ย้อนประวัติ ‘ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ จากผู้นำกองทัพ นายกรัฐมนตรี สู่ ‘องคมนตรี’
ย้อนเส้นทาง ประวัติ ประยุทธ์ จันทร์โอชา จากนายทหารผู้เก่งกาจ ไต่ไปสู่จุดสูงสุดของกองทัพ ตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพบก สู่ผู้นำการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จนกระทั่งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2562
ประยุทธ์ ครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย 2 สมัยอย่างราบรื่น และจบลงด้วยการก้าวลงจากบทบาททางการเมืองอย่างสวยงามหลังเลือกตั้ง 2566 ที่พ่ายแพ้หลุดรุ่ยต่อพรรคก้าวไกล และล่าสุด ได้แต่งตั้งพลเอกประยุทธ์เป็นองคมนตรี
ประความเป็นมา กว่าจะมาเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
- พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
- มีชื่อเล่นว่า ตู่
- เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2497
- ปัจจุบันอายุ 69 ปี
- เกิดที่จังหวัดนครราชสีมา
- เป็นบุตรชายของพันเอก (พิเศษ) ประพัฒน์ จันทร์โอชา และเข็มเพชร จันทร์โอชา มารดาซึ่งรับราชการครู
- เป็นบุตรชายคนโตจากพี่น้องทั้งหมดสี่คน
- มีน้องชายคือพลเอก ปรีชา จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหมและอดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
ประยุทธ์ สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 จากโรงเรียนสหะกิจวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยเทคโนโลยีลพบุรี และได้เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี แต่เรียนได้เพียงปีเดียวก็ลาออกเนื่องด้วยบิดาเป็นนายทหารจำต้องโยกย้ายไปในหลายจังหวัด
เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในสมัยศึกษาอยู่เคยถูกนำเสนอ ประวัติ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ในฐานะเด็กเรียนดี ในปี พ.ศ. 2514 ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร จนสำเร็จเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 (ตท.12)
ในปี พ.ศ. 2519 เป็นนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23 และหลักสูตรชั้นนายร้อย รุ่นที่ 51 ในปีเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2524 หลักสูตรชั้นนายพัน รุ่นที่ 34 ในปี พ.ศ. 2528 หลักสูตรหลักประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 63 และเป็นศิษย์เก่า และในปี พ.ศ. 2550 เข้าเรียนหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 20
ชีวิตครอบครัว
ปัจจุบันสมรสกับ นราพร จันทร์โอชา อดีตรองศาสตราจารย์สถาบันภาษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองประธานมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม มีบุตรีฝาแฝด 2 คน คือ ธัญญา และ นิฏฐา จันทร์โอชา เป็นสมาชิกวงดนตรีทริโอหญิง แบดซ์ วงดนตรีแนวพังก์ในสังกัดย่อย จีโนม เรคคอร์ด สังกัดอาร์เอส
จากราชการสู่ตำแหน่ง พลเอกประยุทธ์
ประยุทธ์ เริ่มเข้ารับราชการทหาร อยู่ที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ หรือ ทหารเสือราชีนี ตั้งแต่ปีพ.ศ.2530 และประจำอยู่มาโดยตลอด โดยเริ่มมาจากตำแหน่งผู้บังคับการกองพัน จนถึงผู้บังคับการกรม จากนั้นจึงย้ายไปอยู่ที่กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ และรับตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 1
นอกจากนี้ ประยุทธ์ ยังได้เป็นสมาชิก บูรพาพยัคฆ์ ในกองทัพ คู่มากับ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและอดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติและ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และอดีตรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ซึ่งทั้งสองยังเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก
จากทหารบก สู่ นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของไทย
จุดเริ่มต้นของการเข้าสู่วงการทางการเมืองของประยุทธ์ เริ่มขึ้นในวันที่ 19 กันยายน 2549 เกิดการรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) โดยในสมัยนั้นประยุทธ์ ยังใช้ยศพลตรีอยู่ รับคำสั่งเดินหน้าปฏิบัติการ พลโท อนุพงษ์ เผ่าจินดา ส่งผลให้พลตรีประยุทธ์ได้เลื่อนชั้นยศเป็น พลโท และรับตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1
ระหว่างวันที่ 4 ถึง 14 กันยายน พ.ศ. 2551 พลโทประยุทธ์ ได้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและรองผู้อำนวยการกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในเหตุการณ์ นปช. ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ ในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช
และวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553 พลโทประยุทธ์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารบกต่อจาก พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ที่เกษียณอายุราชการ โดยมี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลงนามแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม ถึง 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และได้เลื่อขั้นเป็น พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พลเอก ประยุทธ์ ประกาศกฏอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร และไม่กี่วันต่อมาก็ได้ก่อรัฐประหาร ในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าสูงสุด คสช. โดยในประกาศ คสช. ฉบับที่ 10/2557 ให้อำนาจพลเอก ประยุทธ์ เสมือนนายกรัฐมนตรี
หลังรัฐประหาร พลเอก ประยุทธ์ ได้แต่งตั้งตัวเองเป็นกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ และเป็นกรรมการโดยตำแหน่งในฐานะนายกรัฐมนตรี เขาจัดรายการ “ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” รายสัปดาห์แจ้ง ทรัพย์สิน 128.6 ล้านบาท หนี้สิน 650,000 บาท
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ลงมติให้พลเอก ประยุทธ์ ดำรงค์ตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี โดยผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อไม่ต้องอยู่ในห้องประชุมและไม่ต้องแสดงวิสัยทัศน์ ทำให้พลเอก ประยุทธ์ ถือได้ว่าเป็นเป็นนายทหารคนแรกที่เป็นนายกรัฐมนตรี นับแต่พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งดำรงตำแหน่งในปีพ.ศ.2549 และยังเป็นผู้นำรัฐประหารคนแรกที่เป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่จอมพล ถนอม กิตติขจร เมื่อปีพ.ศ. 2514 อีกด้วย
ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับตำแหน่งนายก 2 สมัย
ในปี 2560 เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ครั้งใหม่ภายใต้ยุคสมัยของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยกำหนดให้วุฒิสภามาจากการคัดเลือกของ คสช. และมีอำนาจลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี 5 ปี พรรคการเมืองสามารถเสนอชื่อผู้ที่มิใช่ สส. และมิใช่สมาชิกพรรคเป็นนายกรัฐมนตรีได้
หลังการเลือกตั้งทั่วไปปี 2562 มีการตั้งรัฐบาลผสมที่มีพรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำ ในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในวันที่ 5 มิถุนายน สมาชิกวุฒิสภาทุกคนเลือกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ซึ่งเกือบทั้งหมดมาจากการแต่งตั้งของ คสช. ซึ่งพรรคร่วมรัฐบาลมากถึง 19 พรรค จึงทำให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับตำแหนงนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 มาได้อย่างไม่ต้องสงสัย
ก้าวลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ในการเลือกตั้งทั่วไปปีพุทธศักราช 2566 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ลงชิงตำแหน่งแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีภายใต้พรรครวมไทยสร้างชาติ โดยไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ผลปรากฎว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคก้าวไกลชนะแบบถล่มทลาย ตามมาด้วยพรรคอันดับ 2 เพื่อไทย ส่วนพรรครวมไทยสร้างชาติ ได้คะแนนเสียงจำนวน ส.ส. เข้าสภา ทั้งแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อรวม 36 คน
เสียงดังกล่าวไม่พอจัดตั้งรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ ประกาศวางมือทางการเมือง ลาออกจากพรรครวมไทยสร้างชาติ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2566 และใช่ชีวิตอย่างสงบ โดยยังไม่ถูกดำเนินคดีใดๆ จากการกระทำที่ผ่านมา
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา องคมนตรีในรัชกาลที่ 10
วันที่ 29 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศ แต่งตั้ง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งองคมนตรีตามประกาศ ลงวันที่ 21 ตุลาคม พุทธศักราช 2566 แล้วนั้น
บัดนี้ ทรงพระราชดำริเห็นเป็นการสมควรแต่งตั้งองคมนตรีเพิ่มขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 11 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็น องคมนตรี