การเงินข่าวข่าวภูมิภาค

ตรวจสอบเยียวยาประกันสังคม ม.33 ไม่ได้สิทธิ แรงงาน แจงทำไงต่อ

ตรวจสอบเยียวยาประกันสังคม ม.33 กับ www.sso.go.th ไม่ได้สิทธิ แรงงานแจงทำไงต่อ – นายสุชาติ เผย มีสิทธิได้เยียวยาทุกคน

ไม่ได้สิทธิ์เยียวยาประกันสังคม ม.33 แม้ว่าอยู่ใน 10 จังหวัดล็อกดาวน์ หลังจากที่ประชาชนหลายคน ในฐานะลูกจ้าได้เข้าไปเช็กสิทธิ์เยียวยา มาตรา 33 ผ่านเว็บไซต์ www.sso.go.th โดยปรากฎข้อความว่า

“ไม่ได้รับสิทธิ ตามเงื่อนไขโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด ใน 9 ประเภทกิจการ

กรณีมีข้อสงสัยขอให้ติดต่อสอบถาม สปส. รัผิดชอบของท่าน”

หลายคนไม่ได้สิทธิ ทั้ง ๆ ที่ได้รับผลกระทบ ทำให้เกิดคำถามเข้ามาว่าควรทำยังไงต่อ เพื่อจะได้รับเงินเยียวยาชดเชยเพิ่มเติม

ข้อมูลจากข่าวสดออนไลน์ อ้างอิงคำสัมภาษณ์ของ นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ระบุถึงกรณีนี้ว่า จะนำรายละเอียดการเยียวยาทั้ง ม.33 ม.39 และ ม.40 เข้าที่ประชุมครม. ในวันพรุ่งนี้ โดยใจความสำคัญคือจะเพิ่มการเยียวยานายจ้างและลูกจ้าง เพิ่มอีก 3 จังหวัดที่ถูกประกาศให้ล็อกดาวน์ ลูกจ้างตามมาตรา 33 มีประมาณ 2 ล้านกว่าคน

ส่วนกรณีที่เข้าไปเช็กที่เว็บไซต์แล้วขึ้นว่าไม่ได้รับสิทธิ์ นายสุชาติ ระบุว่า คนที่เป็นลูกจ้างตั้งแต่ 28 ก.ค.2564 ย้อนหลังไปมีสิทธิได้รับเงินเยียวยาทุกคน”

ทั้งนี้มาตรการเยียวยานายจ้างและลูกจ้างตามระบบประกันสังคม

ลูกจ้าง จะได้รับเงินช่วยเหลือจากเงินเดือน 50 เปอร์เซ็นต์ (จากเกณฑ์ค่าแรงสูงสุด 15,000 บาท) และเงินสมทบเพิ่มอีก 2,500 บาท รวมแล้วจะได้ไม่เกินคนละ 10,000 บาท

นายจ้าง จะได้รับเงินช่วยเหลือสูงสุดไม่เกินจำนวนลูกจ้าง 200 คน อัตรา 3,000 บาทต่อคน จำนวน 1 เดือน

เยียวยาประกันสังคมมาตรา 39 และ มาตรา 40

ขณะที่แรงงานหรือลูกจ้าง ผู้ประกันตน มาตรา 39 และมาตรา 40 สัญชาติไทย จะได้รับความช่วยเหลือ คนละ 5,000 บาท จำนวน 1 เดือน

สำหรับ ผู้ประกอบอาชีพ ที่ไม่ได้อยู่ใน มาตรา 33 มาตรา 39 และ มาตรา 40 ที่ยังประกอบอาชีพอยู่ในปัจจุบันให้เตรียมหลักฐานเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 กับ สำนักงานประกันสังคม ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือจำนวน 5,000 บาทจำนวนหนึ่งเดือน

9 กิจการ ใน 13 จังหวัดสีแดงเข้มที่ได้รับการเยียวยา

1. ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร โรงแรม, รีสอร์ต, เกสต์ฮ้าส์, ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท, การบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร, การบริการด้านอาหารบนแผงลอยและตลาด, การบริการด้าน,การจัดเลี้ยง, การบริการด้านเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นหลักในร้าน

2.การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า การขนส่งผู้โดยสารทางรถโดยสารประจำทางระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดอื่น และระหว่างจังหวัด, การขนส่งผู้โดยสารโดยรถยนต์รับจ้าง แท็กซี่ รถสามล้อเครื่อง จักรยานยนต์รับจ้าง การขนส่งสินค้าแช่เย็นหรือแช่แข็งทางถนน การขนส่งสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ทางถนน

3.การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ ห้างสรรพสินค้า, ซูเปอร์เซ็นเตอร์, การขายปลีกสินค้าทั่วไป

4.กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน ธุรกิจจัดนำเที่ยว, กิจกรรมของมัคคุเทศก์, กิจกรรมการรักษาความปลอดภัย, การบริการทำความสะอาด, การจัดการประชุมและจัดการแสดงสินค้า

5.กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ กิจกรรมของบริษัทโฆษณา, กิจกรรมการออกแบบและตกแต่งภายใน, การตรวจสอบบัญชี, การให้คำปรึกษาด้านภาษี

6.ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร กิจกรรมการผลิตภาพยนตร์และวีดิทัศน์, กิจกรรมการผลิตรายการโทรทัศน์, กิจกรรมด้านการจัดฉายภาพยนตร์

7.การก่อสร้าง การก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย, การก่อสร้างถนน, สะพานและอุโมงค์, การติดตั้งระบบประปาและระบายน้ำ

8.กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ กิจกรรมสปา, กิจกรรมการแต่งผม, กิจกรรมการดูแลความงาม แต่งเล็บมือและเล็บเท้า, กิจกรรมเกี่ยวกับงานศพและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

9.ศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ การดำเนินงานของสถานที่ออกกำลังกาย, กิจกรรมด้านสมสกีฬา, กิจกรรมด้านสวนสนุกและมปาร์ค,กิจกรรมการแสดงโชว์เพื่อความบันเทิงและการนันทนาการ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยาประกันสังคม

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button