
วันสำคัญ ‘สืบ นาคะเสถียร’ 1 กันยายน 2565 รวบรวม ผลงาน ของวีรบุรุษหัวใจนักอนุรักษ์ธรรมชาติ ผู้ปกป้องแก่งเชี่ยวหลาน-ห้วยขาแข้ง
วันที่ 1 กันยายน 2565 วันครบรอบ 32 ปี กับการเสียสละชีวิตตัวเองของ สืบ นาคะเสถียร ย้อนผลงาน บิดาและวีรบุรุษผู้มีหัวใจอันแน่วแน่ในการอนุรักษ์ธรรมชาติ ที่ยอมทำทุกวิถีทางแม้กระทั้งแลกด้วชีวิตเพื่อให้คนได้ตระหนักถึงความสำคัญของป่าไม้ กลายเป็นเสียงปืนหนึ่งนัดที่ดังก้องไปทั่วโลก
- ประวัติ วันสืบ นาคะเสถียร 1 กันยายน รำลึก 32 ปี วีรบุรุษแห่งห้วยขาแข้ง.
- วันป่าไม้โลก 21 มีนาคม 2565 สำคัญอย่างไร ?.
- จนท. พบศพ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ยิงบ้านอดีตเมีย ผูกคอตายหนีความผิด.

รวมผลงาน สืบ นาคะเสถียร บิดาแห่งการอนุรักษ์ ผู้ปกป้องแก่งเชี่ยวหลาน – ห้วยขาแข้ง แลกด้วยชีวิต
| ผลงาน สืบ นาคะเสถียร
การสัมมนาเรื่องสัตว์ป่าเมืองไทย
หัวข้อการทำรังวางไข่ของนกบางชนิดที่อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี (ปี พ.ศ.2524)
ในการจัดการแหล่งที่อยู่อาศัยเพื่อให้นกได้มีโอกาสขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรมากขึ้น จำเป็นต้องมีการศึกษาและวิจัยเพื่อให้รู้ถึงฤดูผสมพันธุ์ของนกชนิดต่าง ๆ สภาพพื้นที่ที่นกใช้ทำรัง วัสดุที่ใช้ทำรัง พฤติกรรมการเกี้ยวพาราสี ตลอดจนช่วงเวลาที่นกแต่ละชนิดทำรัง ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้เป็นแนวทางที่จะให้ความคุ้มครอง และจัดหาอุปกรณ์เพื่อตอบสนองความต้องการของนกในช่วงฤดูผสมพันธุ์ได้
หัวข้อการสำรวจนก บริเวณอ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี (ปี พ.ศ.2526)
หัวข้อการสัมมนา สำรวจนก บริเวณอ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี เพื่อหาชนิด และระยะเวลาที่สามารถพบนกชนิดดังกล่าวบริเวณนั้นได้ เพื่อใช้เป็นการเปรียบเทียบประชากรนกที่อาศัยอยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำบางพระ เทียบกับในปีพ.ศ. 2525

หัวข้อการอพยพสัตว์ป่าในอ่างเก็บน้ำรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี (ปี พ.ศ.2532)
งานช่วยเหลือสัตว์ป่าตกค้างในพื้นที่อ่างเก็บน้ำโครงการเขื่อนเชี่ยวหลานได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2528 และสิ้นสุดโครงการในเดือนกันยายน 2530 รวมเป็นเวลาประมาณ 2 ปี 4 เดือน

การศึกษานิเวศวิทยาป่าไม้และสัตว์ป่า
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง (ปี พ.ศ.2529)
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นแหล่งมรดกโลกของประเทศไทยโดยการขึ้นทะเบียนของยูเนสโก (UNESCO) ร่วมกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ภายใต้ชื่อ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง เมื่อปี พ.ศ. 2534 กินพื้นที่ครอบคลุม 6 อำเภอ ของ 3 จังหวัด ได้แก่
- จังหวัดอุทัยธานี อำเภอบ้านไร่ อำเภอลานสัก อำเภอห้วยคต
- จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ
- จังหวัดตาก อำเภออุ้มผาง

ต้นน้ำของแหล่งน้ำสำคัญ 3 สาย คือ ลำน้ำทับเสลา ไหลลงสู่แม่น้ำสะแกกรังจนกระทั่งลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา, ลำน้ำห้วยขาแข้งไหลลงสู่เขื่อนศรีนครินทร์ และลำน้ำแม่กลอง – อุ้มผาง ไหลจากจังหวัดกาญจนบุรีและตาก ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญในการผลิตไฟฟ้า รวมถึงน้ำประปาในภาคตะวันตกและกรุงเทพฯ

ความหลากหลายทางชีวภาพของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสำคัญของสัตว์ป่าหายากหลายชนิด บางชนิดอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ เช่น สมเสร็จ, เก้งหม้อ, เลียงผา, กระทิง, วัวแดง, ควายป่า อีกทั้งยังเป็นแหล่งอาศัยของ เสือโคร่ง ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และได้แพร่ขยายไปยังพื้นที่ป่าใกล้เคียง

สำรวจถิ่นที่อยู่อาศัยเลียงผา – เก้งม้อ – เนื้อทราย
เลียงผาที่พบในประเทศไทย การกระจายถิ่นที่อยู่อาศัย และพฤติกรรมบางประการ (ปี พ.ศ.2529)
- เลียงผา – สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ตามภูเขาที่มีหน้าผาสูง อาศัยอยู่ตามภูเขาซึ่งปกคลุมด้วยป่าทึบ และพบเลียงผาอาศัยอยู่บริเวณหน้าผากับยอดเขาที่ระดับความสูง 1,000 เมตร ในป่าเบญจพรรณ ในป่าห้วยขาแข้ง เลียงผาสามารถพบได้ในสภาพป่าค่อนข้างหลากหลาย โดยในปัจจุบันสามารถพบร่องรอยของเลียงผาในป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าไผ่ ป่าฟื้นฟูตามธรรมชาติ
- เก้งหม้อ – เป็นเก้งที่หายากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก เก้งหม้ออาศัยอยู่ในป่าที่มีความชื้นสูง เช่น บริเวณหุบเขาหรือป่าดิบชื้นใกล้แหล่งน้ำ ออกหาอาหารตามลำพังในช่วงเย็นหรือพลบค่ำ แต่ในบางครั้งอาจพบอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ ในฤดูผสมพันธุ์
- เนื้อทราย – มักอาศัยอยู่ในบริเวณที่ราบต่ำที่น้ำท่วมถึง เคยเป็นสัตว์ป่าสงวนในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2509 และถูกถอดชื่อออกเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 แต่สถานะในธรรมชาติในประเทศไทย เชื่อว่าในปัจจุบันเหลือเพียง 2 แห่งเท่านั้น คือ ห้วยขาแข้ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
ขอบคุณข้อมูล seub, wikipedia, มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
