่ที่หลายคนควรรู้ บอกเลยว่ายอดกวีเอกของไทย ไม่ได้แต่งไว้แค่เรื่องพระอภัยมณีอย่างที่ใครเข้าใจ แต่ท่านยังมีเรื่องราวชีวิตและผลงานอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง ฉะนั้นในวันสุนทรภู่ 26 มิ.ย. ปีนี้ อย่าลืมระลึกถึงท่าน สุดยอดนักประพันธ์ผู้เป็นต้นแบบการเรียนการสอนของเด็กไทยกันด้วยนะ.