การเงิน

สรรพากรแจง ภาษีคริปโต 2564 คำนวณเฉพาะกำไร ไม่นำขาดทุนมาหักลบกลบหนี้!

อัปเดตล่าสุด ภาษีคริปโต 2564 กรมสรรพากรแจง คำนวณจากกำไรที่ได้จากการเทรดเหรียญคริปโต ‘ทุกครั้ง’ (นับทุก Transaction) ขาดทุนไม่นับมารวมหักลบ

นับว่าเป็นประเด็นร้อนแรงที่สุดในเวลานี้สำหรับ ผู้เตรียม “ยื่นภาษี ปี 2564” กับ ภาษีคริปโตเคอร์เรนซี่ ที่ในปีภาษีนี้ ทางกรมสรรพากรจะเริ่มจัดเก็บอย่างเป็นจริงเป็นจัง ให้ผู้ที่เทรดเหรียญได้กำไรจากการขายเหรียญคริปโต หรือสินทรัพย์ดิจิตอล ต้องกรอกในเอกสารเมื่อยื่นแสดงแบบภาษีเงินได้ ภ.ง.ด. 90

กำไรจากกา่รขายเหรียญคริปโตจัดเป็นเงินได้ ตามมาตรา 40 (4) (ฌ) ซึ่งกำหนดให้หักภาษี ณ ที่ จ่าย 15%

ดังนั้น สรุปให้เข้าใจง่าย ๆ คือ หากเรามีเงินได้ กำไรจากเหรียญดิจิตัล จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%

นอกจากนี้ ข้อมูลล่าสุดจาก กรมสรรพากร ได้ออกมาชี้แจงเพิ่มเติมว่า การคำนวณภาษีคริปโตนั้น จะคิดแบบ Transaction ไม่ได้คิดจากการนำกำไรทั้งหมดที่ได้ทั้งปีมาหักลบกลบหนี้

อ้างอิงจาก นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกิจพลังงาน) ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร ได้ให้คำอธิบายถึงวิธีการคำนวณภาษีคริปโต 2564 ผ่านรายการ Morning Wealth 6 ม.ค. 2565 ของช่อง The Standard สรุปประเด็นได้ว่า การคิดกำไร คิดเป็น Transaction ทุกธุรกรรม ผู้ลงทุน (ผู้ยื่นภาษี) ต้องตรวจสอบเองว่าปีที่ผ่านมาสรุปรวมทั้งปี ได้รายได้จากการขายคริปโตกี่ครั้ง และเวลายื่นกรอกภาษี ให้นับเฉพาะส่วนที่ได้กำไร ไม่นำส่วนที่ขาดทุนมาหักลบ

Thaiger อธิบายง่าย ๆ ว่า สมมติในปี 2564 เราเทรดเหรียญคริปโต 5 ครั้ง มี 5 ธุรกรรม

ครั้งแรก ซื้อเหรียญ Bitcoin 2,000,000 บาท ขาย 3,000,000 บาท ได้กำไร 1 ล้าน

ครั้งที่สอง ซื้อเหรียญ Bitcoin 2,000,000 บาท ขาย 1,500,000 บาท ขาดทุน 5 แสนบาท

ครั้งที่ 3 ซื้อเหรียญ Bitcoin 2,000,000 บาท ขาย 1,000,000 บาท ขาดทุน 1 ล้านบาท

ครั้งที่ 4 ซื้อเหรียญ Bitcoin 2,000,000 บาท ขาย 2,500,000 บาท กำไร 5 แสนบาท

ครั้งที่ 5 ซื้อเหรียญ Bitcoin 2,000,000 บาท ขาย 1,000,000 บาท ขาดทุน 1 ล้านบาท

หากคิดแบบปกติ รวมแล้วเราจะถือว่า กำไร 1.5 ล้านบาท ขาดทุน 2.5 ล้านบาท รวมแล้วจะถือว่า ขาดทุน 1 ล้านบาท

แต่การคำนวณ ภาษีคริปโต 2564 เวลายื่นแบบจะนับเฉพาะตอนได้กำไร ขาดทุนไม่นับ ดังนั้น จะเท่ากับว่า ในปี 2564 เรามีกำไรเงินได้จากเทรดเหรียญที่ 1 ล้าน 5 แสนบาท

1,500,000 บาทนี้ จะต้องถูกนำไปคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%

ดังนั้น นักเทรดควรวางแผนการเงินไว้ให้ดี ๆ เพราะแม้ว่าการยื่นแบบภาษีจะไม่ต้องยื่นเอกสารทางธุรกรรมยืนยันประกอบ แต่หากทางกรมสรรพากรตรวจสอบย้อนหลัง แล้วพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง อาจโดนเก็บภาษีย้อนหลังได้ +ดอกเบี้ย โดนค่าปรับเสียเงินเยอะกว่าเดิม

** “ภ.ง.ด. 90” คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป อันเป็นรายได้ที่นอกเหนือจากงานประจำ

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button