ข่าวข่าวการเมืองไลฟ์สไตล์

ครบรอบ 8 ปีรัฐประหาร ‘ปฏิวัติ’ กับ ‘รัฐประหาร’ ต่างกันอย่างไร ?

คลายข้อสงสัย ‘ปฏิวัติ’ กับ ‘รัฐประหาร’ ต่างกันอย่างไร ? หลังครอบรอบ 8 ปี ประเทศไทยเกิด รัฐประหาร

เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน…” เวลาช่างผ่านไปไวเหมือนโกหก เนื่องจากเพลงนี้นั้นถึงเวลาครอบรอบ 8 ปี ที่มาพร้อมกับการรัฐประหารประเทศไทย ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งเชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะจำช่วงเวลาเคอร์ฟิวส์ในวันนั้นได้เป็นอย่างดี และเกิดคำถามกันมาอย่างต่อเนื่องจนถึงตอนนี้ว่า การรัฐประหาร และ การปฏิวัติ ต่างกันอย่างไร วันนี้ The Thaiger มีคำตอบมาให้ คลายทุกข้อสงสัยได้ที่นี่

เปิดปม ‘ปฏิวัติ’ กับ ‘รัฐประหาร’ ต่างกันอย่างไร ? ครบรอบ 8 ปี ประเทศไทยรัฐประหาร

การปฏิวัติ กับ รัฐประหาร เป็นคำที่มีความหมายแตกต่างกัน แต่ที่ผ่านมามีการใช้อย่างสับสนทั้งในส่วนของประชาชน สื่อมวลชน หรือไม่แต่คณะผู้ก่อการเอง เช่นเหตุการณ์ 22 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมาก็มีหลายคนใช้คำว่า ‘การปฏิวัติ’ ทั้งที่ว่าตามความหมายเป็นการ ‘การรัฐประหาร’ แล้ว 2 คำนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร? และทำไมคนไทยถึงชอบใช้ทั้ง 2 คำปะปนกัน

| ปฏิวัติ คืออะไร ?

การปฏิวัติ หรือภาษาอังกฤษ Revoluton คือ การเปลี่ยนรูปแบบหรือระบอบการปกครองประเทศ จากรูปแบบหนึ่ง ไปสู่อีกรูปแบบหนึ่ง อย่างสิ้นเชิง เช่น

  • ประเทศฝรั่งเศส การปฏิวัติฝรั่งเศส เปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ➡ ระบอบสาธารณรัฐ
  • ประเทศไทย การปฏิวัติเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 7 เปลี่ยนจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ➡ ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

 

| รัฐประหาร (Coup De Ta) คืออะไร ?

รัฐประหาร หรือภาษาอังกฤษ Coup De Ta หมายถึง การเปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาลโดยฉับพลัน ด้วยวิธีการที่ไม่เป็นตามรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ใช่การล้มล้างระบอบการปกครองหรือทั้งรัฐ

สำหรับประเทศไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 เป็นต้นมามีการ รัฐประหารเกิดขึ้นทั้งสิ้น 13 ครั้ง โดยมีหลากหลายรูปแบบทั้งการใช้กำลังทหารเข้ายึดครอง หรือการที่นายกรัฐมนตรีรวบอำนาจทั้งหมดมาไว้ที่ตน และยกเลิกโครงสร้างทางการเมืองที่มีอยู่ลง เรียกว่า รัฐประหารเงียบ หรือ รัฐประหารตัวเอง

 

| ‘ปฏิวัติ’ กับ ‘รัฐประหาร’ ต่างกันอย่างไร ?

ความต่างของ การปฏิวัติ กับ การรัฐประหาร ก็คือ การปฏิวัติ จะมุ่งไปที่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่การรัฐประหาร จะเปลี่ยนแค่เฉพาะคณะผู้ปกครองเท่านั้น โดยไม่เปลี่ยนระบอบตามไปด้วย ส่วนที่มาของความสับสนของทั้งสองคำนี้ เริ่มต้นขึ้นจากการรัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ.2501 โดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตช์ ซึ่งได้เรียกตัวเองว่า ‘คณะปฏิวัติ’ เนื่องจากเห็นว่าคำว่ารัฐประหาร ฟังแล้วดูรุนแรงเกินไป

ภายหลังเมื่อคำว่า ปฏิวัติ เริ่มมีความหมายในแง่ลบมากขึ้น จึงเลี่ยงไปใช้คำอื่นแทน เช่น การรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ใช้คำว่าเป็น การปฏิรูป

 

ขอบคุณข้อมูลจาก 1 2 3

? สามารถติดตามสาระน่ารู้ต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button