ข่าวข่าวภูมิภาค

เร็ว ๆ นี้ “รถไฟความเร็วสูง” เส้นกรุงเทพ-เชียงใหม่ ภายในปี 2580 มาแน่

อีกไม่นานเกินรอ รถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพ – เชียงใหม่ ระยะรวมทั้งหมด 2,700 กิโลเมตร เตรียมสร้างเสร็จภายในปี 2580 หรืออีก 15 ปีข้างหน้านี้เอง

วันนี้ (13 ก.ย.65) เฟสบุ๊ก ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี – PMOC ได้ออกรายงานความคืบหน้าโครงการ ข่ายรถไฟความเร็วสูงของไทย ที่มีแผนกำหนดสร้างเสร็จสิ้นภายในปี พ.ศ.2580 โดยสายแรกที่คากว่าจะสร้างเสร็จได้แก่เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มรกำหนดในเปิดใช้ในปีพ.ศ.2569 และสิ้นสุดโครงการกับสายเหนือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เสร็จภายในปี 2580

โครงข่ายทางรถไฟความเร็วสูงของไทย ถูกวางแผนไว้ว่าจะใช้รางเกจมาตรฐาน 1,435 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นเกจมาตรฐานที่ทางรถไฟส่วนใหญ่ของโลกเลือกใช้ แบ่งออกได้ทั้งหมด 4 เส้นทาง มีระยะทางทั้งหมดรวมกัน 2,700 กิโลเมตร ดังนี้

รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-เชียงใหม่
Facebook ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี – PMOC

สายอีสาน

โครงการทางรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน กรุงเทพ-นครราชสีมา-หนองคาย เชื่อมโยงประเทศลาว รองรับรถไฟความเร็วสูง มีความเร็วปกติ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง แบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยรถไฟสายนี้ จะเป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงไปยังเส้นทางรถไฟลาว-จีน

ระยะที่ 1 เส้นทางกรุงเทพ – นครราชสีมา โครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีระยะทาง 250 กิโลเมตร เชื่อม 6 สถานีคือ บางซื่อ-ดอนเมือง-อยุธยา-สระบุรี-ปากช่อง-นครราชสีมา กำหนดเปิดให้บริการ พ.ศ. 2569

ระยะที่ 2 เส้นทางนครราชสีมา – หนองคาย โครงการอยู่ในขั้นตอนการวางแผน มีระยะทาง 357 กิโลเมตร เชื่อม 6 สถานีคือ นครราชสีมา-บัวใหญ่-บ้านไผ่-ขอนแก่น-อุดรธานี-หนองคาย กำหนดเปิดให้บริการ พ.ศ. 2572 – 2573

สายตะวันออก

โครงการทางรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก (กรุงเทพ-ตราด) รองรับรถไฟความเร็วสูง มีความเร็วปกติ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง แบ่งออกเป็น 2 ระยะ

ระยะที่ 1 เส้นทางกรุงเทพ – อู่ตะเภา โครงการอยู่ในขั้นตอนการเตรียมงานก่อสร้าง มีระยะทาง 220 กิโลเมตร เชื่อม 9 สถานีคือ ดอนเมือง-บางซื่อ-มักกะสัน-สนามบินสุวรรณภูมิ-ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ศรีราชา-พัทยา-สนามบินอู่ตะเภา คาดว่าจะเสร็จ พ.ศ. 2572

ระยะที่ 2 เส้นทางอู่ตะเภา – ตราด โครงการอยู่ในขั้นตอนการวางแผน มีระยะทาง 190 กิโลเมตร เชื่อม 5 สถานีคือ สนามบินอู่ตะเภา-ระยอง-แกลง-จันทบุรี-ตราด คาดว่าจะเสร็จ พ.ศ. 2580

สายเหนือ

โครงการทาง รถไฟความเร็วสูง สายเหนือ (กรุงเทพ-เชียงใหม่) รองรับรถไฟความเร็วสูง มีความเร็วปกติ 300 กิโลเมตร/ชั่วโมงแบ่งออกเป็น 2 ระยะ

ระยะที่ 1 เส้นทางกรุงเทพ – พิษณุโลก โครงการอยู่ในขั้นตอนการเตรียมงานก่อสร้าง มีระยะทาง 380 กิโลเมตร เชื่อม 7 สถานีคือ บางซื่อ–ดอนเมือง–อยุธยา–ลพบุรี–นครสวรรค์–พิจิตร-พิษณุโลก คาดว่าจะเสร็จ พ.ศ. 2575

ระยะที่ 2 เส้นทางพิษณุโลก – เชียงใหม่ โครงการอยู่ในขั้นตอนการวางแผน มีระยะทาง 288 กิโลเมตร เชื่อม 6 สถานีคือ พิษณุโลก-สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-ลำปาง–ลำพูน-เชียงใหม่ คาดว่าจะเสร็จ พ.ศ. 2580

สายใต้

โครงการทางรถไฟความเร็วสูงสายใต้ (กรุงเทพ-ปาดังเบซาร์ (มาเลเซีย)) รองรับรถไฟความเร็วสูง มีความเร็วปกติ 300 กิโลเมตร/ชั่วโมงแบ่งออกเป็น 2 ระยะ

ระยะที่ 1 เส้นทางกรุงเทพ – หัวหิน โครงการอยู่ในขั้นตอนการเตรียมงานก่อสร้าง มีระยะทาง 211 กิโลเมตร เชื่อม 5 สถานีคือ บางซื่อ-นครปฐม-ราชบุรี-เพชรบุรี-หัวหิน คาดว่าจะเสร็จ พ.ศ. 2575

ระยะที่ 2 เส้นทางหัวหิน – ปาดังเบซาร์ โครงการอยู่ในขั้นตอนการวางแผน มีระยะทาง 759 กิโลเมตร เชื่อม 8 สถานีคือ หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร-สุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช-พัทลุง-หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ คาดว่าจะเสร็จ พ.ศ. 2580

 

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button