สรุปดราม่า ทำไม รัสเซีย ต้องบุก ยูเครน สงครามครั้งใหม่
สรุปดราม่า ทำไม รัสเซีย ต้องบุก ยูเครน ไทม์ไลน์ ล่าสุด ปูติน นำรัสเซียประกาศสงครามกับยูเครน สื่อต่างประเทศรายงาน รัสเซียยิงใส่ยูเครน
วันนี้ 24 ก.พ. 2565 อัปเดต ความขัดแย้ง รัสเซีย กับ ยูเครน ล่าสุด หลังช่วงเช้าตามเวลาประเทศไทย ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ของ รัสเซีย ประกาศสงคราม ส่งกองกำลังทหารภูมิภาคดอนบัส ไปยังทางภาคตะวันออกของยูเครน และทางฝั่งยูเครนเอง อ้างรายงานว่า ทหารรัสเซีย ได้เปิดฉาก ยิงถล่ม ยูเครน Thaiger ขอพาไปย้อนรอยที่มาที่ไปขอจุดเริ่มต้น ระหว่างการปะทะครั้งนี้ ว่า ทำไม รัสเซีย ต้องบุก ยูเครน มาให้อ่านฉบับเข้าใจง่าย
1. จริง ๆ แล้วรัสเซียกับยูเครน มีความสัมพันธ์กันทางประวัติศาสตร์มายาวอย่างนาน ทั้งในแง่ภูมิศาสตร์ เชื้อชาติของประชาชน ความใกล้ชิดทางวัฒนธรรม ยูเครนบางส่วนเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย กระทั่งช่วงภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยูเครนทั้งประเทศถูกผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของ สหภาพโซเวียด หลังจากโซเวียดล่มสลาย ยูเครนก็ได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2534
2. กลับมาดูที่พรมแดนของยูเครน ประเทศยูเครน เป็นประเทศตรงกลางที่กั้นรัสเซียกับทวีปยุโรป แนวคิดทางการเมืองและทิศทางในการดำเนินประเทศของประชาชน ในด้านตะวันตกส่วนใหญ่ต้องการให้ดำเนินร่วมไปกับ EU ขณะที่ ฝั่งตะวันตก มีความต้องการโปรรัสเซีย เช่น พื้นที่ ไครเมียร์ โดเนตสก์ (Donetsk) ลูแกนส์ (Lugans) ของยูเครน ที่จะมีบทบาทสำคัญของความขัดแย้งที่จะเล่าต่อไป
3. ปี พ.ศ. 2555 EU หรือ สหภาพนุโรป เสนอให้ ยูเครนเข้าร่วม EU ผ่านข้อตกลงสมาคมยูเครน – สหภาพยุโรปและเขตการค้าเสรีที่ลึกและครอบคลุม (DCFTA) โดยสหภาพยุโรปมองว่า ยูเครนเป็นพันธมิตรที่สําคัญภายในความร่วมมือดินแดนยุโรปภาคตะวันออกและนโยบายเพื่อนบ้านยุโรป (ENP) สหภาพยุโรปและยูเครนกําลังมองหาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันมากขึ้นนอกเหนือจากความร่วมมือเพื่อการรวมตัวทางเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไปและความร่วมมือทางการเมืองที่ลึกซึ้ง
4. อย่างไรก็ตาม วันที่ 21 พ.ย. 2556 รัฐบาลยูเครนนำโดยประธานาธิบดีของยูเครนในเวลานั้นอย่าง วิคเตอร์ ยานูโควิช ซึ่งโปรรัสเซีย ปฏิเสธข้อเสนอ EU ระงับการลงนามในข้อตกลงที่จะเปิดประตูเครนสู่ยุโรป ได้สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนจำนวนมาก เนื่องจากมองว่าส่งผลเสียต่อโอกาสทางเศรษฐกิจในอนาคตของยูเครนอย่างมาก
5. ความไม่พอใจดังกล่าว ทำให้เกิดการประท้วงขับไล่นายวิกเตอร์ หรือที่ถูกเรียกว่าการเดินขบวน ปฏิวัติยูเคร (ยูโรไมดาน) โดยมีชนวนเรื่องความไม่พอใจในการปกครองประเทศ สภาพชีวิตประชาชน และการละเมิดสิทธิมนุษยนชนร่วมด้วย มีรายงานว่า มีประชาชนชาวยูเครน เข้าร่วมประท้วงขับไล่สูงสุดถึง 8 แสนคน สุดท้าย ต้นปี พ.ศ. 2557 เขาต้องลี้ภัยไปอยู่รัสเซีย ในเวลาต่อมา ซึ่งแรงกระเพื่อมจากความเคลื่อนไหวดังกล่าว ทำให้รัสเซียตัดสินใจยึดไครเมีย ซึ่งเป็นดินแดนที่เคยยกให้ยูเครนกลับคืน เรียกเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้นว่า วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557 เกิดมีกลุ่มติดอาวุธแบ่งแยกดินแดน ของกลุ่มที่ต้องการให้เครเมียไปผนวกรวมกับรัสเซีย จนสุดท้ายวันที่ 15 เม.ย. 2557 รัฐสภายูเครต้องยอมประกาศว่า ไครเมียเป็นดินแดนที่ถูกรัสเซียยึดครองชั่วคราว
6. นี่คือจุดเชื้อไฟแรกที่เริ่มติดประกายในกองฟืนขัดแย้งระหว่าง รัสเซีย ยูเครน
7. ก.ย. 2557 สงครามไม่มีทีท่าว่ายุติ จึงได้เกิด ข้อตกลงมินสก์ฉบับที่ 1 (Minsk I Agreement) อันเป็นข้อตกลงหยุดยิงระหว่าง รัสเซีย ยูเครน โดยในครั้งนั้น มีตัวแทนจาก ฝรั่งเศส และเยอรมนี เข้าร่วมประชุมด้วย และมี ข้อตกลงมินสก์ฉบับที่ 2 (Minsk II Agreement) ต่อมาใน 12 ก.พ. 2558 จึงจะยุดหยิงกันเป็นจริงเป็นจัง
8 ปี พ.ศ. 2562 ยูเครนเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ ได้ “โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี้” อดีตดาราตลก ขึ้นมานำยูเครน เขามีท่าทีไม่อ่อนโอนเข้าร่วมกับรัสเซีย มีแผนต้องการให้ยูเครนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิก NATO เพื่อความปลอดภัยของประเทศ ป้องกันการรุกรานจากรัสเซีย (ซึ่งถึง ณ ปัจจุบัน ทาง NATO เองก็ยังไม่ได้เชิญยูเครนเข้าร่วมแต่อย่างใด) ซึ่งรัสเซียเห็นท่าไม่ดี จึงเปิดก่อนได้เปรียบ ได้ส่งกองกำลังทหารจำนวนมากเข้าประชิดดพรมแดนยูเครน
- ความสำคัญมาก ๆ ของการเข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO คือ ถ้าประเทศสมาชิกถูกรุนรากหรือโจมตี ประเทศสมาชิกที่เหลือจะมีพันธะหน้าที่ในการร่วมปกป้องดินแดน อธิปไตยประเทศสมาชิก
9. นานาประเทศไม่เห็นด้วยกับท่าทีของรัสเซีย โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ได้มีท่าทีทางแถลงการณ์ รวมถึงการพูดคุยกับนายปูตินโดยตรง เรียกร้องให้รัสเซียไม่ให้ส่งกอกลังบุกรุกยูเครน เนื่องจากหากเกิดสงครามขึ้นมา จะไม่ได้กระทบแค่ 2 ประเทศ แต่ยังกระทบถึงเศรษฐกิจ ราคาน้ำมัน ตลาดโลกด้วย
10. ปูติน ประกาศสนับสนุนกลุ่มแบ่งแยกดินแดน โดเนตสก์ และ ลูกแกนส์ ของยูเครน (สองเขตนี้อยู่ใน ภูมิภาคดอนบาส ซึ่งจะเป็นจุดที่ทำสงครามกันในเวลาปัจจุบัน) ที่ต้องการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย โดยรับรองให้ทั้งสองเป็นประเทศอิสระ และส่งกำลังทหารเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว ยูเครนก็ต้องตอบโต้ เพราะปัจจุบัน จังหวัดทั้งสองยังเป็นส่วนหนึ่งของยูเครน
11. 24 ก.พ. 2565 ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซียประกาศสงคราม สั่งกองกำลังทหารนภูมิภาคดอนบัส ทางตะวันออกของยูเครน ต่อมา สำนักข่าว CNN ได้เผยแพร่ภาพจากสำนักประธานาธิบดียูเครน ซึ่งเป็นภาพวินาที่ที่เกิดการระเบิดขึ้นในกรุงเคียฟ ประเทศยูเครน ช่วงเช้ามืดที่ผ่านมา ขณะที่ นายดมิโทร คูเลบา รัฐมนตรีต่างประเทศของยูเครน ได้เผยแพร่ข้อความผ่านทวิตเตอร์ว่า รัสเซียได้เปิดหน้าบุกยูเครนเต็มรูปแบบแล้ว
12. ก่อนหน้ารัสเซียประกาศสงครามเพียง 1 วัน 23 ก.พ. 2565 กองทัพยูเครนได้ประกาศเปิดรับเกณฑ์ทหารกองหนุน สำหรับผู้ที่มีอายุ 18-60 ปี เป็นระยะเวลาหนึ่งปี ตามมาตรการนายโวโลดิเมียร์ ประธานาธิบดียูเครนที่ได้ประกาศก่อนหน้านี้ เพื่อเตรียมรับมือเมื่อกองทัพรัสเซียเคลื่อนตัวเข้าประเทศ
12. ด้านความเคลื่อนไหวของนานาประเทศ ภายหลัง รัสเซียประกาศสงคราม โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้ออกแถลงกล่าวว่าทางการรัสเซียได้โจมตีอย่างไม่ยุติธรรมและปราศจากการยั่วยุ พร้อมชี้ว่า ผู้นำปูตินได้เลือกจะก่อสงคราม ที่จะนำไปสู่การเสียชีวิตและนำมาสู่ความยากลำบากของมนุษย์ ประเทศรัสเซียเป็นต้นเหตุของความตายและการทำลายล้าง ซึ่งการโจมตีครั้งนี้ จะทำให้สหรัฐฯและกลุ่มพันธมิตร โต้ตอบอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และ อย่างเด็ดขาด พร้อมย้ำว่ารัสเซียจะต้องชดใช้ นาย ไบเดน กล่าวอีกว่า เขาจะประกาศถึงบทลงโทษของรัสเซียในวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งเขาจะหารือกับกลุ่มประเทศสมาชิกใน G7 เพื่อหารือถึงมาตรการคว่ำบาตรต่อไป
13. ด้านประเทศไทยเอง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ห่วงใยคนไทยในยูเครน พร้อมอพยพหากจำเป็น ด้วยการเช่าเครื่องบินเหมาลำ และเตรียมแผนสำรองหากมีการปิดน่านฟ้า จะจัดรถรับคนไทยข้ามแดนไปยังประเทศโปแลนด์
หากมีความคืบหน้าอย่างไร จะอัปเดตให้ทราบเป็นระยะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก :
wikipeadia : Ukraine /Annexation of Crimea by the Russian Federation /Ukraine–European Union relations / ยูโรไมดาน / ; CNN ; Time ; Thaigov
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- บิตคอยน์ ร่วงหนัก แตะระดับ 34,000 ดอลลาร์หลังรัสเซียประกาศสงครามยูเครน
- ทองคำ-น้ำมัน พุ่ง! หุ้นโลกดิ่งหนัก หลังรัสเซียประกาศสงครามยูเครน
- ‘บอริส จอห์นสัน’ ประณาม รัสเซีย หลังเปิดฉากยิงยูเครน
- ‘โจ ไบเดน’ ประกาศกร้าว รัสเซีย ต้องชดใช้หลังประกาศสงคราม
- ผู้สื่อข่าวได้ยินเสียง ระเบิด ใน ยูเครน หลัง ปูติน ประกาศสงคราม (คลิป)
- ประชาชน ยูเครน แห่เดินทางออกจากกรุงเคียฟ หลังรัสเซียเปิดฉากถล่ม