ชำแหละ! หลักสูตร กอส. คืออะไร เรียนจบติดยศเป็นตำรวจ คนดังจบมาเพียบ
รู้จัก หลักสูตร กอส. คืออะไร ? เรียนจบ 17 สัปดาห์ ได้ติดยศตำรวจ พาเจาะลึกเพราะอะไร ทำไมคนดังถึงเรียนเพียบ
หลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินตัวย่อ กอส. จากที่ลูกหลานคนดัง หรือไฮโซ ต่างก็เคยมีชื่อเกี่ยวโยง ซึ่งแท้จริงแล้ว กอส. เป็นอีกหนึ่งหลักสูตรการอบรม เพื่อเข้ารับราชการตำรวจ แต่ทั้งนี้ ก็ยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้ว่ามีหลักสูตรนี้จริง ๆ ด้วยหรือ และต้องทำอย่างไรบ้างถึงจะได้เรียน และทำไมคนดังต่าง ๆ ถึงมาเรียนเยอะ จนเหมือนเป็นบ้านรายการเพลง วันนี้ Thaiger มาชำแหละให้ทุกคนกระจ่างแล้ว
ชำแหละ หลักสูตร กอส. คืออะไร ? ทำไมคนดังเรียนเยอะ 17 สัปดาห์ติดยศ
อักษรย่อ กอส. ย่อมาจาก หลักสูตรการอบรมข้าราชการตำรวจและบุคคลที่บรรจุหรือโอนมาเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร เป็นการอบรมบุคคลภายนอกเพื่อเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร ซึ่งหมายถึงประชาชนทั่วไป ที่อยากจะเข้ามาบรรจุเป็นตำรวจ
ตัวหลังสูตร กอส. ผู้ที่เข้าร่วม จะต้องผ่านการเรียนทั้งหมด 17 สัปดาห์ โดยแบ่งเป็น ภาควิชาการ 16 สัปดาห์ และ ภาคสนาม 1 สัปดาห์ แบ่งวิชาออกเป็น วิชาพื้นฐาน 330 ชั่วโมง และ วิชาเฉพาะ 170 ชั่วโมง
ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมอบรมหลักสูตร กอส. จะได้รับความรู้เกี่ยวกับวิชาต่าง ๆ ที่ตำรวจพึงมี อาทิ
- กฏหมายเบื้องต้นสำหรับตำรวจ
- กฏหมายอาญาสำหรับตำรวจ
- กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาสำหรับตำรวจ
- กฏหมายแพ่งและพาณิชย์สำหรับตำรวจ
- ระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี
- งานสารบรรณตำรวจ ฝ่ายอำนาจการตำรวจ
- การฝึกยุทธวิธีตำรวจ
หลักเกณฑ์การสมัครในหลักสูตร การอบรมข้าราชการตำรวจและบุคคลที่บรรจุหรือโอนมาเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร (กอส.) จะต้องมีคุณสมบัติ คือ
1. ผ่านการสอบคัดเลือก
2. มีบิดา/มารดาที่เป็นตำรวจ แล้วเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่
3. กรณีที่ตำรวจ กำลังขาดแคลนบุคลากรด้านนั้น ๆ
4. เป็นผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ (นักกีฬา/นักร้อง/คนดัง)
ทั้งนี้หลักสูตร กอส. เป็น 1 ใน 4 หลักสูตรฝึกอบรมพื้นฐานสำหรับข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร การฝึกอบรมหลักสูตรอื่นๆ อีก 3 หลักสูตรนั้น จะเปิดให้อบรม 1 ครั้งในเดือนพฤศจิการยน
อย่างไรก็ตาม มีสื่อรวบรวมนามสกุลคนดัง ที่ส่งลูกหลานมาอบรม กอส. ก็เช่น แสงสิงแก้ว, ธารีฉัตร, เปลี่ยนสี, กุลดิลก, เตชะอุบล, ลิ้มสังกาศ, เหรียญราชา, วรรณภักตร์, วัฒนะ, ธาตุศาสตร์, เมธาวัธน์, สายันประเสริฐ, สุวรรณจรัส และ เตชะณรงค์ เป็นต้น