เปิดสาเหตุ ‘ทำไมหมอถึงลาออกจากราชการ’ งานล้นมือ-เวลาพักน้อย
ตอบสาเหตุ ทำไมหมอถึงลาออกจากราชการ เป็นจำนวนมาก เป็นที่ทราบกันดีว่า “อาชีพแพทย์” พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ต่าง ๆ นั้น เป็นหนึ่งในอาชีพที่ต้องทุ่มเททั้งกายและใจให้กับอาชีพนี้ แต่ทำไมกันหนอพวกเรากลับได้เล็งเห็นปัญหามากมาย ที่เกี่ยวกับแพทย์หนาหูกันอยู่ทุกคืนวัน ไม่ว่าจะเป็นการที่เนื้องานของแพทย์ที่หนักหนา การเข้าเวรรับผิดชอบต่าง ๆ ของพยาบาล ที่มันช่างสวนทางกับจำนวนของบุคลากรเหลือเกิน
จากกรณีล่าสุด เมื่อนักแสดงสาว ปุยเมฆ นภสร หรือ พญ.นภสร วีระยุทธวิไล ได้ยื่นใบลาออก ออกจากโรงพยาบาลที่ตนกำลังฝึกงานอยู่ วันนี้ Thaiger จึงขอพาไปดูปัญหาของ สาเหตุที่ทำให้หมอถึงลาออกจากราชการ กัน ว่าจะมีปัญหาอะไรบ้างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสภาวะกระอักกระอ่วนนี้ ไปอ่านกันได้เลยครับ
เช็กปัญหา สาเหตุว่าทำไมหมอถึงลาออก ทั้งที่งานราชการมั่นคง
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจถึงต้นตอก่อนว่า อะไรกันทำให้คุณหมอ คุณพยาบาลเริ่มทยอยกันลาออกกัน ทั้งที่หลายท่านพยายามมาหลายปีกว่าจะมาถึงจุดนี้ คำตอบของคำถามนี้ก็คือ การจำนวนของบุคลากรทางการแพทย์นั้นน้อยเกินไป บุคลการในที่นี้ไม่ใช่แค่ตัวหมอเอง แต่ยังเป็น staff และอื่น ๆ ส่งผลให้หมอต้องรับภาระงานที่หนักอึ้ง และมันก็ยิ่งทวีคูณไปอีกเมื่อเทียบกับจำนวนคนไข้
ซึ่งสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรไทยในปี 2564 นั้น หากเปรียบเทียบแล้ว จะมีแพทย์ 1 คนที่ต้องดูแลต่อจำนวนประชากร 1,680 คน ในขณะที่ WHO หรือองค์การอนามัยโลกได้แนะนำสัดส่วนมาตรฐานเอาไว้ โดยกำหนดว่าสัดส่วนที่เหมาะสมคือ แพทย์ 1 คนต่อจำนวนประชากร 1,000 คน
ซึ่งนอกจากนี้ยังมีเรื่องของการกระจายแพทย์ไปตามจังหวัดต่าง ๆ ที่ไม่สมดุลมากนัก ปัญหาตรงนี้มันเลยเป็นลูกโซ่ต่อยอดไปถึงพยาบาล และ Intern ที่ต้องแบ่งงานกันไม่ไหว โยงไปถึงเรื่องของสุขภาพกายและจิตใจ ที่มันสะสมจนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังในวงการแพทย์
นอกจากนี้ยังมีปัญหาของการควงเวรที่มากจนเกินไป ที่แพทย์และพยาบาลไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะในเวลาฉุกเฉินและเทศกาลต่าง ๆ ที่มีการเฉลิมฉลอง อัตราการเกิดอุบัติเหตุก็พุ่งขึ้นสูงตาม หรือภาวะโรคระบาดอย่างโควิด 19 ที่ผ่านมาก็เป็นตัวอย่างชั้นดีของช่วงเวลาฉุกเฉินดังกล่าว มีคนไข้ฉุกเฉินเข้ามาไม่ขาดสาย อุปกรณ์การแพทย์ก็ไม่เพียงพอกับความต้องการ ที่บางคนอาจจะต้องอยู่มากถึง 15 วัน ต่อ 1 เดือนเลยทีเดียว
ปัญหาจำนวนหมอที่น้อยเกินไปในวงการเสื้อกาวน์
การทีจำนวนหมอที่ผลิตออกจากวงการศึกษานั้น มันน้อยลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาก่อน ซึ่งมันมีหลายปัจจัยที่เกิดเหตุนี้ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจากการบริหารงบกระทรวงต่าง ๆ ที่น้อยจนไม่สามารถจ้างบุคลกรมาช่วยเหลืองานหมอได้ ค่านิมยมที่ต่างออกไปตามยุคสมัย ภาพลักษณ์ของอาชีพที่เรามักจะได้ยินว่า เป็นหมอได้เงินเดือนเยอะ แต่ทำงานแบบควักเนื้อควักกระดูก ทำให้คนรุ่นใหม่อาจจะไม่ได้มองว่าอาชีพแพทย์หรือพยาบาลอื่น ๆ เป็นตัวเลือกที่ดีมากนักหากเทียบกับยุคสมัยก่อน
จากปัญหาหมอน้อยนี้นั้นยังส่งผลกระทบไปเป็นปัญหายิบย่อยอย่างการควงเวรแสนสาหัสอีกด้วย ที่ถึงแม้ว่า แพทยสภาจะออกประกาศเมื่อปี 2560 ที่ว่าด้วยเรื่องการกำหนดกรอบเวลาการทำงานของแพทย์ภาครัฐ ที่ระบุไว้ตอนหนึ่งว่า “ชั่วโมงการทำงานของแพทย์นอกเวลาราชการไม่ควรเกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์” แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่สามารถนำมาปฏิบัติจริงได้ครับ
สรุป สาเหตุปัญหาของหมอที่ทยอยออกจากราชการนั้น มีหลากหลายประการที่เริ่มตั้งแต่โครงสร้างของการศึกษาจัดหาทุนต่าง ๆ การดูแลในระบบที่ไม่ดีมากนั้น ทางเราจึงจะขอสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้ครับ
- งบประมาณการจัดการที่ไม่เหมาะสม
- จำนวนบุคลากรที่น้อยจนเกินไป
- การกระจายบุคลากรไปในพื้นที่มีความไม่สมดุล
- โครงสร้างการบริหารภายในโรงพยาบาล
- ระบบเส้นทางการศึกษาที่ไม่อำนวยให้กับผู้ที่เรียน
- การผลิตบุคลกรทางแพทยืที่ไม่ทันตามความต้องการ
- การควงเวรที่มากเกินไป
แนวทางการแก้ปัญหาจำนวนหมอที่น้อยเกินไป
การแก้ปัญหานี้นั้นนอกจากที่จะต้องสอดคล้องกับการบริหารงบประมาณจากรัฐบาลแล้วนั้น ยังต้องมีแพทยสภาเข้ามาช่วยเหลือภาระงานของบุคลากรอีกด้วย เพื่อที่จะบรรเทาแพทย์ที่ยังอยู่ในระบบ และดึงคนภายนอกเข้ามาช่วยเหลือเพิ่มเติม ที่จะทำให้สอดคล้องกับจำนวนคนไข้ที่เพิ่มมากขึ้น ตรงนี้ยังเป็นปัจจัยทางอ้อมที่จะช่วยผลิตแพทย์ พยาบาลรุ่นใหม่ เข้ามาในระบบอีกด้วย
การส่งเสริมโรงเรียนแพทย์โดยตรงก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี เพราะหากเราดูแล้วในปัจจุบันนี้ การดูแลนักศึกษาแพทย์ก็ไม่ครอบคลุมทุกคน เพราะจำนวนของบุคลากรมันน้อยเกินไป หากโรงเรียนแพทย์เข้ามาช่วยในตรงนี้นั้น นอกจากจะเข็นบุคลากรคุณภาพออกมาแล้วยังเป็นการเพิ่มจำนวนแพทย์ในระบบไปในตัวอีกด้วย
อ้างอิง : 1