ไลฟ์สไตล์

อากรแสตมป์ VS แสตมป์ ใช้ติดจดหมาย ต่างกันอย่างไร ใช้แทนกันได้ไหม

ไขข้อสงสัย อากรแสตมป์ กับ แสตมป์ที่ใช้ติดจดหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร หนึ่งในปัญหาโลกแตกที่อาจทำให้ใครหลายคนสับสน แสตมป์สองแบบนี้เหมือนกันไหม ใช้แทนกันได้หรือไม่ หลายครั้งที่จะส่งจดหมายก็ต้องมานั่งสับสนว่าต้องใช้อะไรในการจ่าหน้าจดหมาย ไม่ต้องกังวลไป เพราะวันนี้ Thaiger จะมาไขข้อสงสัยให้ทุกคนได้ทราบกันว่าอากรแสตมป์และแสตมป์ที่ใช้ติดจดหมาย คืออะไร มีข้อแตกต่างอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วมาอ่านไปด้วยกันได้เลย

ไขข้อข้องใจ อากรแสตมป์ กับ แสตมป์ ต่างกันอย่างไร

อากรแสตมป์ คืออะไร

Advertisements

อากรแสตมป์ (Stamp Duty) หรือตราสาร คือ ภาษีอีก 1 ประเภทอันเป็นไปตามประมวลกฎหมายรัษฎากร ดำเนินการจัดเก็บในลักษณะของดวงแสตมป์ ซึ่งกรมสรรพากรจะทำหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการจัดเก็บ สำหรับรูปแบบของดวงแสตมป์ที่ใช้สำหรับประทับไว้บริเวณส่วนด้านบนของเอกสารราชการต่าง ๆ และเอกสารใดก็ตามที่ทำการติดแสตมป์อาการนั้นสามารถใช้ในการยื่นเป็นหลักฐานในชั้นศาลได้

การเสียภาษีอาการแสตมป์ คือการซื้ออากรแสตมป์จากสรรพากรมาแปะติดเอาไว้ในสัญญา ตราสารต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด หากไม่ทำการแสตมป์ดังกล่าวอาจมีความผิดทางกฎหมายทั้งแพ่งและอาญา สำหรับเอกสารที่ต้องทำการติดอากรแสตมป์มีทั้งหมด 28 ชนิดด้วยกัน ดังนี้

1. เอกสารเช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง

2. เอกสารโอนใบหุ้น หุ้นกู้ พันะบัตร และใบรับรองหนี้

3. เอกสารการจ้างทำของ

Advertisements

4. เอกสารกู้ยืม เอกสารตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร

5. เอกสารกรมธรรม์ประกันภัย

6. เอกสารใบมอบอำนาจ

8. เอกสารใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท

9. ตั๋วแลกเงิน หรือตราสาร และตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตราสาร

10. เอกสารบิลออฟเลดิง

11. เอกสารใบหุ้น หรือใบหุ้นกู้ พันธบัตรของรัฐบาลใด ๆ ที่ขายในประเทศไทย

12. เช็ค หรือหนังสือใด ๆ ที่ใช้แทนเช็ค

13. ใบรับฝากเงินประเภทประจำของธนาคารโดยมีดอกเบี้ย

14. เลคเตอร์ออฟเครดิต

15. เช็คสำหรับผู้เดินทาง

16. เอกสารใบรับรอง

17. เอกสารจำนำ

18. เอกสารการค้ำประกัน

19. ใบรับรองของคลังสินค้า

20. เอกสารคำสั่งให้ส่งมอบของ

21. เอกสารตัวแทน

22. เอกสารคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ

23. เอกสารคู่ฉบับ หรือคู๋ฉีกแห่งตราสาร

24. เอกสารหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทจำกัด

25. เอกสารข้อบังคับของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน

26. เอกสารข้อบังคับใหม่ หรือสำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ

27. เอกสารหนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน

28. เอกสารใบรับ

เปิดความหมาย อากรแสตมป์
ภาพจาก : ACESCO

แสตมป์ (ดวงตราไปรษณียากร) คืออะไร

แสตมป์ หรือตราไปรษณียากร (Postage Stamp) เป็นเอกสารเพื่อใช้ในการยืนยันว่าได้ชำระค่าบริการของทางไปรษณีย์เรียบร้อยแล้ว โดยการนำมาผนึกลงบนซองจดหมายแล้วมีตราที่ทำการไปรษณีย์ประทับเพื่อให้ทราบว่า ฝากส่งที่ไหน วันเดือนปีใด เวลาไหน และการประทับตราที่ทำการไปรษณีย์จะต้องประทับบนตราไปรษณียากรให้คาบติดกับกระดาษซองจดหมาย เพื่อป้องกันแสตมป์หลุดหายไปจากซอง จะได้ทราบว่าจดหมายฉบับนี้ได้ชำระค่าแสตมป์แล้วหรือไม่

รูปแบบของแสตมป์จะเป็นลักษณะสี่เหลี่ยม มีลวดลายหรือขนาดที่หลากหลาย การติดแสตมป์บนจดหมายนั้นต้องติดบนมุมบนด้านขวามือของจดหมาย ส่วนใหญ่แสตมป์จะผลิตออกมาเป็นแผ่น ๆ ซึ่งแต่ละแผ่นนั้นจะมีแสตมป์อยู่จำนวนประมาณ 20 ถึง 120 ดวง ด้านหลังของแสตมป์จะถูกเคลือบด้วยกาว ส่วนกระดาษนั้นจะเป็นกระดาษที่มีสิ่งเจือปนชนิดพิเศษที่ยากจะปลอมแปลงได้ เช่น ลายน้ำ เป็นต้น

อากรแสตมป์ แสตมป์ที่ใช้ติดจดหมาย ต่างกันอย่างไร
ภาพจาก : ไปษณีย์ไทย

ข้อแตกต่างระหว่าง อากรแสตมป์ กับ แสตมป์ มีอะไรบ้าง

สรุปแล้ว ความแตกต่างระหว่างอากรแสตมป์กับแสตมป์ที่เราใช้ติดบนจดหมาย จะเห็นได้ว่ามีข้อแตกต่างกันหลายอย่าง โดยอากรแสตมป์ เป็นภาษีหนึ่งประเภทที่ใช้สำหรับประทับตราเอกสารต่าง ๆ ทั้ง 28 ชนิด หากไม่ทำการติดอากรแสตมป์อาจมีความผิดทางกฎหมายทั้งแพ่งและอาญา

ในส่วนของแสตมป์ที่ใช้ในการติดจดหมาย หรือตราไปรษณีย์ยากร เปรียบเสมือนใบเสร็จที่ชำระค่าฝากส่งทางไปรษณีย์ นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยระบุว่าจดหมายฉบับนั้น ๆ จะฝากส่งไปยังที่ไหน วันและเวลาใด ใช้กับการติดจดหมายทั่วไปที่เราต้องการจะส่งไปยังผู้รับ ไม่ได้มีผลทางกฎหมายชัดเจนเหมือนกับอากรแสตมป์

ดังนั้นจะเห็นได้ชัดว่า อากรแสตมป์กับแสตมป์ที่เราใช้ติดลงบนจดหมาย แม้จะมีคำว่าแสตมป์เหมือนกัน จนทำให้ใครหลายคนเข้าใจผิด คิดว่าแสตมป์ทั้ง 2 ชนิดนี้สามารถใช้แทนกันได้ แต่ความเป็นจริงแล้วอากรแสตมป์และตราไปษณียากรไม่สามารถใช้แทนกันได้ มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนทั้งรูปแบบการใช้งาน เอกสารที่ต้องใช้ รวมไปถึงหากไม่ติดแสตมป์ จะมีผลทางกฎหมายอย่างไรบ้าง หวังว่าจะไม่มีใครสับสนความแตกต่างของอากรแสตมป์และแสตมป์ติดจดหมายนะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก1 2

Wilasinee

นักเขียนที่ Thaiger เชี่ยวชาญข่าวบันเทิงและบทความไลฟ์สไตล์ จบการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงรู้ลึกรู้จริงทั้งเรื่องวิชาการและเทรนด์กระแสโซเชียลที่สำคัญ มีประสบการณ์เขียนบทความออนไลน์กว่า 2 ปี งานอดิเรกชอบติดตามข่าวเศรษฐกิจ การลงทุน ติดต่อได้ที่ wilasinee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button