ข่าวภูมิภาค
หวั่นทุ่งปะการังน้ำตื้นหน้าเกาะเฮ ถูกทำลาย หลังเอกชนมีแผนสร้างมารีน่าขนาดใหญ่
จากกรณีบริษัทเอกชนมี การนำเสนอโครงการก่อสร้างท่าเที ยบเรือมารีน่า ในพื้นที่บ้านอ่าวกุ้ง ต.ป่าคลอก จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ จอดเรือได้จำนวน 72 ลำ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในช่ วงของการทำประชาพิจารณ์รับฟั งความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการดั งกล่าว เป็นครั้งที่ 2 ส่วนแบบการดำเนินโครงการได้มี การกำหนดไว้แล้ว และยังไม่มีการยื่นขออนุญาตก่ อสร้างแต่อย่างใด
แต่อย่างไรก็ตามหลั งจากการนำเสนอข้อมู ลในการทำประชาพิจารณ์ ก็ได้มีการเคลื่อนไหวของเครือข่ าวชุมชน รวมทั้งชาวบ้านและ กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้ านอ่าวกุ้ง ผ่านทางเฟซบุ๊กต่างๆ ซึ่งเป็นภาพทุ่งปะการั งเขากวางในสภาพสมบูรณ์ เนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 2 ไร่ ซึ่งเป็นแนวปะการังน้ำตื้นหน้ าเกาะเฮ บ้านอ่าวกุ้ง ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต รวมทั้งภาพป่าชายเลนเฉลิมพระเกี ยรติบ้านอ่าวกุ้ง ซึ่งระบุว่าพื้นที่ดังกล่ าวอาจจะเป็นแนวในการขุดลอกร่ องน้ำเพื่อให้เรือยอร์ชขนาดใหญ่ ประมาณ 40 เมตร เข้าได้ ซึ่งเรือขนาดนี้จะต้องกินน้ำลึ กมาก
แต่จากการทำวิจัยของทางผู้ ประกอบการมีการระบุในขอเสนอที่ นำมาทำประชาพิจารณ์ว่าพื้นที่ บริเวณหน้าโครงการไม่ใช่ป่ าชายเลน แต่เป็นท่าเทียบเรือเก่าที่อยู่ ในความดูแลของกรมเจ้าท่า และในบริเวณด้านหน้าตลอดแนวไม่ มีแนวปะการัง ซึ่งชาวบ้านและกลุ่มอนุรักษ์ มองว่าขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่ ปรากฎ จึงมีการออกมาเคลื่อนไหวในโซเชี ยลเพื่อเรียกร้องให้ทางหน่ วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้ อเท็จจริงก่อนที่จะมีอาการอนุ ญาตให้มีการขุดลอกร่องน้ำ เนื่องจากเกรงว่าการขุดร่องน้ำ จะทำลายทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าชายเลนและแนวปะการัง
จากการสอบถามกลุ่มนักอนุรักษ์ซึ่ งออกมาเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่ องนี้ กล่าวว่า ในส่วนของกลุ่มอนุรักษ์เองไม่ ได้คัดค้านเรื่องของการสร้างท่ าเทียบเรือมารีน่า เพราะการก่อสร้างดังกล่าวเป็ นการสร้างในที่ดินเอกชน แต่ที่ชาวบ้านเป็นห่วงและกังวล เรื่องของการขุดลอกร่องน้ำ ที่เป็นทางเข้าของเรือไปยั งโครงการ ซึ่งชาวบ้านมีความเป็นห่ วงในหลายประเด็นที่มี การนำเสนอของทางที่ปรึ กษาโครงการเกี่ยวกับป่าชายเลย ที่จะต้องมีการขุดทางเข้ าออกเพราะอยู่ติดกับป่าชายเลน ที่มีการระบุว่าพื้นที่ดังกล่ าวไม่ใช่ป่าชายเลนแต่เป็นท่าเรื อเก่า ทั้งๆ ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ นำป้ายประกาศห้ามไม่ให้มีการบุ กรุกป่าชายเลนไปติดตั้งไว้
นอกจากนั้นสิ่งที่ชาวบ้านกั งวลอีกเรื่องคือการขุดลองร่องน้ำ เพื่อเพื่อให้เรือขนาด 40 เมตรเข้าได้จะต้องขุดร่องน้ำลึ กไม่ต่ำกว่า 8 เมตร แต่ในผลการศึกษาที่นำมาชี้ แจงกลับไม่มีการกำหนดดีเทลเกี่ ยวกับจุดที่จะขุดให้ชัดเจนว่ าจะขุดจุดไหนอย่างไร ซึ่งชาวบ้านเกรงว่าจะมีวาระซ้ อนเร้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงอยากให้มีการระบุให้ชัดเจนว่ าขุดที่จุดไหนอย่างไร เพราะเท่าที่ชาวบ้านสำรวจพบว่ าตลอดแนวหน้าโครงการมีปะการั งกระจายอยู่ตลอด ซึ่งนอกจากปะการังเขากวางแล้ว ใกล้กันยังพบแซ่ทะเลที่กำลั งสมบูรณ์และสวยงามเนื้อที่ไม่ต่ำ กว่า 2 ไร่
แหล่งข่าวรายเดิมระบุ ว่า ที่ผ่านมา ในพื้นที่ดังกล่าวมีแหล่ งธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ไปด้วยทรัพยากรอันมีค่าและเป็ นแหล่งทำมาหากินหล่อเลี้ยงชีวิ ตของชาวบ้าน ถ้าหาดมีการขุดลอกร่องน้ำเพื่ อให้มีการเข้าออกของเรือ และถ้าหากการขุดลอกร่องน้ำ ต้องผ่านแนวปะการังก็จะทำให้ทรั พยากรถูกทำลาย และวิถีชีวิตของชาวบ้านในบริ เวณนั้นๆต้องสูญหายไปด้วย ทำให้ขณะนี้มีกลุ่มคนที่ได้รั บผลกระทบ ออกมาเรียกร้องและเคลื่อนไหวให้ หน่วยงานที่กำกับดูแลอยู่ เข้ามาหาทางออกของปัญหาต่อไป
ขณะที่เมื่อวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยศูนย์วิจัย ทช. ทะเลอันดามัน ได้ เผยผลการสำรวจสถานภาพแนวปะการั งบริเวณอ่าวกุ้ง จ.ภูเก็ต รวมทั้งเกาะในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีรายงานว่ าจะมีโครงการสร้างท่าเทียบเรื อสำราญกีฬา ซึ่งได้มีการสำรวจทั้งหมด 7 สถานี เบื้องต้นพบว่าแนวปะการังในพื้ นที่ส่วนใหญ่มีการฟื้นตัวได้ดี เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิ มที่กรมมาสำรวจไว้เมื่อปี 2556
โดยพบว่าแนวปะการังฟื้นตั วจากสถานภาพเสียหายมาก กลับอยู่ในสถานภาพสมบูรณ์ ปานกลาง 4 สถานี ได้แก่ เกาะเฮ เกาะปายู เกาะรา และเกาะแพ ส่วนที่ยังมีสถานภาพเสียหายมี 2 สถานี ได้แก่ เกาะงำ และ แหลมขาด และที่มีสถานภาพเสียหายมาก 1 สถานี คือ ชายฝั่งอ่าวกุ้ง
ปะการังที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ กลุ่มปะการังโขด (Porites spp.) ปะการังเขากวาง (Acropora spp.) ปะการังดอกไม้ทะเล (Goniopora sp.) ปะการังรังผึ้ง (Goniastrea sp.) ปะการังวงแหวน (Favia spp.) ปะการังช่องเหลี่ยม (Favites spp.) ปัจจัยที่มีผลต่อสภาพปะการั งในบริเวณนี้คื อตะกอนตามธรรมชาติ เนื่องจากบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่ งของอ่าวพังงา ล้อมรอบด้วยป่าชายเลน และลักษณะพื้นทะเลเป็ นทรายปนโคลน ทำให้น้ำค่อนข้างขุ่น แนวปะการังมีการฟื้นตัวได้ค่ อนข้างช้า และง่ายที่ตะกอนพื้นทะเลจะฟุ้ งกระจายขึ้นมาทับถมบนปะการัง
เครดิตภาพ Thawatchai Sangmanee