ชวนทำความรู้จักวันพระใหญ่ปีนี้ เวียนมาบรรจบกันอีกครั้งเปิด ประวัติ “วันวิสาขบูชา” ปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2566 มิถุนายน เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 จัดเป็นเทศกาลเวียนเทียน และวันหยุดราชการของคนไทยประจำปี นอกจากนี้วันวิสาขบูชาในประเทศไทยยังตรงกับวันคล้ายวันพราชสมภพของสมเด็จพระราชินีสุทิดาอีกด้วย
โดยองค์การสหประชาชาติประกาศให้เป็นวันสำคัญของโลกเมื่อปี พ.ศ. 2542 อันเนื่องมาจากหลักธรรมสำคัญของพระพุทธเจ้า ที่สอนให้มนุษยมีเมตาธรรม มุ่งสร้างสันติภาพ ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององการสหประชาติ (UN)
อีกทั้งในวันวิสาขบูชายังเกิดเหตุการณ์สำคัญในอดีต 3 ประการ คือ เป็นวันประสูตร ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งจะตรงกันทั้ง 3 วัน แตกต่างกันแค่ปี นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติ ในการน้อมรำลึกถึงหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย
ประวัติ วันวิสาขบูชา 2566 ปีนี้ตรงกับวันอะไร ขึ้นกี่ค่ำ
วันวิสาขบูชา หรือ ภาษาอังกฤษ Vesak’s Day สำหรับปี 2566 จะตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือ ตรงกับวันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2566 อีกทั้งปีนี้ยังเป็นปีอธิกมาศ เดือนแปดสองหน ดังนั้นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา จึงเลื่อนไป 1 เดือน จากเดิมที่จะนับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปกติ
นอกจากนี้ วันวิสาขบูชายังเป็นวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UNGA) เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในศาสนาพุทธ 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
โดยองค์การสหประชาชาติ (UN) ได้เล็งเห็นว่า หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเรื่อง “เมตาธรรม” และการแสวงหา “ความสันติ” สอดคล้องกับแนวทางการทำงานขององค์การสหประชาชาติ ดังนั้นแล้วทางองค์การฯ จึงได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก (International Day) ในปี พ.ศ. 2542
ความสำคัญของ “วันวิสาขบูชา” ทางพระพุทธศาสนา
วันวิสาขบูชา คือ วันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ ได้แก่ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งทั้ง 3 เหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นตรงกัน ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ
มีความแตกต่างกันแค่ปีเท่านั้น ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมการเกิดเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า วิสาขบูชา ย่อมาจาก วิสาขปุรณมีบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ
โดยในประเทศไทย ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 แต่ประเทศอื่นที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท และไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม
ส่วนในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกายที่นับถือว่า เหตุการณ์ทั้ง 3 นั้นเกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ซึ่งไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท
‘วันวิสาขบูชา’ กับเหตุการณ์สำคัญ 3 ประการ
วันวิสาขบูชานั้นได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญ สากลทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล
เหตุการณ์แรก เกิดขึ้นเมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น “วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ” ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน)
เหตุการณ์ที่สอง เกิดขึ้นเมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น “วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน)
เหตุการณ์ที่สาม เหตุการณ์สุดท้าย เกิดขึ้นเมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น “วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน)
สำหรับเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 (วิสาขะ) ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อถวายบูชาแด่องค์พระพุทธเจ้าสืบต่อมาจนถึงยุคปัจจุบัน
หลักธรรมสำคัญแห่งวันวิสาขบูชา
น้อมนำคำสอนขององค์พระสุทธเจ้า เนื่องในวันวิสาขบูชา 2566 ซึ่งเป็นวันพระใหญ่ และวันสำคัญของโลก จึงจะขอแนะนำหลักธรรมสำคัญประจำวันวิสาขบูชาเกี่ยวกับเรื่องความเมตา และสันติภาพให้ปฏิบัติตามในชีวิตประจำวัน โดยมีหลักธรรมสำคัญต่าง ๆ ดังนี้
1. ความกตัญญู ตอบแทนผู้มีอุปการคุณ
2. อริยสัจ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
3. ความไม่ประมาท คือ การมีสติทั้งขณะทำ ขณะพูด และขณะคิด
สรุปหลักธรรมสำคัญในวันวิสาขบูชา คือ เรื่องของความกตัญญูกตเวทีรู้คุณ ความไม่ประมาทในชีวิต และการตระหนักถึงแก่นแท้ของความทุกข์ ทั้งเหตุแห่งทุกข์ นิโรธหรือการดับทุกข์ และมรรคคือแนวทางการดับทุกข์ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อการพ้นทุกข์นั่นเอง
7 กิจกรรมงานบุญ เนื่องในวันวิสาขบูชา
สำหรับวันวิสาขบูชา 3 มิถุนายน 2566 ปีนี้ เนื่องในโอกาสวันพระใหญ่ของพุทธศาสนิกชน ทีมงาน The Thaiger เลยจะมาแนะนำ 7 กิจกรรม ชวนทำในวันวิสาขบูชา ร่วมกับครอบครัว เพื่อน หรือคนรัก พร้อมโกยบุญกุศลชุดใหญ่จัดเต็มในวันหยุด
1. ทำบุญใส่บาตร พร้อมกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับ และคู่กรรมคู่เวร
2. ทำบุญถวายภัตตาหารที่วัด และปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
3. ร่วมเวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัดในตอนค่ำ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
4. ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา เช่น การสวดมนต์
5. จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชาตามโรงเรียน หรือสถานที่ราชการต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้
6. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์
7. ออกไปทำบุญ สวดมนต์ที่วัด ร่วมกับครอบครัว ในวันหยุดวันพระปีนี้
วันวิสาขบูชา 2566 หยุดไหม?
วันวิสาขบูชาในปีนี้ จะตรงกับ วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2566 ซึ่งถือเป็นวันหยุดราชการ ทำให้เราจะได้ไปหยุดชดเชยเพิ่มเติมในวันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน 2566 ทำให้ข้อสรุปคือเราจะมีวันหยุดยาวติดกันดังนี้ วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน , วันอาทิตย์ที่ 4 มิถุนายน และ วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน ถือเป็นวันหยุดชดเชยราชการและธนาคาร
- 200 แคปชั่นวันวิสาขบูชา ศาสนาสอนให้เป็นคนดี เธอคนนี้สอนให้เป็นคนรัก
- บทสวดมนต์วันวิสาขบูชา 2566 สวดมนต์วันพระใหญ่ สร้างใบบุญหนุนนำชีวิต
อ้างอิง : 1