ไขข้อสงสัย สมาชิกนาโต้ มีกี่ประเทศ นาโต้คืออะไร ไทยเป็นสมาชิกหรือไม่
หลายคนอาจสงสัย สมาชิกนาโต้ มีกี่ประเทศ สืบเนื่องมาจากสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน จึงทำให้องค์การหลาย ๆ องค์การได้ออกมามีบทบาทครั้งสำคัญเกี่ยวกับสงครามในครั้งนี้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้นองค์การที่ชื่อว่า “นาโต้” ดังนั้นในวันนี้ The Thaiger Thailand ขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับองค์การที่ว่านี้ ว่าเขามีบทบาทอะไรในระดับนานาชาติ แล้วความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรนี้กับประเทศไทยเป็นอย่างไร เราไปศึกษาพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า
นาโต้ คืออะไร
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับองค์การนาโต้กันก่อน ซึ่งชื่อเต็มของเขาคือ “องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ” (North Atlantic Treaty Organisation – NATO) ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2492 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2492
ซึ่งในวันนั้นมีการลงนามในสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือทั้งหมด 12 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา เบลเยียม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ และโปรตุเกส
บทบาทของนาโต้
ชาติสมาชิกในองค์การนี้ได้ทำข้อตกลงร่วมกันในการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกรณีที่ชาติสมาชิกถูกโจมตีด้วยอาวุธ ซึ่งวัตถุประสงค์เดิมของนาโต้ คือการจัดตั้งขึ้นเพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามจาก “รัสเซีย” ที่แผ่ขยายอำนาจเข้าไปสู่ประเทศแถบยุโรป ในช่วงหลังสงครามโลก
อย่างที่บอกว่าเป้าหมายดั้งเดิมคือการต่อต้านรัสเซีย จึงทำให้รัสเซียในยุคนั้นเลือกที่จะตอบโต้ด้วยการก่อตั้งพันธมิตรทางทหารของตัวเองขึ้นในหมู่ชาติคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกที่เรียกว่า องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอว์ (Warsaw Pact) ในปี พ.ศ. 2498
โครงสร้างของนาโต้
องค์กรฝ่ายพลเรือน
1) คณะมนตรีแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Council – NAC) เป็นองค์กรหลักรับผิดชอบต่อการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ของนาโต้ที่เกี่ยวกับการตีความสนธิสัญญาและการนำไปปฏิบัติ คณะมนตรีฯ ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศสมาชิก มีการประชุมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
2) สำนักงานเลขาธิการนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม มีหน้าที่บริหารงานทั่วไปขององค์กร รวมถึงการวางแผนนโยบาย หัวหน้า สนง. / เลขาธิการนาโต้ คนปัจจุบัน คือ นาย Jaap de Hoop Scheffer (อดีต รมว. กต. เนเธอร์แลนด์) เข้ารับตำแหน่งเมื่อปี 2547
องค์กรฝ่ายทหาร
คณะกรรมาธิการทางทหาร (The Military Committee) มีหน้าที่ให้คำแนะนำด้านการทหารแก่คณะมนตรีและผู้บัญชาการกองกำลังผสม ประกอบด้วยเสนาธิการทหารของทุกประเทศภาคี ยกเว้นฝรั่งเศส และไอซ์แลนด์ (ซึ่งไม่มีกำลังทหาร) มีการประชุมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยนาโต้ได้แบ่งเขตยุทธศาสตร์ตามภูมิศาสตร์เป็น 3 เขต คือ
1) เขตยุโรป (The European Command) อยู่ภายใต้การดูแลของผู้บัญชาการกองกำลังผสมยุโรป (Supreme Allied Commander Europe – SACEUR) โดยมีกองบัญชาการ เรียกว่า Supreme Headquaters Allied Powers Europe (SHAPE) ประกอบด้วยกองกำลังเคลื่อนที่เร็วจากประเทศสมาชิก ซึ่งพร้อมจะปฏิบัติการได้ทันที เขตการรับผิดชอบ คือ แอฟริกาเหนือ เมดิเตอร์เรเนียน ยุโรปกลาง และยุโรปเหนือ ยกเว้นโปรตุเกส และสหราชอาณาจักร SHAPE มีกองบัญชาการย่อยในยุโรปเหนือที่เมืองโคสชัส ประเทศนอร์เวย์ ในยุโรปกลางที่เมืองบรุนส์ชุน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในยุโรปใต้ที่เมือง Naples ประเทศอิตาลี
2) เขตแอตแลนติก (The Atlantic Ocean Command) อยู่ภายใต้การดูแลของ Supreme Allied Commander Atlantic (SACLANT) เขตการรับผิดชอบตั้งแต่ขั้วโลกเหนือถึงเส้น Tropic of Cancer และจากฝั่งสหรัฐอเมริกาถึงยุโรป SACLANT มีหน้าที่หลักในการพิทักษ์เส้นทางเดินเรือในเขตแอตแลนติก ซึ่งเน้นลักษณะการปฏิบัติการกองกำลังทัพเรือแอตแลนติก (Standing Naval Force Atlantic — STANA RR LNT) มีกองบัญชาการตั้งอยู่ที่ Norfolk สหรัฐฯ
3) เขตช่องแคบ (The Channel Command) อยู่ภายใต้การดูแลของ Allied Commander in Chief Channel – CINCHAN) เขตการรับผิดชอบบริเวณช่องแคบอังกฤษ และทะเลเหนือตอนใต้ ทำหน้าที่คุ้มครองป้องกันเรือพาณิชย์ในเขตประสานงานกับ SACEUR ในการป้องกันภัยทางอากาศในเขตช่องแคบ CINCHAN มีกองกำลังเรือรบอยู่ภายใต้การควบคุมเรียกว่า Standing Naval Force Channel (STANAFORCHAN) มีกองบัญชาการอยู่ที่ Nortwood สหราชอาณาจักร
สมาชิกนาโต้ มีกี่ประเทศ
หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2543 บรรดาเหล่าสมาชิกองค์การสนธิสัญญาวอร์ซอว์ ก็ได้หันเหทิศทางมาเข้าร่วมกับนาโต้ จึงทำให้ปัจจุบันนาโต้มีสมาชิกทั้งหมด 30 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา เบลเยียม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส กรีซ ตุรกี เยอรมนี สเปน เช็ก ฮังการี โปแลนด์ บัลแกเรีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนีย โรมาเนีย อัลบาเนีย โครเอเชีย มอนเตเนโกร และมาซิโดเนียเหนือ
ไทยเป็นสมาชิกนาโต้หรือไม่
เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2546 ในระหว่างการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ประธานาธิบดีจอร์จ บุช แห่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศให้ไทยเป็น “ชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มนาโต้” (Major Non-NATO Ally — MNNA)
การได้รับสถานะดังกล่าวไม่ได้หมายถึงการมีหลักประกันด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศร่วมกันเช่นเดียวกับที่สหรัฐฯ มีกับประเทศสมาชิกนาโต้ แต่เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญที่สหรัฐฯ ให้แก่ความสัมพันธ์ในลักษณะพันธมิตรกับประเทศไทยในศตวรรษที่ 21
หายสงสัยกันแล้วใช่ไหมเอ่ยว่า สมาชิกนาโต้ มีกี่ประเทศ แล้วนาโต้มีบทบาทอะไรในประชาคมโลกและประเทศไทย ซึ่งในวิกฤตสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ในครั้งนี้ แม้ว่ายูเครนเองจะเป็นเพียงประเทศหุ้นส่วนไม่ใช่สมาชิกนาโต้อย่างจริงจัง แต่ก็ต้องจับตาดูกันต่อไปว่านาโต้จะออกมามีบทบาทอย่างไรกับข้อขัดแย้งระหว่างทั้งสองประเทศ
- ย้อน ประวัติ เชอร์โนบิล ภัยพิบัติทางนิวเคลียร์ ฝันร้ายโซเวียต
- ผู้นำ ‘ยูเครน’ พ้อ ประเทศถูกทิ้งให้ต่อสู้กับรัสเซียเพียงลำพัง
- กองทัพรัสเซีย ยึด ‘เชอร์โนบิล’ พร้อมจับตัวประกัน
- รู้จัก ประเทศยูเครน กับเรื่องราวน่าสนใจ ที่หลายคนยังไม่เคยรู้
? ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน The Thaiger