ข่าวข่าวการเมืองเลือกตั้ง 66

#Saveหลีเป๊ะ เปิดจดหมายขอโทษพรรคการเมืองที่คำเชิญเราไปไม่ถึง : เลือกตั้ง 2566

#Saveหลีเป๊ะ จดหมายถึงทุกพรรคการเมือง เปิดเนื้อหาข้อเรียกร้องถึงทุกพรรคการเมือง ไม่ว่าพรรคไหนจะได้เป็นรัฐบาล ฝากเรื่องหลีเป๊ะพิจารณา เพราะนี่คือบ้านหลังสุดท้าย เปิดข้อเรียกร้องเวทีดีเบตที่ต้องถูกปรับรูปแบบเป็นแค่การเสวนา เพราะมีแค่ พรรคก้าวไกล ร่วมนั่งฟังปัญหาพิพาทอยู่พรรคเดียว

“ พี่น้องชาวเลต้องขอโทษพรรคการเมืองที่คำเชิญของพวกเราอาจไปไม่ถึงท่าน ขอโทษที่พวกเราอยู่ไกล ขอโทษที่จัดตรงกับวันเลือกตั้งล่วงหน้า ขอโทษที่ต้องทำตอนนี้เพราะถ้ารอช้ากว่านี้ พวกเราอาจไม่มีบ้านอยู่ ” ประโยคซึ่งถูกตัดออกมาเผยแพร่ลงแฮชแท็ก #saveหลีเป๊ะ ของกลุ่มพี่น้องชาวเล ซึ่งจัดเวทีสัมนาขึ้นเมื่อวันที่ 7 พ.ค.2566 ที่ผ่านมา ตรงกับ “วันเลือกตั้งล่วงหน้า” จนทำให้พวกเขาต้องร่อนหนังสือจดหมายขอโทษพรรคการเมือง เนื่องจากพวกเขาอยู่ห่างไกลจึงไม่มีใครมาร่วมเวทีรับฟังปัญหา แต่ขณะเดียวกันคนบนเกาะก็รอช้าไปกว่าไม่ได้แล้ว เพราะอาจจะไม่มีบ้านอยู่กันแล้ว

โดยประเด็นที่กำลังเป็นกระแสข่าวที่มาพร้อมกับช่วงที่ทุกสปอร์ตไลค์กำลังจับตาพุ่งเป้าไปยังการเลือกตั้ง ณ เวลานี้ ซึ่งปูพรมหาเสียงช่วงโค้งสุดท้ายกับพี่น้องประชาชนทั่วประเทศกันอย่างไม่เว้นวัน

ข่าวเกาะหลีเป๊ะ
ภาพ Facebook @LAST LIVE AT LIPE

อย่างไรก็ตาม ช่วงค่ำวานนี้ กลุ่มพี่น้องชาวเลชุมชนอูรักลาโว้ย (Urak Lawoi) บนเกาะ “หลีเป๊ะ” อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นกลุ่ที่ตกสำรวจจนจำเป็นต้องออกมาเคลื่อนไหวรวมตัวกันถกเถียงปัญหาต่าง ๆ ท่ามกลางช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทิศทางการเมืองข้างหน้าของประเทศ ซึ่งมีกลไกเปิดโอกาสให้ ราษฎรใช้สิทธิของตนเองลงคะแนนเสียงเลือกตัวแทนเพื่อไปทําหน้าที่ เป็นปากเสียง การปกครองที่จะเป็นประหนึ่งตัวแปรสำคัญเอามาก ๆ ในภายภาคหน้านับจากนี้

ข่าวหลีเป๊ะ

“ฟังไลฟ์สดแล้วน่าสงสารมาก ทั้งเกาะมีคนจบปริญญาตรี 2 คน โท 1 ตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงตอนนี้ เด็ก ๆ ในพื้นที่ขาดโอกาสการเข้าถึงการศึกษาจนทำให้คุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน ที่ดินในพื้นที่ถูกนายทุนซื้อที่ดินหมดแล้ว เรื่องนี้ไม่ใช่พึ่งเกิดขึ้นแต่มันนานมากแล้ว แต่รัฐไม่เคยสนใจเลย #Saveหลีเป๊ะ”

ข้อความบรรทัดข้างบนนั้นมาจากผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่ง ซึ่งหล่นความห็นในแฮชแท็กที่ทุกคนกำลังให้ความสนใจกันอย่างมาก ยกเว้น พรรคการเมืองที่ลงชิงชัยศึกเลือกตั้งเที่ยวล่าสุดนี้ทุกพรรคยกเว้น “พรรคก้าวไกว” ที่มี สมชาย ฝั่งชลจิตร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ตัวแทนสัดส่วนภาคใต้มานั่งในวงเสวนาที่จำเป็นต้องเปลี่ยนมาใช้คำนี้แทน เป้าประสงค์ของการจัดพูดคุยว่าเป็น “เวทีดีเบตของชาวหลีเป๊ะ”

#saveหลีเป๊ะ จดหมายถึงทุกพรรคการเมือง

“ถ้าบอกว่ามาช้าไม่ได้นะคะ เพราะเชิญตั้งแต่ 27 เม.ย. #saveหลีเป๊ะ” ความเห็นจากแฮชแท็กบนทวิตเตอร์ที่พูดคุยเกี่ยวกับเกาะหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวงชื่อดังของไทยที่กำลังมีประเด็นข้อพิพาท ปัญหาสิทธิเหนือที่ดิน โดยเป็นการเปิดเผยข้อมูลว่าทางชุมชนได้มีการติดต่อเชิญบรรดาพรรคดการเมืองให้มาร่วมในการดีเบตเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวแล้วทั้งช่องทางต่าง ๆ โดยเฉพาะสื่อบัญชีโซเชียลอย่างเป็นทางการ แต่ก็ไม่มีคำตอบรับใดทั้งสิ้น

เลือกตั้ง 2566
ภาพ Facebook @LAST LIVE AT LIPE

” แม้ว่าเวทีของเราในวันนี้จะไม่สามารถมาในรูปแบบ “เวทีดีเบต” ตามที่ตั้งใจไว้ เพื่อให้แต่ละพรรคได้ร่วมแสดงนโยบายพร้อมถกเถียงประเด็นกัน เนื่องจากมีผู้ตอบรับเข้าร่วมงานไม่มากพอให้สามารถดีเบตได้ “

” พวกเราจึงปรับการจัดงานใหม่ในรูปแบบ “เวทีเสวนาของชาวเลท้องถิ่นบนเกาะหลีเป๊ะ ” ข้อความจากบัญชีทวิตเตอร์ LAST LIVE AT LIPE @lastliveatlipeองค์การไม่แสวงหาผลกำไรที่ออกมาขับเคลื่อนประเด็นพี่น้องชาวเลบนเกาะหลีเป๊ะล่าสุด

เปิดข้อความ จดหมายเปิดผนึกพี่น้องชาวเล เกาะหลีเป๊ะถึงพรรคการเมือง

“ พี่น้องชาวเลต้องขอโทษพรรคการเมืองที่คำเชิญของพวกเราอาจไปไม่ถึงท่าน ขอโทษที่พวกเราอยู่ไกล ขอโทษที่จัดตรงกับวันเลือกตั้งล่วงหน้า ขอโทษที่ต้องทำตอนนี้เพราะถ้ารอช้ากว่านี้ พวกเราอาจไม่มีบ้านอยู่ ”

” นี่คือจดหมายถึงทุกพรรคไม่ว่าพรรคไหนจะไดเป็นรัฐบาลฝากเรื่องหลีเป๊ะให้ท่านได้พิจารณาเพราะคือบ้านหลังเดียวของพวกเราจริง ๆ ”

เนื้อหาที่ท่านได้ไล่สายตาผ่านมาสักครู่ คือ เนื้อหาทั้งหมดของพี่น้องกลุ่มชาวเลบนเกาะซึ่งได้มีการกล่าวก่อนการเสวนารับฟังปัญหาข้อเรียกร้องจะเริ่มขึ้น

ดีเบตพี่น้องชาวเลเกาะหลีเป๊ะ

“ทั้งคลิปเชิญชวน ทั้งเตรียมอาหาร เตรียมเรือทีพักไว้รอ จนมาสองวันที่แล้วไม่มีใครตอบรับเลย ความพยามจากสองวันสุดท้าย จนวันสุดท้าย นาทีสุดท้ายก็ยังมีพรรคเดียวทีฟังเสียงประชาชนตาดำดำแบบจริงๆ ขอชื่นชมมากๆ ทัชใจนี่มากๆ ไปฟังเขาไม่เบลมใครเลย มีแต่ขอโทษๆ แบบฟังแล้วจะร้อง #saveหลีเป๊ะ” ข้อความจากบัญชีทวิตเตอร์ท่านหนึ่งที่แสดงความเห็นถึงประเด็นนี้ ที่มีการเปิดเผยรายะเอยีดที่ทางคนบนเกาะได้เตรียมจัดไว้รองรับ แขกผู้มาเยือนแต่สุดท้ายไม่เกิดขึ้นดั่งหวัง.

ทั้งนี้ ในส่วนของประเด็นข้อเรียกร้องของพี่น้องชาวเลบนเกาะหลีเป๊ะ จากงานเสวนา อ้างอิงจากทวิตเตอร์ @R_artisty เรื่องวุ่นๆ ของวัยรุ่นอุกะอุกะ เราแค่ชอบดูประชุมสภาน่ะนะ ได้มีการเปิดเผยเนื้อหาข้อเรียกร้องไว้ ดังนี้

– คนทำงานด้านการท่องเที่ยวเผย อยากได้ราคาที่ทั้งตัวเองและผู้ประกอบการแฟร์ๆ ต่อกัน จริงๆ แล้ว ผปก.ก็ไม่ได้เอาเปรียบอะไรมาก แต่ราคาที่ให้กันมันต่ำไป ขอให้ #พรรคก้าวไกล ช่วยเรื่องที่อยู่อาศัย-การทำมาหากินเป็นอันดับแรก ส่วนเรทราคาเป็นเรื่องรองมา

– อยากให้กำหนดนโยบายที่เกี่ยวกับเกาะหลีโป๊ะ “ให้พวกเราอยู่บนโต๊ะของท่านบ้าง” เพราะบางครั้งคำสั่งจากคนบนโต๊ะมันไม่สอดคล้องกับคนในพื้นที่ ฝากคุณพิธาด้วย

– พี่น้องชาวเลรายได้เท่ากับ(ราคา)ชุมชน รายจ่ายเท่ากับ(ราคา)ท่องเที่ยว” ตกลงการท่องเที่ยวมีประโยชน์อย่างเป็นธรรมต่อชาวบ้านในพื้นที่แค่ไหน ?

พรรคก้าวไกล
ภาพ Facebook @LAST LIVE AT LIPE

– ตัวแทนภาค ปชช.สะท้อนปัญหา ฝากตัวแทนพรรคก้าวไกล เมื่อก่อนหากินรอบเกาะได้ แต่พอประกาศเขตอนุรักษ์เขตอุทยาน ต้องไปหากินกลางทะเล ทำให้ต้องไปหากินกลางทะเล กลายเป็นโรคน้ำหนีบ ในสตูลไม่มีที่รักษา ต้องไปรักษาที่ภูเก็ต

– ปัญหาอย่างหนึ่งของชาวเกาะคือน้ำเสียที่เกิดจากน้ำท่วม ฝนตกหนักๆ ติดต่อกันแล้วไม่มีทางระบายน้ำ ทำให้ชาวเลเกิดโรคระบาดหลายอย่าง พอมีพื้นที่ท่องเที่ยวเข้ามาก็ทำให้วิถีทำกินชาวบ้านที่หาหอยไม่สามารถทำได้ ชาวเลกินอาหารทะเลตลอด ไม่ได้ออกไปซื้อเนื้อไก่

– ชาวเลเรียกร้องไปยังทุกพรรค ขอให้มีการจัดการสิ่งแวดล้อม, ขยะ, สาธารณูปโภค (ไฟฟ้า, น้ำสะอาด), จัดพื้นที่สำหรับที่จอดเรือให้เป็นระบบระเบียบ ไม่ทำให้ นทท.หลงทาง, ขอพื้นที่ทำกินอย่างเหมาะสมให้สามารถหาหอยได้แบบเดิม #เลือกตั้ง66

– พิธีกรสะท้อนปัญหาการศึกษา เผยเกาะนี้ปีนึงมีคนไปเรียนข้างนอก2-3คนต่อปี มีคนจบ ป.ตรีแค่1คน ป.โท1คน รายได้ครัวเรือนละ15k-20k รายจ่าย20-25k ค่าไฟบ้านละ1,500-3,000 เพราะเป็นแบบค่าไฟตจ่ายล่วงหน้า เติมก่อนจ่ายทีหลัง ถ้าไม่มีเงินเติมก็ตัดไฟ

ทั้งนี้ ช่วงท้ายยังได้มีการฝากอีกปัญหา คือ การกำหนดบ่อบาดาล กำหนดว่าคนทำธุรกิจตรงนี้ๆ ควรได้เท่าไหร่ ไม่ให้กระทบชาวบ้าน การไม่มีการกำกับควบคุมทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน ขาดน้ำกินน้ำใช้ด้วย.

ข่าวเกาะหลีเป๊ะ
ภาพ Facebook @LAST LIVE AT LIPE

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button