คดี “แอม ไซยาไนด์” ถ้าผิดจริง ส่อรอดโทษประหารชีวิต
อัยการปรเมศวร์ เผยในรายการโหนกระแสวันนี้ คดีแอมไซยาไนด์ โอกาสรอดโทษ ประหารชีวิต มีสูง เพราะสาเหตุแสนง่ายตามนี้
วันที่ 28 เมษายน 2566 นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม อัยการอาวุโส สำนักงานการสอบสวน กล่าวในรายการโหนกระแสวันนี้ ของหนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย ซึ่งตามติดคดีโหด แอม สรารัตน์ ผู้ต้องหาคดีสุดอำมหิตวางยาไซยาไนด์ ก่อเหตุฆาตกรรมต่อเนื่องจนมีเหยื่อเสียชีวิตแล้วจนถึงตอนนี้ จำนวน 13 ศพ
โดยในส่วนของคดีแอมซึ่งทางอัยการอาวุโส ได้กล่าวในรายการของ หนุ่ม กรรชัย วันนี้ซึ่งเปิดเผยเนื้อหาที่น่าสนใจ เมื่อมีการชี้ชัดโดย อ.ปรเมศวร์เองว่า แอมไซยาไนด์ ไม่ต้องถูกประหารเพราะกฏหมายระบุไว้ชัดเจนว่า “หญิงท้องประหารไม่ได้”
ทั้งนี้ในรายการยังได้มีการยกข้อมูลของ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ฉบับที่แก้ไขใหม่ พ.ศ. 2550 มาตรา 247 วรรคสอง ซึ่งระบุไว้ว่า
“หญิงใดจะต้องประหารชีวิต ถ้ามีครรภ์อยู่ ให้รอไว้จนพ้นกำหนดสามปีนับแต่คลอดบุตร แล้วให้ลดโทษประหารชีวิตลงเหลือจำคุกตลอดชีวิต เว้นแต่เมื่อบุตรถึงแก่ความตาย ก่อนพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ในระหว่างสามปีนับแต่คลอดบุตร ให้หญิงนั้นเลี้ยงดูบุตร ตามความเหมาะสมในสถานที่ที่สมควรแก่การเลี้ยงดูบุตรภายในเรือนจำ”
สุดท้ายทิศทางคดีจนถึง ณ วันนี้ “อ.ปรเมศวร์” สรุปให้ฟังแบบเข้าใจง่ายๆ ว่า คดีนี้ตามกฎหมายแล้ว แอมซึ่งปัจจุบันตั้งงครรภ์อยู่ 3 เดือน น่าจะรอดโทษประหารชีวิตเพราะมีเด็กอยู่ กระบวนการยุติธรรมก็คงจะดำเนินไปก่อนที่จะคลอด ดังนั้นกรณีที่ต้องโทษประหาร กฎหมายบังคับให้ลดโทษลง และที่ข้อกฎหมายเขียนมาแบบนี้ก็เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
ส่วนประเด็นตั้งข้อสังเกตเรื่อง “โรคจิตเวช” อัยการอาวุโส สำนักงานการสอบสวน ยังคงยืนยันคำเดิมที่กล่าวในรายการเมื่อวานนี้ว่า “ไร้สาระ” เพราะผู้ต้องหามีสติดี ตอบคำถามได้หมด ไม่มีผลในทางคดีแน่นอน ไม่ควรยกขึ้นมาทำให้สังคมไขว้เขว
ความเห็นทะลัก #โหนกระแส เดือดพล่าน สังคมจี้แก้กฏหมายประหารชีวิต
ภายหลังมีกระแสข่าวที่ผู้ต้องหา นางสรารัตน์ หรือ “แอม ไซยาไนด์” มีสิทธิ์รอดโทษประหารชีวิตสูง ปรากฏ #โหนกระแส ก็ขึ้นเป็นเทรนด์ทวิตเตอร์ที่มีคนเข้ามาวิจารณ์และแสดงความเห็นจำนวนมาก อาทิ
“สรุปต่อให้ฆ่า 20-30 คน แต่ถ้าท้องอยู่ ก็จะไม่โดนประหารชีวิตเหรอ? ถ้าเป็นจริง ไม่แฟร์กับคนตายมากๆ” ความเห็นแรกที่ผู้ใช้บัญชีทวิตเตอร์รายหนึ่งมองว่า บทลงโทษครั้งนี้ไม่ยุติธรรมต่อครอบครัวผู้เสียชีวิต
เช่นเกียวกับอีก 2 ความเห็นด่านล่างนี้ ที่ต่างก็มองว่า ข้อกฏหมายที่ระบุไว้ มาตรา 247 ดังกล่าว ควรจะต้องมีการรื้อมาปรับแก้ ข้อกฏหมายให้มีความเหมาะสมมากกว่านี้ หรือไม่ ?
“ถ้าเป็น #แอมไซยาไนด์ เคสนี้คือเพิ่งคลอดได้1เดือน ลูกคนโตตอนนั้น 5ขวบ อยู่กับแม่ด้วยแต่ไม่รู้ว่าแม่เสียชีวิตแล้ว #โหนกระแส”
“ตามกม.โทษประหารคือคลอดมาแล้วต้องรอ 3ปี ถ้าเด็กอยู่ โทษบังคับเปลี่ยนเป็นจำคุกตลอดชีวิต เหตุผลคือเพื่อเด็ก..ในขณะที่ลูกของเหยื่อไม่มีโอกาสในเดือนที่ 2 ด้วยซ้ำ”
“พรรคไหนอยากนำเสนอโทษประหารกลับมาใช้ไหม คุกมันล้นจริงๆต้องระบายบ้างนะ อันนี้เขาจะไม่ประหารนักโทษที่ท้องอ่ะ แล้วพอคลอดก็รออีก 3 ปีแน่ะ”
“พี่หนุ่ม : มีข้อกฎหมายคุ้มครองคนท้องถ้าทำผิดมีโทษประหารลดโทษไม่ประหารชีวิตหลังจากคลอด3ปีถึงจะมาตัดสินกันคนท้องนะครับคลอดมามีโอกาสอีก3ปีแต่คนข้างๆผมเมียเขาท้องเหมือนกันคลอดลูกเหมือนกันแค่เดือนเดียวแล้วเสียชีวิตไม่มีอะไรคุ้มครองเขาเลย”
ตัวอย่างความเห็นบน #โหนกระแส #แอมไซยาไนด์ ซึ่งต่างพากันติดแฮชแท็กดังกล่าว เพื่อวิจารณ์ถึงข้อกฏฆมายที่ดูจะไม่เอื้อต่อความยุติธรรมให้บังเกิดขึ้นกับ ญาติและครอบครัวผู้เสียชีวิตจากคดีสุดสะเทือนขวัญนี้.