เปิดประวัติ 4 สิงหาคม 2565 วันสื่อสารแห่งชาติ มีความสำคัญอย่างไร พร้อมเช็กไทม์ไลน์การสื่อสารของประเทศไทย เช็กได้เลยที่นี่
วันสื่อสารแห่งชาติ ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม 65 กำเนิดขึ้นจากพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนา “กรมไปรษณีย์และกรมโทรเลข” ขึ้น The Thaiger จะพามาทำความรู้จักวันสื่อสารแห่งชาติว่า มีความเป็นมา และความสำคัญอย่างไร พร้อมเช็กไทม์ไลน์การสื่อสารที่น่าสนใจ
ประวัติ 4 สิงหาคม 2565 วันสื่อสารแห่งชาติ คือวันอะไร
วันที่ 4 สิงหาคม 2565 กำหนดให้เป็นวันสื่อสารแห่งชาติในทุก ๆ ปี ดังนั้นวันสื่อสารแห่งชาติ คือ วันที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา “กรมไปรษณีย์และกรมโทรเลข” เมื่อ 4 ส.ค. 2526 ต่อมาได้ใช้ชื่อใหม่ว่า “กรมไปรษณีย์โทรเลข”
นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งหน่วยงานราชการที่มีความเกี่ยวข้องกับการสื่อสารขึ้นอีกมาก เช่น กรมประชาสัมพันธ์ บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศ ก็นับว่าเป็นหน่วยงานสื่อสารของราชการด้วยเช่นกัน ทั้งหมดนี้ก็เพื่อตอบสนองความต้องการที่จะให้การสื่อสารของประเทศไทยเจริญก้าวหน้าขึ้นในทุกปี
ในปัจจุบัน 4 ส.ค. 65 เครื่องมือเทคโนโลยีในด้านการสื่อสารของประเทศไทยถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และรวดเร็วเป็นอย่างมาก กิจการและเศรษฐกิจเกี่ยวกับการสื่อสารในโลกยุคโลกาภิวัตน์ของไทยมีความเจริญก้าวหน้าเทียบเท่ากับประเทศอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว
ทางคณะรัฐมนตรีก็ได้ตระหนักถึงคุณค่า และความสำคัญของการสื่อสารไทย จึงกำหนดให้วันที่ 4 สิงหาคม เป็นวันสื่อสารแห่งชาติ และมีการจัดงานวันสื่อสารแห่งชาติขึ้นเป็นประจำทุกปี
ไทม์ไลน์พัฒนาการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย
เนื่องในวันที่ 4 สิงหาคม 2565 ตรงกับวันสื่อสารแห่งชาติ ทีมงานจึงขอพาเช็กไทม์ไลน์พัฒนาการของการสื่อสารในประเทศไทยว่า มีความเจริญก้าวหน้าจากในอดีตอย่างไรบ้าง
- การก่อตั้งกรมไปรษณีย์โทรเลขในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426
- การใช้เครื่องโทรพิมพ์เป็นครั้งแรกของประเทศไทย มีลักษณะคล้ายกับเครื่องพิมพ์ดีดที่สามารถส่งข้อความไปยังอีกเครื่องหนึ่งได้ เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2498
- การใช้เครื่องโทรสารความเร็วสูง หรือ Quick Fax ครั้งแรกในประเทศไทย ได้รับมาจากบริษัทญี่ปุ่น เนื่องจากไทยต้องเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 8 พร้อมรายงานข่าวไปยังประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2521
- การเริ่มต้นของระบบเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เรียกว่า “1G (Generation 1)” ใช้ระบบ NMT470 โดยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2529
- การให้บริการของ “เพจเจอร์” เป็นเครื่องรับส่งข้อความโทรศัพท์แบบตัวเลข เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2532
- การให้บริการของเครื่องเพจเจอร์ในลักษณะการรับส่งข้อความแบบตัวอักษร / การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบรวงผึ้ง (Cellular Mobile Telephone System) ในระบบ Cellular 900 ของบริษัท AIS ในปี พ.ศ. 2533
- ในปี พ.ศ. 2537 ได้เปิดศักราชใหม่ของการสื่อสารในโทรศัพท์มือถือไทยกับ 2G (Generation 2) เริ่มที่โทรศัพท์มือถือระบบดิจิตอลจากบริษัท AIS เครือข่าย Digital GSM และบริษัท TAC เครือข่าย WorldPhone 1800
- ยุคแห่งการติดต่อสื่อสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2539 บริษัทไมโครซอฟต์เปิดให้บริการ Hotmail
- ปี พ.ศ. 2542 ระบบส่งข้อความแช็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทย เช่นโปรแกรมแช็ต ICQ, Pirch98, MSN Messenger
- การเปิดตัวของโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟนแบรนด์ Black Berry ในปี พ.ศ. 2554 พร้อมกับแอปพลิเคชัน WhatsApp ระบบส่งข้อความทางแช็ตที่ยอดนิยมในไทย
- ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบัน มีแอปพลิเคชันแช็ตของสมาร์ตโฟนให้เลือกใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เช่น Facebook, LINE, Instagram และ Twitter เป็นต้น
สุดท้ายนี้ วันที่ 4 สิงหาคม 2565 ตรงกับวันสื่อสารแห่งชาติ ขอให้ทุกท่านตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการสื่อสารไทย และพัฒนาการเทคโนโลยีการสื่อสารต่าง ๆ ที่เป็นสิ่งสำคัญในเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าแก่ประเทศไทย วันหน้าจะมีประวัติวันสำคัญอะไรให้ได้อ่านกันอีก อย่าลืมติดตาม The Thaiger กันนะครับ.