ข่าว

สังขารพญานาค ที่แท้คือ ฟันช้าง ทำนักวิชาการแจงวุ่น

สังขารพญานาค คืออะไร ข้อมูลวิทยาศาสตร์ชี้ชัดเป็น กรามช้าง แต่ความเชื่อส่วนบุคคลยังทำเสียงแตก โซเชียลไม่เข้าใจคนแห่สาธุทำไมทั้งที่ไม่ใช่พระ

กลายเป็นดราม่าร้อนกับกรณีของโลกโซเชียลที่พากันถกเถียงกันสนั่นเรื่องราวของสังขารพญานาคซึ่งเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งที่อ้างตนเองเป็น “เจ้าย่าเกล้ามหานาคี” ได้ออกมาโพสต์ภาพขณะกำลังทำิธีบูชาพญานาคพร้อมกับระบุ สิ่งของสิ่งหนึ่งที่วางอยู่บนโต๊ำทพิธีว่าคือ สังขารงูใหญ่ที่ขึ้นมาจากแม่น้ำโขง โดยต่อมาเรื่องราวดังกล่าวความเห็นได้แตกเป็นสองเสียงเมื่อมีชาวเน็ตเข้ามาชี้แจงถึงสิ่งที่เจ้าของเรื่องได้โพสต์ว่าเป็นสังขารพญานาคนั้น แท้จริงแล้วคือ ซากกระดูกของสัตว์ หรือก็คือ “ฟันกรามช้าง” นั่นเอง

Advertisements

มุมนักวิชาการยันมันคือ “กรามช้าง”

เมื่อประเด็นนี้เริ่มถูกส่งต่อจนวนมากบนโลกออนไลน์ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้ออกมาให้ความเห็นประเด็นผ่านบัญชีโซเชียลของตัวเองว่า

บางคน อาจจะมีความเชื่อส่วนบุคคล ว่าของพวกนี้เป็น “สังขารพญานาค” แต่สำหรับผม ผมเรียกว่า “ฟันกรามช้าง” ครับ

ทั้งนี้ แม้จะมีนักวิชาการออกมายืนยันชุดข้อมูลเกี่ยวกับความเชื่อนี้ แต่ความเคลื่อนไหวของเจ้าของโพสต์ที่มีท่าทียืนกรานในความเชื่อของตัวเองก็เป็นดั่งเชื้อพลิงที่โหมไฟดราม่าสังขารพญานาคนี้ให้บานปลาย โดยหลังจากนั้นบัญชีโซเชียลของเจ้าย่าเกล้ามหานาคี ก็เขียนข้อความพร้อมกับลงรูปที่ชาวเน็ตพยายามส่งภาพซากกรามช้างมาให้ดูเปรียบเทียบ แต่เจ้าของเรื่องก็ยังคงยืนยันความเชื่อส่วนบุคคลนี้ว่า ไม่อยากดู ภาพของคนอื่นเหล่านี้ค่ะ (ที่คุณ copy เขามา) ฉันมีแยะ แล้ว

Advertisements

“อยากดู สังขารพญานาคที่คุณว่าของจริง น่ะค่ะ เอาออกมาโชว์ให้ดูเป็น ขวัญตาหน่อย คนแก่โง่ๆ อย่างฉันจะได้กระจ่าง….ไม่มัวบ้า งมงาย จะได้ฉลาดเยี่ยงคุณบ้างเน้นๆขอดูของจริงค่ะ….ไม่ใช่สังขารพญานาค แต่อาจจะเป็น ซากกรามช้าง ที่ถูกคนนำมาทิ้งลงแม่น้ำโขง”

เรื่องพญานาค

ขณะที่ โพสต์ล่าสุดเจ้าของเรื่องได้ติดแคปชั่นสั้น ๆ ไว้หลังเรื่องราวทั้งหมดกลายเป็นที่วิพากวิจารณ์จนลุกลามใหญ่โตว่า “ทัวร์ลง เรื่องสังขารพญานาค วุ่นวายกันจริงๆ”

ทัวร์ลง สังขารพญานาค

สังขารพญานาค

รูปสังขารพญานาค

 

 

 

 

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button